ขอไฟแนนซ์รถมือสอง

ขอไฟแนนซ์รถมือสองไม่ยาก ดำเนินการเพียงไม่กี่ขั้นตอน

“ไฟแนนซ์รถมือสอง” คือ ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ให้กู้เงินเพื่อซื้อรถมือสอง โดยเงื่อนไขรายละเอียดของการขอไฟแนนซ์จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของการกู้คือ ‘ดอกเบี้ย’

ขอไฟแนนซ์รถมือสอง

ปีรถยิ่งเก่าเป็นหนึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น

 

ดังนั้น ถ้าคุณคิดจะซื้อรถมือสองสักคัน แต่งบประมาณมีไม่เพียงพอที่จะซื้อด้วยเงินสด การจัดไฟแนนซ์รถมือสองสามารถช่วยคุณได้ ซึ่งการขอสินเชื่อรถมือสองจะมาจากไฟแนนซ์ 2 ประเภท

1. ไฟแนนซ์ที่มีให้บริการจากเต็นท์รถ

ถ้ารถที่ซื้อเป็นรถที่ซื้อจากเต็นท์รถ หรือผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว แต่ละเต็นท์จะมีไฟแนนซ์ หรือสถาบันทางการเงินที่ทางเต็นท์ใช้บริการเป็นประจำ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อทางเต็นท์ก็จะช่วยดำเนินการประสานงานให้กับคุณ ไม่ว่าจะเรื่องเอกสารไปจนถึงการช่วยคุยให้กับไฟแนนซ์เพื่อให้การขอสินเชื่อของคุณได้อนุมัติ

2. ไฟแนนซ์รถบ้าน เจ้าของขายเอง

คือ การซื้อรถโดยตรงจากเจ้าของรถ หรือซื้อรถต่อจากคนรู้จัก ในกรณีนี้ถ้าหากผู้ซื้อจะทำการขอกู้ไฟแนนซ์ก็จะต้องติดต่อไฟแนนซ์ด้วยตัวเอง

 

การดำเนินการขอไฟแนนซ์มี 5 ขั้นตอนการขอไฟแนนซ์ ดังนี้

  1. ติดต่อไฟแนนซ์ : ผู้ซื้อต้องติดต่อไฟแนนซ์เพื่อทำการขอสินเชื่อ
  2. เก็บข้อมูลและเอกสาร : ทำการนัดเจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์เพื่อส่งมอบเอกสาร + ข้อมูลรถที่จะนำไปประเมินสินเชื่อ
  3. พิจารณาสินเชื่อ : ไฟแนนซ์ทำการประเมินสินเชื่อถึงความเป็นไปได้ในการอนุมัติสินเชื่อว่า ผ่าน – ไม่ผ่าน
  4. นัดโอน : ถ้าสินเชื่ออนุมัติผ่าน ทางไฟแนนซ์จะนัดผู้ขาย และผู้ซื้อให้นำเอกสารไปทำเรื่องเล่มทะเบียน
  5. ผู้ขายได้รับเงิน : ผู้ขายจะได้รับเงินหลังจาก การนัดโอนเล่ม เรียบร้อยแล้วเท่านั้น

ขอไฟแนนซ์รถมือสอง

เรื่องของการเตรียมเอกสาร ได้แก่

1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ใบคู่มือจดทะเบียน
4. เอกสารประวัติทางการเงิน เช่น สลิปเงินเดือน เป็นต้น
5. สัญญาชื้อ-ขาย สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี้ สัญญาซื้อ-ขาย

Co-Borrower-VS-Bondsman

ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ปัญหาใหญ่ของคนซื้อรถมือสอง เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ จัดไฟแนนซ์รถมือสองไม่ผ่าน คือ มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี (เป็นหนี้เครดิตบูโร) ซึ่งมีเงื่อนไขไม่ตรงตามที่บริษัทไฟแนนซ์กำหนดไว้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การติดแบล็คลิสต์” นั่นเอง

ทางด้านบริษัทไฟแนนซ์ และลีสซิ่ง ก็มีปัญหาไม่น้อยอยู่เช่นกันในการตามทวงเงิน ตามยึดรถคืน บางรายขาดส่งเกิน 3 เดือน ก็ปล่อยยึดไป แต่บางราย นำไปขายดาวน์

ในกรณีนี้เอง ผู้ขอจัดไฟแนนซ์สามารถหาทางออกได้โดยการหา “ผู้กู้ร่วม” หรือ “ผู้ค้ำประกัน” เพื่อให้การอนุมัติไฟแนนซ์ผ่านได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

โดยความหมายของ ผู้กู้ร่วม และ ผู้ค้ำประกัน นั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ดังนี้

ผู้กู้ร่วม หมายถึง บุคคลที่มีฐานะเหมือนผู้กู้ร่วมอีกคนหนึ่งในสัญญากับลูกหนี้ และผู้กู้ร่วมมีหน้าที่รับผิดชอบในการชำระหนี้สินที่กู้มาเทียบเท่ากับลูกหนี้ แต่การจะเป็นผู้กู้ร่วมได้ ผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัวกับลูกหนี้เท่านั้น

บุคคลที่ต้องมีผู้กู้ร่วม คือ บุคคลที่มีฐานเงินเดือนไม่พอผ่อนค่างวดชำระ ก็สามารถนำฐานเงินเดือนของผู้กู้ร่วม กับผู้ขอจัดไฟแนนซ์ มารวมกันได้

Co-Borrower-VS-Bondsman

คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม

1. ต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวเดียวกันกับผู้ขอจัดไฟแนนซ์ เช่น พ่อ แม่ ลูก สามีภรรยา หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกัน กรณีที่คู่สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถใช้หลักฐานการแต่งงานมายืนยันได้ รวมถึงกรณีที่มีบุตรแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถนำสูติบัตรของบุตรมาใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้เช่นกัน

ผู้ค้ำประกัน หมายถึง บุคคลภายนอกที่ทำสัญญาเป็นผู้ชำระหนี้ให้แทนลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เพื่อเป็นการค้ำประกันว่าถ้าหากลูกหนี้เบี้ยว หนี้สินนั้นจะถูกชำระอย่างแน่นอน เพราะเมื่อผู้ค้ำประกันเซ็นยินยอม ก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้สามารถมาทวงหนี้จากผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ และสามารถฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ โดยผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัวกับลูกหนี้เหมือนกับผู้กู้ร่วม แต่อาจเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกัน ครอบครัวกับลูกหนี้เหมือนกับผู้กู้ร่วม แต่อาจเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกัน

บุคคลที่ต้องมีผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี อายุน้อย ไม่เคยมีประวัติด้านสินเชื่อ และบุคคลที่วางเงินดาวน์ค่อนข้างต่ำ รวมถึงผู้ที่มีเงื่อนไขไม่ตรงตามความตรงการของบริษัทไฟแนนซ์

Co-Borrower-VS-Bondsman

คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน

1. มีแหล่งที่อยู่ชัดเจน
2. มีฐานเงินเดือนมากเป็น 2 เท่า ของค่างวด
3. ประกอบอาชีพมั่นคง หากเป็นผู้ที่มีรายรับสม่ำเสมอและคงที่จะดีมาก

แต่ท้ายที่สุด การมีผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน ไม่ได้เป็นตัวการันตีได้ 100% ว่าจะขอจัดไฟแนนซ์รถมือสองผ่านได้ทันที  เพราะบริษัทไฟแนนซ์จะทำการประเมินเอกสารและปัจจัยหลายๆ อย่าง ของทั้งผู้กู้ร่วม และผู้ค้ำประกัน ฉะนั้นผู้กู้ร่วมและผู้ค้ำประกันจึงควรมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของบริษัทไฟแนนซ์ และต้องไม่มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้ในช่วงโควิด-19 ระบาด CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน