เลือกที่จอดรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ดีที่สุด
วิถีชีวิตของคนเรา เมื่อมีเงินสักก้อน นอกจากจะซื้อรถป้ายแดง หรือรถมือสองมาใช้กันแล้ว แทบทุกคนย่อมอยากมีบ้านตามไปด้วย ซึ่งในการซื้อบ้านของเรา ปัจจัยหลักๆ ก็จะอยู่ที่ราคาเหมาะกับความสามารถในการผ่อนจ่ายของเรา
รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ทำเลที่ตั้ง โครงการหมู่บ้าน จำนวนยูนิต ค่าส่วนกลาง ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน การรักษาความปลอดภัย น้ำท่วมมั้ย ฯลฯ ที่ต้องวิเคราะห์ให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหลังที่ต้องการ
ซึ่งในแต่ทำเล แต่ละหมู่บ้าน ก็มีที่อยู่อาศัยให้เลือกกันหลากหลายแบบ เช่น บ้านทาวน์เฮ้าส์, บ้านทาวน์โฮม หรือบ้านเดี่ยว หลายคนอาจจะเลือกบ้านทาวน์เฮ้าส์ (หรือทาวน์โฮม) เพราะมีราคาไม่แพงมาก (รวมไปถึงเนื้อที่ตัวบ้านก็ไม่มาก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 16 – 25 ตร.วา) ดูแลง่าย มีนิติบุคคลคอยจัดการสิ่งต่างๆ หรือถ้าจะเลือกซื้อบ้านมือสองก็ได้เช่นกัน
แน่นอนว่าถ้าคนซื้อบ้านมีรถแล้ว ก็ย่อมอยากออกแบบโรงรถให้สวยงาม และปลอดภัยต่อคนทุกวัย Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังว่า เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีที่สุด
ตามปกติแล้ว โครงการหมู่บ้านส่วนใหญ่ มักจะออกแบบโรงรถให้เป็นบริเวณที่เปิดโล่ง หรือมีชานจากตัวบ้านบังตัวรถได้นิดหน่อย เพื่อให้เจ้าของบ้านตกแต่งเองเพิ่มเติม (เว้นเสียแต่ว่า คุณซื้อบ้านมือสองมาแล้วเจ้าของเดิมต่อเติม ตกแต่งไว้ให้แล้ว)
บ้านทาวน์เฮ้าส์ที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน มีหน้ากว้างที่ค่อนข้างหลากหลายตามการออกแบบ จัดวางพื้นที่ และราคาที่จะตั้งขาย มีตั้งแต่ความกว้างขั้นต่ำ (วัดจากเขตที่ดินบ้าน ที่กินเนื้อที่เข้าไปกำแพงบ้านประมาณ 20 ซม.) ตามกฎหมาย 4 เมตร ไปจนถึง 10 เมตร ก็มี ซึ่ง พรบ. ควบคุมอาคาร ปี 2522 ฉบับปรับปรุงปี 2558 ระบุว่า ช่องจอดรถขั้นต่ำ ต้องมีขนาดอย่างน้อย 2.4 X 5 เมตร)
เมื่อเทียบกับขนาดรถยนต์ที่ขายในบ้านเราส่วนใหญ่ ตัวรถจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณตั้งแต่เกือบๆ 4 เมตร ไปจนถึงไม่เกิน 5 เมตรครึ่ง รวมไปถึงความกว้างของตัวรถ มักอยู่ที่ประมาณ 1.7 เมตร ไปจนถึงเกือบๆ 2 เมตร (กรณีรถคันใหญ่มาก) ซึ่งถ้าใครใช้รถหรูๆ หรือรถกระบะ รถ SUV คันใหญ่ๆ ก็ต้องหาบ้านที่หน้ากว้างๆ หน่อยละกัน เวลาเข้า-ออก รถ จะได้ไม่ลำบาก
บ้านทาวน์เฮ้าส์หน้ากว้าง มีพื้นที่ใช้สอยเท่าไหร่ จอดรถได้กี่คัน …
- ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 4 เมตร : จอดรถได้ 1 คันเท่านั้น พอเหลือพื้นที่ด้านข้างนิดหน่อย สำหรับเปิดประตูรถ เดิน หรือใช้วางสิ่งของที่เกี่ยวกับการดูแลรถ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือน้ำยาต่างๆ หรือจะใช้จอดมอเตอร์ไซค์ได้อีกคัน
- ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 5 – 5.7 เมตร : หมู่บ้านยุคใหม่หลายโครงการ นิยมออกแบบหน้ากว้างประมาณนี้มาก เพราะสามารถจอดรถได้ตั้งแต่ 1 หรือ 2 คัน แต่ถ้าคุณจอดรถเพียง 1 คัน ก็จะมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น เปิดประตูรถได้กว้างขึ้น
- ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 6 – 7 เมตร : พื้นที่ขนาดนี้ ออกแบบมาให้จอดรถได้ 2 คัน หรือใช้จอดจักรยาน จอดมอเตอร์ไซค์เพิ่มเติมได้ แต่ถ้าจะเปิดประตูรถที่จอดติดกัน อาจจะเปิดได้ไม่กว้างนัก
- ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 8 – 10 เมตร : เป็นระยะความกว้างที่สุด จอดรถได้ 3 คัน พร้อมพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ ได้อิสระมากขึ้น สำหรับสมาชิกหลายๆ คนในบ้าน ถ้าจอดรถเพียงแค่คันเดียว ก็เปิดประตูรถได้กว้างสุดๆ
ที่สำคัญ ต้องเลือกเนื้อที่ความลึกของที่จอดรถให้มากกว่าความยาวของรถคุณด้วย เพราะถ้าขับรถเข้าไปจอดในบ้านเรา ไม่มีพื้นที่เว้นระยะห่างหน้า-หลัง ของรถเลย ก็อาจใช้งานไม่สะดวกได้เช่นกันครับ เช่น การเปิดฝากระโปรงหน้ารถ หรือเปิดท้ายรถเพื่อหยิบของ
ภาพจาก Tai Phimjai
พื้นโรงรถ
กรณีที่คุณซื้อบ้านมาแล้ว หรือซื้อบ้านมือสองมา อยากตกแต่งโรงรถเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ การทำทางลาด (Slope) สำหรับโรงรถนั้นจำเป็น ในกรณีที่คุณอาจต้องล้างรถในบ้าน หรือพื้นที่ถนนส่วนกลางภายนอกเท่ากันหรือสูงกว่าตัวพื้นบ้าน จนน้ำสามารถเข้ามาท่วมในบ้านได้เมื่อฝนตกหนัก ก็ควรทำทางลาดให้สูงหน่อย
แต่ก็อาจพบปัญหาได้ ในส่วนบริเวณรอยต่อพื้นดินหน้าบ้าน หรือหน้าถนนที่ทางลาด เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าทำไม่ดี หรือรับน้ำหนักเยอะๆ บ่อยๆ มักเกิดการทรุดตัว ปูนแตกร้าว เวลาเดินอาจสะดุดหรืออันตรายได้
แต่ก็ไม่ควรทำที่จอดรถชันจนเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขณะตอนเคลื่อนรถเข้าไปจอดในบ้าน หรือระหว่างถอยเข้าไปจอดในบ้านได้ (เพราะขับรถขึ้นทางลาด รถต้องมีแรงส่งในการนำเข้าไปจอด อาจหรือเผลอเหยียบคันเร่งมากเกินไป จนพุ่งเข้าไปชนกำแพงบ้านได้นั่นเอง)
ภาพจาก Bank HomeNow
พื้นปูโรงรถ
สำหรับพื้นที่ปูโรงรถในบ้านทาวน์เฮ้าส์ ถ้าเป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ จะบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง ก็มีให้เลือกด้วยกันหลายแบบด้วยกัน เช่น
- ที่จอดรถคอนกรีตทั่วไป นับได้ว่าเป็นมาตรฐานของหมู่บ้านทั่วไทยก็ว่าได้ เพราะถูกและแข็งแรง บางโครงการอาจมีทั้งแบบผิวหยาบ แบบขัดมัน ดูแลรักษาง่าย แค่ผสมหิน ปูน ทราย ให้ได้มาตรฐาน สามารถไปตกแต่งเองเพิ่มเติมทีหลังได้ ไม่ว่าจะใช้ปูกระเบื้อง ปูหินอ่อน ปูกรวดล้าง ทรายล้าง ที่มีให้เลือกกันหลายเบอร์ เป็นต้น
- ที่จอดรถคอนกรีตพิมพ์ลาย หรือแสตมป์คอนกรีต หลายคนอาจจะชอบความสวยงาม พื้นโรงรถมีลวดลาย ก็อาจจ้างช่างให้มาทำคอนกรีตพิมพ์ลาย ตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต โดยช่างจะโรยผงสี (กรณีต้องการมีสีสัน) บนผิวหน้าคอนกรีตก่อนทำการพิมพ์ลาย จากนั้นนำแม่แบบมาพิมพ์ลาย ต่อกันจนครบทั้งหมด ให้เป็นลวดลายที่ดูเสมอกัน และมีลวดลายที่ช่วยกันลื่นเวลาเจอน้ำด้วย
- ที่จอดรถปูกระเบื้องเซรามิก การเลือกกระเบื้องเซรามิกมาปูพื้นโรงรถ ควรเลือกกระเบื้องปูพื้นประเภทแกรนิตโต้ ที่มีผิวหยาบ มีลวดลาย เพราะกันลื่นได้ แถมแข็งแรง ทนทาน
- ที่จอดรถปูกรวดล้างทรายล้าง ข้อดีคือ เหมาะสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ และเด็กๆ เพราะมีพื้นผิวขรุขระ ป้องกันการลื่นได้ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือทำความสะอาดและซ่อมแซมยาก และตะไคร่ชอบขึ้น (ขัดกันเหนื่อยเลยแต่ละที) ที่สำคัญต้องเคลือบน้ำยาป้องกันการสะสมตะไคร่ ตามซอกเม็ดหินอย่างสม่ำเสมอ
- ที่จอดรถปูหินแกรนิต มีราคาสูงและเป็นที่นิยม ด้วยความแข็งแรงสุดๆ ทนทาน ดูแลรักษาง่าย ผิวหยาบเรียบ เดินแล้วไม่ลื่น ควรเลือกหินแกรนิตที่มีความหยาบ และหนากว่าหินแกรนิตโดยทั่วไปประมาณ 3-4 นิ้ว เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวรถได้มาก
ส่วนวัสดุแบบอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมลงไปก็มีอย่างเช่น บล็อกหญ้า, บล็อกตัวหนอน, พื้นยางปูพื้น, ลาดยางมะตอย หรือ อีพ๊อกซี่ เป็นต้น
ภาพจาก บ้านมือสอง-สมุทรปราการ
หลังคา / กันสาด
การเลือกหลังคาโรงรถ โดยมากแล้ว บ้านทาวน์เฮ้าส์จะเลือกหลังคาโรงรถแบบทรงเรียบ หรือทรงโค้ง ให้เทลาดมาด้านหน้าถึงรั้วบ้าน หรือเลยออกไปบริเวณทางลาดหน้าบ้าน เพราะเวลาฝนตกน้ำจะได้ไหลมาลงไปที่รางระบายน้ำข้างหน้า หรือด้านหน้าบ้านตัวเอง ไม่ไปไหลลงที่ข้างบ้าน ซึ่งบางบ้านอาจจะติดตั้งผ้าใบกันฝนได้อีกด้วย
วัสดุปูหลังคาก็มีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบสังกะสี แบบกระเบื้อง แบบสแตนเลส แบบเมทัลชีท แบบไวนิล แบบโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรามาดูกัน …
- หลังคาสังกะสี มีคุณสมบัติพื้นผิวมันเรียบ น้ำหนักเบา ราคาถูกจำหน่ายเป็นฟุต ราคาต่อฟุตแตกต่างกันตามสี และชั้นคุณภาพของสังกะสี ข้อดีคือราคาถูก ทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือยังนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น ใช้ทำฝาผนัง หรือทำรั้ว
ส่วนข้อเสียของหลังคาสังกะสี คือ เมื่อใช้ไปนานๆ เจอแดดเจอฝนนานๆ มักขึ้นสนิม ผุ ไม่ทนต่อแรงลม เจอพายุมาทีปลิวไปหมดเลยก็มี และโรงรถร้อน เพราะหลังคาสังกะสีอมความร้อน กระจายความร้อนได้รวดเร็ว (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) และเสียงดังมากเมื่อฝนตกหนัก - หลังคาเหล็กเมทัลชีท คือหลังคาที่เป็นแผ่นเหล็กเคลือบด้วย Aluzinc (อลูซิงค์) มีส่วนประกอบของ อะลูมิเนียม 55% และสังกะสี 45% เพื่อป้องกันการเกิดสนิม รีบจนเป็นแผ่นลอนบาง ข้อดี คือ กันสนิมได้ ติดตั้งได้ง่าย แข็งแรง ทำหลังคาโค้งได้ กันน้ำซึมได้เพราะเป็นแผ่นยาวไร้รอยต่อ มีหลายสีให้เลือก ราคาไม่แพง
แต่ข้อเสียคือ อมความร้อน (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) น้ำหนักมากกว่าหลังคาสังกะสี และเสียงดังเมื่อฝนตกหนัก - หลังคาสแตนเลส คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่า หรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 5% ขึ้นไป หรือเรียกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม ข้อดี คือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ง่ายต่อการติดตั้ง ปลอดสนิม น้ำหนักเบา ทนความร้อน ส่วนข้อเสีย คือ ราคาสูง และไม่ทนทานเท่าหลังคาเหล็ก
- หลังคากระเบื้อง เป็นหลังคาที่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนานกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ รับแรงกระแทกดี (เช่น มีของหล่นใส่ ไม่บุบหรือแตก) ทนทาน เสียงไม่ดังเวลาฝนตกหนัก ซ่อมแซมง่าย แผ่นไหนรั่วแตกก็ถอดเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนยกแผงแบบประเภทอื่น
แต่ข้อเสียก็มี คือ น้ำหนักมาก ต้องทำโครงสร้างโรงรถให้รับน้ำหนักได้ และปัญหารั่วซึมตามรอยต่อกระเบื้อง ต้องอัดกาวหรือเปลี่ยนเพื่อซ่อมแซมใหม่ - หลังคาไวนิล เป็นหลังคาที่ทำมาจาก UPVC หรือ Unplasticised Poly Vinyl Chloride ข้อดี คือ ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี ยืดหยุ่น ป้องกันความร้อนได้ดี เก็บความเย็น น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ฝนตกหนักเสียงไม่ดัง และติดไฟยาก ส่วนข้อเสีย คือ เมื่อใช้งานไปนานๆ หลังคาสีจะซีด และมีราคาสูง
- หลังคาโพลีคาร์บอเนต เป็นหลังคาที่ทำมาจากพลาสติกแข็ง มีทั้งแบบแผ่นตันและแผ่นลูกฟูก ข้อดีคือ โปร่งแสง ทำให้บริเวณโรงรถไม่มืด มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ ดัดรูปทรงตามต้องการได้ และเวลาฝนตกเสียงไม่ดัง ส่วนข้อเสียคือราคาสูง เป็นรอยขีดข่วนง่าย ติดไฟได้เนื่องจากวัสดุพลาสติกค่อนข้างไวไฟ
ภาพจาก สืบพงษ์ เครือน้อย
บางคนก็ไม่อยากได้หลังคาแบบทึบแสง อยากให้มีแสงส่องเข้ามาในโรงรถบ้าง ก็อาจจะเลือกหลังคาที่ใช้วัสดุแบบโปร่งแสงชนิดอื่นๆ เช่น ไฟเบอร์กลาส หรือโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น
สำหรับใครที่กำลังเลือกตกแต่งโรงรถให้กับบ้านหลังใหม่ หรือบ้านหลังเดิมของคุณอยู่ ก็ลองนำไปพิจารณาดู ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายด้าน ทั้งความชื่นชอบ ฟังก์ชั่นการใช้งาน กับงบประมาณที่ตั้งไว้ครับ
สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ให้เหมาะกับโรงรถบ้านคุณ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!
ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!
ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!
อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!
หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai
แหล่งที่มาบางส่วนจาก: