10 อันดับ รถไฟใช้งานนานสุดของ รฟท.
พูดถึงเรื่องรถไฟไทยในบ้านเรา หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า มีประวัติอันยาวนานมากๆ ตั้งแต่ยุคก่อนรัชกาลที่ 5 ซะอีก
ในปี 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักร ให้ Sir John Bowring (เซอร์ จอห์น เบาริง) ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย Mr. Harry Smith Parkes (มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูต เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษ เข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรีฉบับที่รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลสยามเมื่อ 20 มิถุนายน 2369
พร้อมกับอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ทูลเกล้าฯ ถวาย รัชกาลที่ 4 ด้วย อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำแบบเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในอังกฤษ (ขณะนี้รถไฟเล็ก เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)
แต่รถไฟในบ้านเรา กว่าจะได้กำเนิดขึ้นจริงๆ ก็ในยุคของรัชกาลที่ 5 เนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน จึงต้องสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน และเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการ ว่าจ้าง Mr. G. Murray Campbell (จี. มูเร แคมป์เบลล์) สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อ 9 มีนาคม 2434
จนกระทั่งแล้วเสร็จในปี 2443 รัชกาลที่ 5 จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2443
แต่หลายคนมักชอบพูดถึงว่า รถไฟไทย (โดยเฉพาะตัวรถจักร) ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นความเชื่อผิดๆ และออกไปแนวทางเสียดสีมากกว่า MR.CARRO จึงขอพาไปดูรถไฟของ รฟท. ที่ยังมีใช้การในปัจจุบันกัน ว่ายังมีเหลือใช้งานกันได้อยู่กี่รุ่นบ้าง
1. Davenport 500HP
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Davenport รุ่น 500 แรงม้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2507 จำนวน 30 คัน หมายเลข 511 – 540 สร้างโดย บริษัท Davenport Locomotive Works ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 1,164,816.56 บาท (ในตอนนั้น)
ใช้เครื่องยนต์ Caterpillard.397 500 แรงม้า น้ำหนักกดเพลา 12 ตัน การจัดวางล้อแบบ Bo-Bo วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 82 กม./ชม.
มิติตัวรถยาว 9,893.2 มม. กว้าง 2,801.15 มม. สูง 3,848.1 มม. น้ำหนัก 48,124 กิโลกรัม
ปัจจุบันถูกตัดบัญชีไปเกือบหมดแล้ว จอดทิ้งอยู่ตามโรงรถจักร และในพื้นที่โรงงานรถไฟ คงและมีเหลือใช้งานสับเปลี่ยน ภายในย่านสถานีใหญ่ๆ ตามต่างจังหวัดเพียงไม่กี่คัน โดยคันที่ยังวิ่งได้ อาทิหมายเลข 527 เป็นต้น
2. GE UM12C (GEK)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE รุ่น UM12C หรือ GEK การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2507 จำนวน 40 คัน หมายเลข 4001 – 4040 สร้างโดย บริษัท General Electric ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 4,590,384.30 บาท (ในตอนนั้น)
เครื่องยนต์ตอนแรกนั้นใช้ KT38-L ภายหลังเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ Cummins KT38-L ขนาด 38,000 ซีซี. 12 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1320 แรงม้า ที่ 1,985 รอบ/นาที น้ำหนักกดเพลา 12.5 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 103 กม./ชม. (แต่ถูกกำหนดไว้ที่ 90 กม./ชม.)
มิติตัวรถยาว 16,288 มม. กว้าง 2,794 มม. สูง 3,753 มม. น้ำหนัก 86,500 กิโลกรัม *ปัจจุบัน 70.178 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 75.00 ตัน (ขณะทำขบวน)
และรุ่นที่สอง (ปี 2509) รถจักรหมายเลข 4041 – 4050 โดยทางสหรัฐอเมริกาจัดหามาทดแทนรถจักรดีเซลไฮดรอลิก Plymouth ที่การรถไฟฯ ได้รับมอบจากอเมริกามาก่อนหน้านี้ 10 คัน ซึ่งทางอเมริกาจะนำรถจักร Plymouth ไปใช้ต่อที่ประเทศเวียดนามใต้
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสารของ รฟท. อยู่ แม้ว่าจะมีอายุการใช้งาน 50 กว่าปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังใช้งานได้ดี ทั้งทำขบวนรถโดยสาร รถสินค้า หรือรถสับเปลี่ยน โดยคงเหลือใช้การได้ทั้งหมด 45 คัน และตัดบัญชีไป 5 คัน
3. Krupp (KP)
รถจักรดีเซลไฮดรอลิก Krupp การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2512 จำนวน 30 คัน หมายเลข 3101 – 3130 สร้างโดย บริษัท Krupp ประเทศเยอรมนี ราคาคันละ 4,530,907.06 บาท (ในตอนนั้น)
เครื่องยนต์ตอนแรกนั้นใช้ MB.835D6 (MTU) 12 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1500 แรงม้า การจัดวางล้อแบบ Bo-Bo วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 90 กม./ชม.
มิติตัวรถยาว 12,800 มม. กว้าง 2,800 มม. สูง 3,875 มม. น้ำหนัก 55,000 กิโลกรัม
สำหรับความพิเศษของรถจักร Krupp ด้วยการทำงานแบบดีเซลไฮดรอลิค ทำให้สามารถวิ่งลุยน้ำท่วมทางรถไฟที่สูงเกินกว่า 10 ซม. ได้ ปัจจุบันเหลือวิ่งได้แค่เพียงคันเดียว คือหมายเลข 3118 เนื่องจากปัญหาการซ่อมแซม อะไหล่ที่หายาก ทำให้รถจักรรุ่นนี้ ถูกตัดบัญชีไปจนเกือบหมด และบางส่วนถูกขายให้บริษัทก่อสร้างทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ซื้อไปซ่อมแซมใช้งานต่อ
4. Alsthom AD24C (ALS)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ALS (ย่อมาจาก Alsthom France) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2517 (หมายเลข 4101 – 4130) และมกราคม – มิถุนายน 2518 (หมายเลข 4131 – 4154) จำนวน 54 คัน หมายเลข 4101 – 4154 สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 11,060,252.11 บาท (ในตอนนั้น) ซึ่งเป็นการจัดซื้อเพื่อทดแทนรถจักรไอน้ำ ที่กำลังทยอยปลดระวาง
เครื่องยนต์ตอนแรกนั้นใช้ SEMT Pielstick 16PA4V185VG ขนาด 70,000 ซีซี. 16 สูบ เครื่องยนต์เดียว ให้แรงม้าสูงสุด 2,400 แรงม้า ที่ 1,500 รอบ/นาที น้ำหนักกดเพลา 13.75 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 95 กม./ชม.
ภายหลังเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์หลากหลายแบบ เริ่มตั้งแต่ของ Ganz ตอนหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น MTU 16V4000R41R, Caterpillar 3516BHD แต่ก็ยังมีคันที่ใช้เครื่องยนต์เดิมอยู่เพียงไม่กี่คัน
มิติตัวรถยาว 16,258 มม. กว้าง 2,800 มม. สูง 3,880 มม. น้ำหนักตัวรถ 77.50 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 82.50 ตัน (ขณะทำขบวน)
รุ่นนี้นับได้ว่าเป็นรถจักรรุ่นยอดนิยมมากที่สุดของ รฟท. เพราะมีการสั่งผลิตถึง 4 ครั้งด้วยกัน และเป็นที่นิยมในการใช้งานแทบทุกรูปแบบ ตั้งแต่การทำขบวนรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน หรือรถสินค้า รถน้ำมัน เป็นต้น
5. Alsthom AD24C (AHK)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ AHK (ย่อมาจาก Alsthom Henshel Krupp) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2523 – 2524 จำนวน 30 คัน หมายเลข 4201 – 4230 สร้างโดย บริษัท Alsthom, Henschel/Krupp ประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยได้รับลิขสิทธิ์โครงประธาน (แชสซีส์) จาก Alsthom ราคาคันละ 23,541,744.98 บาท (ในตอนนั้น)
สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom (ALS) ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้ามีช่องเกี่ยวให้เครนยก เข้าบริเวณด้านใน พร้อมทำความเร็วได้สูงสุดเป็น 100 กม./ชม. และบางคันได้เป็นไปใช้เครื่องยนต์ของ MTU 16V4000R41R และ Caterpillar 3516BHD
6. Alsthom AD24C (ALD)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ALD (ย่อมาจาก Alsthom Atlantique Dynamic Brake) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2526 จำนวน 9 คัน หมายเลข 4301 – 4309 สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 26,919,211.15 บาท (ในตอนนั้น)
สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom (ALS) ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้ามีช่องเกี่ยวให้เครนยก ติดตั้งออกบริเวณด้านนอก และบางคันได้เป็นไปใช้เครื่องยนต์ของ Caterpillar 3516BHD
7. Alsthom AD24C (ADD)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ADD (ย่อมาจาก Alsthom Atlantique Dynamic & Dual) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2528 จำนวน 20 คัน หมายเลข 4401 – 4420 สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 42,387,625.24 บาท (ในตอนนั้น)
สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom (ALS) ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้าบริเวณแค็บ มีราวเหล็กติดตั้ง และบางคันได้เป็นไปใช้เครื่องยนต์ของ MTU 16V4000R41R และ Caterpillar 3516BHD
8. Hitachi 8FA-36C (HID)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Hiatchi รุ่น 8FA-36C หรือ HID (ย่อมาจาก Hitachi DualBrake) มีจำนวน 22 คัน หมายเลข 4501 – 4522 สร้างโดย บริษัท Hitachi ที่โรงงาน Mito ประเทศญี่ปุ่น ราคาคันละ 75,059,743 บาท (ในตอนนั้น)
เริ่มทำการสร้างรถในสายการผลิตของโรงงานประมาณ เดือนตุลาคม 2535 กำหนดแล้วเสร็จครบถ้วนประมาณเดือนตุลาคม 2536 และรถจักร 4 คันแรก (4501 – 4504) กำหนดส่งเรือถึงประเทศไทยประมาณเดือน กรกฎาคม 2536
เครื่องยนต์เป็นแบบ KTTA50-L ขนาด 8,000 ซีซี. 16 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1,430 แรงม้า ที่ 1,800 รอบ/นาที (ปัจจุบันได้มีการลด Stage Turbo เหลือแค่ 1250 แรงม้า X 2 และเปลี่ยนรหัสเครื่องยนต์เป็น KTA-50L เหมือน GEA) น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 100 กม./ชม.
มิติตัวรถยาว 19,900 มม. กว้าง 2,780 มม. สูง 3,870 มม. น้ำหนัก 86.50 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 90.00 ตัน (ขณะทำขบวน)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า Hitachi ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสาร และขบวนรถสินค้าของ รฟท. อยู่ โดยปัจจุบันถูกตัดบัญชีไป 1 คัน
9. GE CM22-7i (GEA)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE รุ่น CM22-7i หรือ GEA (ย่อมาจาก General Electric Airbrake) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2538 จำนวน 38 คัน หมายเลข 4523 – 4560 สร้างโดย บริษัท General Electric Transportation Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 54,350,498 บาท (ในตอนนั้น)
เครื่องยนต์ใช้ของ Cummins KTA50-L ขนาด 5,000 ซีซี. 16 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1,250 แรงม้า ที่ 1,800 รอบ/นาที X 2 น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 100 กม./ชม.
มิติตัวรถยาว 19,355 มม. กว้าง 2,820 มม. สูง 3,635 มม. น้ำหนัก 80.60 ตัน (จอดนิ่ง) / 86.50 ตัน (ขณะทำขบวน)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสาร และรถสินค้าของ รฟท. มีตัดบัญชีไป 2 คัน
10. CSR Qishuyan U20 (SDA3)
รถจักรดีเซลไฟฟ้า CSR Qishuyan รุ่น U20 (SDA3) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สั่งรถจักรจากประเทศจีนเป็นครั้งแรก และนำเข้ามาใช้งานเมื่อเดือนมกราคม 2558 (หมายเลข 5101 – 5102) และเมษายน-มิถุนายน 2558 (หมายเลข 5103 – 5120) จำนวน 20 คัน หมายเลข 5101 – 5120 สร้างโดย บริษัท CRRC Qishuyan ประเทศจีน
ซึ่ง รฟท. ได้ลงนามจัดซื้อกับทาง บริษัท ป่าไม้สันติ จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซานโฟโก้อินเตอร์เนชันแนล จำกัด) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2556 มูลค่า 3,300 ล้านบาท!
เครื่องยนต์ใช้ของ Caterpillar C175-16 ACERT ขนาด 5,000 ซีซี. 16 สูบ 2 เครื่องยนต์ 3,800 แรงม้า (ใช้จริง 3,200 แรงม้า) น้ำหนักกดเพลา 20 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม.
มิติตัวรถยาว 20,490 มม. กว้าง 2,836 มม. สูง 4,000 มม. น้ำหนัก 120 ตัน
ปัจจุบันนับว่าเป็นรถจักรดีเซลรุ่นล่าสุดของ รฟท. ที่ใช้งานอยู่ในขณะนี้ เน้นใช้ในการขนสินค้าเป็นหลัก แต่ก็มีปัญหาตรงที่อะไหล่รอนาน ใช้เวลาซ่อมนาน ทั้งที่อยู่ในระยะรับประกัน เจอปัญหากำลังลากจูงต่ำ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุด หรือ Traction Motor Pinion ชำรุด เป็นต้น
*หมายเหตุ 10 อันดับ รถไฟใช้งานนานสุดของ รฟท. เป็นข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2563
ถ้าเบื่อรอรถไฟแล้ว อยากซื้อรถใหม่ แต่มีงบไม่พอ หรืออยากขายรถเก่าออกแบบไวที่สุด ได้เงินเร็วที่สุด เพื่อนำเงินไปโปะรถคันใหม่ ก็ให้ CARRO เป็นผู้ช่วยมืออาชีพของคุณ … มาขายรถกับทาง CARRO Express ได้ที่ https://th.carro.co/sell-car/express
หรืออยากซื้อรถมือสองสภาพเยี่ยม ราคาสบายๆ และมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพทุกคัน CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ ตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลา 1 นาที!
ซึ่ง CARRO Automall เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย CARRO Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!
อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ CARRO Automall สิ!
หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ
รูป และแหล่งที่มาบางส่วนจาก: