Keep-Plastic-Bottle-In-Car-Good-Or-Not

เรื่องนี้แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่าแล้ว แต่ก็ยังมีคนพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ เป็นประจำ กับการที่ต้องเก็บขวดน้ำดื่มไว้ในรถ แล้วต้องจอดรถตากแดดทั้งวัน เจออากาศร้อนๆ อบเข้าไป …

ยิ่งมีข่าวจากเว็บ Clickbait คอยโพสกันอยู่เรื่อยว่าเมื่ออากาศร้อนมากๆ หรืออุณหภูมิสูงๆ จะมีสาร BPA (Bisphenol A) หรือสาร Dioxin ในพลาสติกจะออกมาปนเปื้อนกับในน้ำ เมื่อดื่มเข้าไปบ่อยๆ ส่งผลต่อความผิดปกติของพันธุกรรม และยังเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็งได้

ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด! ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัด เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ ที่ละลายออกมาจากขวดพลาสติกที่ใส่น้ำ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น MR.CARRO จะมาเล่าให้ฟัง

Keep-Plastic-Bottle-In-Car-Good-Or-Not

ปัจจุบัน ขวดน้ำพลาสติก นิยมทำจากพลาสติก 2 ชนิด ที่มีคุณสมบัติทนทาน มีน้ำหนักเบา เวลาขนส่งไม่แตกได้ง่าย คือ ขวดพลาสติกแบบ PE หรือ Polyethylene (โพลีเอทิลีน) ซึ่งจะมีสีขาวขุ่น

ส่วนขวดพลาสติกแบบไม่มีสี หรือขวด PET (Polyethylene Terephthalate) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากกว่า ที่คนไทยรู้จักดีนั้น สามารถเก็บน้ำและวางไว้ในรถได้ แม้จะตากแดดร้อนๆ ก็ตาม …

CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน

โดยมีงานวิจัยจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทดลองโดยซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิด Polyethylene, Polyethylene Terephthalate, Polyethylene Polycarbonate และ Polyvinyl Chloride ที่จําหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต จํานวน 18 ยี่ห้อ และนําไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน

จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่ม Dionxin จํานวน 17 ตัว และ PCB จํานวน 18 ตัว โดยใช้เทคนิคขั้นสูง Isotope Dilution และวัดปริมาณด้วยเครื่องมือ High Resolution Gas Chromatography/High Resolution Mass Spectrometry ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่ม Dionxin และ PCB ในทุกตัวอย่าง

Keep-Plastic-Bottle-In-Car-Good-Or-Not

สรุปว่า ขวดน้ำพลาสติกที่เก็บในรถตอนแดดร้อนๆ นั้น ไม่ได้อันตรายหรือเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เพราะขวด PET ก็สามารถเก็บน้ำไว้ได้นาน (แต่ไม่ใช่ตากแดดทั้งวันเป็นปีนะ) โดยมาตรฐานของขวด PET ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดไว้ว่าต้องทนต่อความร้อนจัด ตั้งแต่ 60’C ถึง 95’C

ซึ่งการออกแบบขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้ แม้ว่าจุดประสงค์หลักคือการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งก็ตาม ถ้าหากจะใช้ซ้ำต้องล้างให้สะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง ก่อนนำมาใช้งานใหม่ได้ แต่การล้างปากขวดนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้หลายๆ ครั้ง ถ้าล้างปากขวดไม่สะอาดอาจกลายเป็นที่สะสมเชื้อโรคได้!

แหล่งที่มาจาก: