เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด
วิถีชีวิตของคนเรา เมื่อมีเงินสักก้อน นอกจากจะซื้อรถป้ายแดง หรือรถมือสองมาใช้กันแล้ว แทบทุกคนย่อมอยากมีบ้านตามไปด้วย ซึ่งในการซื้อบ้านของเรา ปัจจัยหลักๆ ก็จะอยู่ที่ราคาเหมาะกับความสามารถในการผ่อนจ่ายของเรา
รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ทำเลที่ตั้ง โครงการหมู่บ้าน จำนวนยูนิต ค่าส่วนกลาง ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน การรักษาความปลอดภัย น้ำท่วมมั้ย ฯลฯ ที่ต้องวิเคราะห์ให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหลังที่ต้องการ
สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาพอสมควร อยู่ในตำแหน่งที่มีฐานเงินเดือนสูง หรือมีอาชีพอิสระที่มีรายได้สูง ก็อาจจะเริ่มขยับขยายบ้าน จากที่เคยอยู่บ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ก็มาซื้อบ้านเดี่ยวแทน ด้วยความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขึ้น เพื่อให้ลูกมีที่วิ่งเล่น ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (ตามราคาของบ้าน ซึ่งก็ช่วยกรองเพื่อนบ้านได้ในระดับหนึ่ง) หรือต้องการรวมญาติพี่น้องให้มาอยู่กันหลายๆ คน เป็นต้น
ซึ่งในแต่ทำเล ก็มีบ้านเดี่ยวให้เลือกกันหลากหลายแบบ เช่น บ้านแฝด บ้านที่ปลูกสร้างเอง เนื้อที่ของบ้านจะมีเนื้อที่ตั้งแต่ 40 – 50 ตารางวาหรือไป บางหลังก็ใหญ่โตระดับเป็นไร่ก็มี หลายคนอาจจะเลือกบ้านเดี่ยวในโครงการหมู่บ้าน เพราะมีนิติบุคคลคอยจัดการสิ่งต่างๆ หรือถ้าจะเลือกซื้อบ้านเดี่ยวมือสองก็ได้เช่นกัน
แน่นอนว่าถ้าคนซื้อบ้านมีรถแล้ว ก็ย่อมอยากออกแบบโรงรถให้สวยงาม และปลอดภัยต่อคนทุกวัย Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังว่า เลือกหรือสร้างโรงรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ใช้งานได้ดีที่สุด
รูปแบบของบ้านเดี่ยวนั้น บอกได้เลยว่ามีค่อนข้างหลากหลายมากๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง และผู้ออกแบบ ขึ้นอยู่กับขนาดของที่ดินด้วยว่า จะสร้างออกมาให้เป็นแบบไหน ซึ่งบ้านเดี่ยว มีทั้งโรงรถที่เป็นแบบแยกออกไปเลยต่างหาก, โรงรถแบบรวมอยู่ในตัวบ้าน (อันนี้คล้ายกับบ้านแบบทาวน์โฮม หรือทาวน์เฮ้าส์) และโรงรถที่อยู่บริเวณด้านข้างของตัวบ้าน
แต่ถ้าเป็นโรงรถของบ้านระดับมหาเศรษฐี รวยจัดๆ ก็อาจจะลงทุนสร้างเป็นโรงรถติดแอร์ และประยุกต์เป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกไปด้วยในตัว หรือมีลิฟท์ยกรถเป็น 2 ชั้น เพิ่มเนื้อที่เก็บรถได้มากขึ้น ก็มีให้เห็นกัน
ภาพจาก บ้านดีระยอง
โรงรถ
หลักการสร้างโรงรถนั้น มักออกแบบให้สอดรับกับส่วนหน้าของบ้าน และมีทิศทางลมและแสงพัดผ่าน เพื่อระบายอากาศในที่จอดรถไปในตัว และมีแสงสว่างเข้า พื้นที่โปร่ง ป้องกันแขกที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาซ่อนได้ และก็ต้องมีหลังคากันสาดเพื่อบังแสงแดด สามารถจอดรถได้ตั้งแต่ 1-5 คัน หรือมากกว่านั้นตามขนาดของพื้นที่
โรงรถ ควรมีขนาดอย่างน้อย 2.5 x 5.0 เมตร/คัน แต่ในกรณีที่ใช้รถกระบะ, รถ SUV, รถ MPV หรือรถตู้ขนาดใหญ่ ก็ควรเพิ่มขนาดโรงรถเป็น 3 x 6 เมตร/คัน
วิธีสร้างโรงรถแบบตั้งเสาเหล็กรับน้ำหนักทั้งสองด้าน หรือแบบยึดกับตัวบ้านด้านหนึ่ง เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง (ภาพจาก SGC Experience)
สำหรับหลังคาโรงจอดรถยอดนิยม นั่นคือแบบการตั้งเสาเข็ม เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุด แต่ก็มีราคาแพงที่สุด เพราะต้องตั้งเสารับน้ำหนักหลังคาโรงจอดรถใหม่ทั้งหมด โดยไม่ยุ่งกับตัวบ้าน หากพื้นที่โรงรถมีโอกาสทรุดตัว ก็ต้องตอกเสาเข็มรับน้ำหนักด้วย และอาจมีประตูหรือผนังทึบ
หากพื้นที่เทปูนแล้ว ก็อาจตั้งเสาเหล็กรับน้ำหนักอย่างเดียวแทนเสาเข็มก็ได้ รวมถึงมีติดตั้งไฟและก๊อกน้ำ เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดรถ นอกจากนี้ เจ้าของบ้านอย่าลืมศึกษาข้อกฎหมายในการต่อเติม ก่อนออกแบบ และจ้างผู้รับเหมาด้วย กรณีที่ทำโรงรถไว้ด้านข้างของบ้าน (และมีรั้วกำแพงติดกับบ้านคนอื่น)
ภาพจาก Tai Phimjai
โรงจอดรถยอดนิยมอีกแบบ คือ มีเฉพาะเสารับน้ำหนักด้านหน้า และยึดด้านหลังเข้ากับโครงสร้างตัวบ้าน ซึ่งนิยมทำกันในบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน หรือด้านข้างของตัวบ้าน ราคาถูกกว่าการตั้งเสาใหม่ แต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อโครงสร้างบ้านและพื้นที่จอดรถทรุดตัวไม่เท่ากัน จนอาจฉุดรั้งโครงสร้างบ้านและโรงรถเสียหายไปด้วย แต่ก็แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้ตัวยึดแบบแกว่งตัวได้
และอีกแบบ อันนี้สำหรับบ้านเดี่ยว ที่รวมที่จอดรถไว้อยู่ในร่มเงาตัวบ้านอยู่แล้ว แต่ตัวรถยาวกว่าในส่วนของที่จอดรถ สามารถเจอแดดส่องผ่านมาโดนรถได้ เจ้าของบ้านอาจต่อเติมหลังคาโรงรถแบบกันสาดยื่นออกมาได้เช่นกัน (อ่านรายละเอียดของ หลังคา/กันสาด ต่อได้ในเนื้อหาด้านล่าง)
ภาพจาก Chonticha Jueychan
พื้นโรงรถ
กรณีที่คุณซื้อบ้านเดี่ยวมาแล้ว หรือซื้อบ้านมือสองมา อยากตกแต่งโรงรถเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ การทำทางลาด (Slope) สำหรับโรงรถนั้นจำเป็น กรณีที่ไม่ได้พื้นรอบบ้านต่ำกว่า หรือพอดีกับถนนส่วนกลาง ถ้าบ้านในโซนที่คุณอยู่ มีปัญหาเรื่องฝนตกหนักแล้วน้ำท่วมไว หรือบ่อย จนเข้ามาท่วมในบริเวณบ้านได้เมื่อฝนตกหนัก ก็ควรยกพื้นโรงรถให้สูงหน่อย
แต่ก็อาจพบปัญหาได้ ในส่วนบริเวณรอยต่อพื้นดินโรงรถ เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าทำไม่ดี หรือรับน้ำหนักเยอะๆ บ่อยๆ มักเกิดการทรุดตัว ปูนแตกร้าว เวลาเดินเข้า-ออก อาจสะดุดหรืออันตรายได้
แต่ก็ไม่ควรทำที่จอดรถชันจนเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขณะตอนเคลื่อนรถเข้าไปจอดในโรงรถ หรือระหว่างถอยเข้าไปจอดในบโรงรถได้ (เพราะขับรถขึ้นทางลาด รถต้องมีแรงส่งในการนำเข้าไปจอด อาจหรือเผลอเหยียบคันเร่งมากเกินไป จนพุ่งเข้าไปด้านใน หรือตัวบ้านได้นั่นเอง)
ภาพจาก กระเบื้องโรงรถ
พื้นปูโรงรถ
สำหรับพื้นที่ปูโรงรถในบ้านเดี่ยว จะบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง ส่วนมากนิยมกันในหลายแบบด้วยกัน เช่น
- ที่จอดรถคอนกรีตทั่วไป นับได้ว่าเป็นมาตรฐานของบ้านทั่วไทยก็ว่าได้ เพราะถูกและแข็งแรง บางโครงการอาจมีทั้งแบบผิวหยาบ แบบขัดมัน ดูแลรักษาง่าย แค่ผสมหิน ปูน ทราย ให้ได้มาตรฐาน สามารถไปตกแต่งเองเพิ่มเติมทีหลังได้ ไม่ว่าจะใช้ปูกระเบื้อง ปูหินอ่อน ปูกรวดล้าง ทรายล้าง ที่มีให้เลือกกันหลายเบอร์ เป็นต้น
- ที่จอดรถคอนกรีตพิมพ์ลาย หรือแสตมป์คอนกรีต หลายคนอาจจะชอบความสวยงาม พื้นโรงรถมีลวดลาย ก็อาจจ้างช่างให้มาทำคอนกรีตพิมพ์ลาย ตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต โดยช่างจะโรยผงสี (กรณีต้องการมีสีสัน) บนผิวหน้าคอนกรีตก่อนทำการพิมพ์ลาย จากนั้นนำแม่แบบมาพิมพ์ลาย ต่อกันจนครบทั้งหมด ให้เป็นลวดลายที่ดูเสมอกัน และมีลวดลายที่ช่วยกันลื่นเวลาเจอน้ำด้วย
- ที่จอดรถปูกระเบื้องเซรามิก การเลือกกระเบื้องเซรามิกมาปูพื้นโรงรถ ควรเลือกกระเบื้องปูพื้นประเภทแกรนิตโต้ ที่มีผิวหยาบ มีลวดลาย เพราะกันลื่นได้ แถมแข็งแรง ทนทาน
- ที่จอดรถปูกรวดล้างทรายล้าง ข้อดีคือ เหมาะสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ และเด็กๆ เพราะมีพื้นผิวขรุขระ ป้องกันการลื่นได้ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือทำความสะอาดและซ่อมแซมยาก และตะไคร่ชอบขึ้น (ขัดกันเหนื่อยเลยแต่ละที) ที่สำคัญต้องเคลือบน้ำยาป้องกันการสะสมตะไคร่ ตามซอกเม็ดหินอย่างสม่ำเสมอ
- ที่จอดรถปูหินแกรนิต มีราคาสูงและเป็นที่นิยม ด้วยความแข็งแรงสุดๆ ทนทาน ดูแลรักษาง่าย ผิวหยาบเรียบ เดินแล้วไม่ลื่น ควรเลือกหินแกรนิตที่มีความหยาบ และหนากว่าหินแกรนิตโดยทั่วไปประมาณ 3-4 นิ้ว เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวรถได้มาก
- บล็อกคอนกรีต จัดเป็นของยอดนิยมของคนมีบ้านเดี่ยว มีสนามหญ้าในบ้าน ผลิตจากคอนกรีตเคลือบสีผิวด้านบน ปัจจุบันมีการพิมพ์ลาย และผิวสัมผัสเลียนแบบธรรมชาติด้วย มีขนาดและรูปทรงหลากหลาย สามารถปูวางบนพื้นผิวทรายที่บดอัดแน่นได้เลย ง่ายต่อการติดตั้งและซ่อมแซม แต่มีจะต้องมีการทำขอบคันหิน และปูด้วย Geo Textile เพื่อป้องกันมิให้ทรายไหล
ส่วนวัสดุแบบอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมลงไป เช่น พื้นยางปูพื้น, ลาดยางมะตอย หรือ อีพ๊อกซี่ เป็นต้น
ภาพจาก วุฒิพงษ์ ดารามาศ
หลังคา / กันสาด
การเลือกหลังคาโรงรถ โดยมากแล้ว บ้านเดี่ยวจะสร้างหลังคาโรงรถได้หลากหลาย แบบทรงเรียบ แบบหน้าจั่ว แบบเฉียง หรือทรงโค้งเทลาดมาด้านหน้า เพราะเวลาฝนตกน้ำจะได้ไหลมาลงไปที่รางระบายน้ำข้างหน้า ด้านข้าง หรือแขวนโซ่สแตนเลสให้น้ำไหลลงมาก็ได้
ทั้งนี้ การเลือกแบบหลังคาโรงรถก็ต้องดูลักษณะบ้านคุณด้วยว่า เป็นบ้านเดี่ยวแบบไหน? เช่น บ้านที่มีโรงรถแยกออกไปต่างหาก หรือบ้านที่มีโรงรถรวมอยู่ในตัวบ้าน หรืออยู่บริเวณด้านหน้า หรือด้านข้างของบ้าน
วัสดุปูหลังคาก็มีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบสังกะสี แบบกระเบื้อง แบบสแตนเลส แบบเมทัลชีท แบบไวนิล แบบโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรามาดูกัน …
ภาพจาก โซลาร์เซลล์ เพชรบุรี
- หลังคาสังกะสี มีคุณสมบัติพื้นผิวมันเรียบ น้ำหนักเบา ราคาถูกจำหน่ายเป็นฟุต ราคาต่อฟุตแตกต่างกันตามสี และชั้นคุณภาพของสังกะสี ข้อดีคือราคาถูก ทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือยังนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น ใช้ทำฝาผนัง หรือทำรั้ว
ส่วนข้อเสียของหลังคาสังกะสี คือ เมื่อใช้ไปนานๆ เจอแดดเจอฝนนานๆ มักขึ้นสนิม ผุ ไม่ทนต่อแรงลม เจอพายุมาทีปลิวไปหมดเลยก็มี และโรงรถร้อน เพราะหลังคาสังกะสีอมความร้อน กระจายความร้อนได้รวดเร็ว (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) และเสียงดังมากเมื่อฝนตกหนัก - หลังคาเหล็กเมทัลชีท คือหลังคาที่เป็นแผ่นเหล็กเคลือบด้วย Aluzinc (อลูซิงค์) มีส่วนประกอบของ อะลูมิเนียม 55% และสังกะสี 45% เพื่อป้องกันการเกิดสนิม รีบจนเป็นแผ่นลอนบาง ข้อดี คือ กันสนิมได้ ติดตั้งได้ง่าย แข็งแรง ทำหลังคาโค้งได้ กันน้ำซึมได้เพราะเป็นแผ่นยาวไร้รอยต่อ มีหลายสีให้เลือก ราคาไม่แพง
แต่ข้อเสียคือ อมความร้อน (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) น้ำหนักมากกว่าหลังคาสังกะสี และเสียงดังเมื่อฝนตกหนัก - หลังคาสแตนเลส คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่า หรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 5% ขึ้นไป หรือเรียกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม ข้อดี คือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ง่ายต่อการติดตั้ง ปลอดสนิม น้ำหนักเบา ทนความร้อน ส่วนข้อเสีย คือ ราคาสูง และไม่ทนทานเท่าหลังคาเหล็ก
- หลังคากระเบื้อง เป็นหลังคาที่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนานกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ รับแรงกระแทกดี (เช่น มีของหล่นใส่ ไม่บุบหรือแตก) ทนทาน เสียงไม่ดังเวลาฝนตกหนัก ซ่อมแซมง่าย แผ่นไหนรั่วแตกก็ถอดเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนยกแผงแบบประเภทอื่น
แต่ข้อเสียก็มี คือ น้ำหนักมาก ต้องทำโครงสร้างโรงรถให้รับน้ำหนักได้ และปัญหารั่วซึมตามรอยต่อกระเบื้อง ต้องอัดกาวหรือเปลี่ยนเพื่อซ่อมแซมใหม่ - หลังคาไวนิล เป็นหลังคาที่ทำมาจาก UPVC หรือ Unplasticised Poly Vinyl Chloride ข้อดี คือ ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี ยืดหยุ่น ป้องกันความร้อนได้ดี เก็บความเย็น น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ฝนตกหนักเสียงไม่ดัง และติดไฟยาก ส่วนข้อเสีย คือ เมื่อใช้งานไปนานๆ หลังคาสีจะซีด และมีราคาสูง
- หลังคาโพลีคาร์บอเนต เป็นหลังคาที่ทำมาจากพลาสติกแข็ง มีทั้งแบบแผ่นตันและแผ่นลูกฟูก ข้อดีคือ โปร่งแสง ทำให้บริเวณโรงรถไม่มืด มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ ดัดรูปทรงตามต้องการได้ และเวลาฝนตกเสียงไม่ดัง ส่วนข้อเสียคือราคาสูง เป็นรอยขีดข่วนง่าย ติดไฟได้เนื่องจากวัสดุพลาสติกค่อนข้างไวไฟ
- หลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) สำหรับบ้านรักษ์โลก และต้องการลดค่าไฟในแต่ละเดือน ยิ่งติดจำนวนขนาดใหญ่ และใช้ไฟฟ้ามาก ย่อมคืนทุนเร็วกว่าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย ยิ่งเหมาะสำหรับบ้านที่ใช้ไฟในเวลากลางวัน เพราะผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลยจึงจะคุ้มค่ามากที่สุด (ระบบ On Grid) และในปัจจุบันระบบ Energy Storage สำหรับใช้ในบ้าน ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้จุดคุ้มทุนยิ่งนานขึ้นตามกันไป
บางคนก็ไม่อยากได้หลังคาแบบทึบแสง อยากให้มีแสงส่องเข้ามาในโรงรถบ้าง ก็อาจจะเลือกหลังคาที่ใช้วัสดุแบบโปร่งแสงชนิดอื่นๆ เช่น ไฟเบอร์กลาส หรือโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น
สำหรับใครที่กำลังเลือกตกแต่งโรงรถให้กับบ้านเดี่ยวหลังใหม่ หรือบ้านเดี่ยวหลังเดิมของคุณอยู่ ก็ลองนำไปพิจารณาดู ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายด้าน ทั้งความชื่นชอบ ฟังก์ชั่นการใช้งาน กับงบประมาณที่ตั้งไว้ครับ เพื่อจะได้คุ้มค่าเงิน ที่ต้องจ่ายไปมากที่สุด และไม่มีปัญหาตามมาทั้งตัวเอง และเพื่อนบ้านในภายหลัง
สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ให้เหมาะกับโรงรถบ้านคุณ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!
ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!
ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!
อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!
หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carrothai
แหล่งที่มาบางส่วนจาก: