ข่าวสารยานยนต์ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ตลาดรถยนต์ปีนี้ มีลุ้น 8 แสนคัน EV/ SUV มาแรง!

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2564 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2565

ปี 2564 ถือเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจและสังคมไทยเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม จากความมุ่งมั่นพยายามของภาครัฐและบุคลากรทางการแพทย์ เราเชื่อว่าสถานการณ์กำลังจะก้าวเข้าสู่ภาวะคลี่คลาย

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่า โตโยต้า จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้สำเร็จภายในปี 2593 โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 Akio Toyoda (อากิโอะ โตโยดะ) กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศไว้ว่าโตโยต้ามีกลยุทธ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลยุทธ์ด้านรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ โดยโตโยต้าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ครบทั้ง 30 รุ่น ภายในปี 2573

ซึ่งรวมไปถึงรถซีรีส์ bZ จำนวน 5 โมเดล ซึ่งมาพร้อมแพลตฟอร์มที่พัฒนาใหม่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่โดยเฉพาะ โตโยต้ามุ่งมั่นที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ทั้งสิ้น 3.5 ล้านคัน ภายในปี 2573

ทั้งนี้ โตโยต้าทุ่มเงินลงทุน 1.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ โดยที่เงิน 0.6 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนด้านแบตเตอรี่ และยังลงทุนอีก 1.2 ล้านล้านบาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ภายในปี 2573

CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน

ส่วนในประเทศไทยนั้น Toyota เริ่มแนะนำเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2552 โดยครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ถึง 80% และมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้ามากสุดในอาเซียน เราลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปได้ 148,000 ตัน ซึ่งเท่ากับการปลูกต้นไม้ 2 ล้านต้น อีกทั้งในปีที่แล้ว เรายังได้ทำการแนะนำ Lexus UX300e ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ และ Lexus NX450h+ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด

Toyota มีแผนที่จะทำการแนะนำ Toyota bZ4X ซึ่งถือเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของซีรีส์ bZ ออกสู่ตลาดภายในปีนี้ พร้อมส่งเสริมให้มีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตหลักสำหรับการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าอีกหลากหลายรุ่นต่อไปในอนาคต

สำหรับยอดขายรถรวมในปี 2564 เป็นปีที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เช่น ปัญหาชิปขาดตลาด ด้วยเหตุนี้ ยอดขายรวมภายในประเทศจึงอยู่ที่ราว 759,119 คัน หรือลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปี 2563

สถิติการขายรถยนต์ในปี 2564 ยอดขายปี 2564 การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563
 ปริมาณการขายรวม 759,119 คัน – 4.2%
 รถยนต์นั่ง  251,800 คัน -8.4%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 507,319 คัน -1.9%
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 393,476 คัน -3.9%
 รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 341,452 คัน -6.4%

สำหรับยอดขายของโตโยต้าในปี 2564 นั้น ยอดขายรวมอยู่ที่ประมาณ 239,723 คัน หรือลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเรายังคงครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 31.6% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด

ซึ่งหากว่ากันตามตรง ถือว่าต่ำกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ถ้าเราดูยอดขายของปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่าเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา สืบเนื่องมาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนดำเนินกิจกรรมทางการตลาดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ เช่น การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าเราลองดูที่ยอดขายของโตโยต้าในระหว่างช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 4 จะเห็นได้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของเราอยู่ที่ 32.5% ซึ่งเป็นระดับที่ไกล้เคียงกับในปี 2562 หรือช่วงก่อนที่โรคโควิด-19 จะระบาด โดยในส่วนของยอดขายของ ไฮลักซ์ รีโว่ นั้น มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 39.1% ซึ่งสูงกว่าของปี 2562 ในขณะที่ เอทีฟ และ ยาริส นั้น ก็สามารถครองอันดับ 1 ในตลาดรถ อีโคคาร์

ในส่วนของตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ โตโยต้ามียอดขายรวมทั้งปีเป็นอันดับ 1 ถึง 2 ปีซ้อน ด้วยยอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ของโคโรลลา ครอส ส่วนฟอร์จูนเนอร์ ก็มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในตลาดรถกระบะดัดแปลงต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 ปี ในขณะเดียวกัน คัมรี ก็ครองอันดับ 1 ในตลาดรถยนต์ขนาดกลาง ส่วนไฮเอซก็ครองอันดับ 1 ตลอดกาลเช่นกันสำหรับในตลาดรถตู้

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 ยอดขายปี 2564 การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 ส่วนแบ่งตลาด
 ปริมาณการขายโตโยต้า 239,723 คัน    -1.9% 31.6%
 รถยนต์นั่ง  62,403 คัน -8.4% 24.8%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 177,320 คัน +0.7% 35.0%
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 151,501 คัน +1.2% 38.5%
 รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 128,639 คัน -1.0% 37.7%

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2565

เป็นไปได้ว่าโควิด-19 จะยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย อย่างไรก็ดี เราคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด

นอกจากนี้ ประชาชนเองก็เรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ให้ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ส่วนปัญหาชิ้นส่วนการผลิตขาดตลาดก็จะค่อยๆ คลี่คลายลงเช่นกัน คาดหวังว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะกลับคืนสู่สภาวะปกติ และคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2565 จะอยู่ที่ 860,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2565 ยอดขายประมาณการปี 2565 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564
 ปริมาณการขายรวม 860,000 คัน  + 13.3%
 รถยนต์นั่ง 292,500 คัน + 16.2%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 567,500 คัน + 11.9%

“สำหรับโตโยต้า เราตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 284,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 18.5% โดยครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 33%”

ประมาณการยอดขายรถยนต์

โตโยต้าในปี 2565

ยอดขายประมาณการปี 2565 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 ส่วนแบ่งตลาด
 ปริมาณการขายโตโยต้า 284,000 คัน  + 18.5% 33.0%
 รถยนต์นั่ง    81,000 คัน     + 29.8% 27.7%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 203,000 คัน      + 14.5% 35.8%
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 175,932 คัน     + 16.1% 40.6%
 รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 149,000 คัน      + 15.8% 39.8%

ปริมาณการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2564

ในด้านการส่งออกรถยนต์ ในปี 2564 โตโยต้าส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปราว 292,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 35.5% จากปี 2563 โดยยอดรวมการผลิตรถยนต์สำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกในปี 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 514,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 16.1% จากปี 2563

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของ

โตโยต้าในปี 2564

ปริมาณในปี 2564 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563
 ปริมาณการส่งออก 292,000 คัน     + 35.5%
 ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 514,000 คัน + 16.1%

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2565

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ เราคาดว่าความต้องการของตลาดต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเราตั้งเป้าปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 371,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 27.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเราตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของปี 2565 อยู่ที่ ราว 647,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 25.9% จากปีที่ผ่านมา

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2565 ปริมาณในปี 2565 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564
 ปริมาณการส่งออก 371,000 คัน     + 27.2%
 ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 647,000 คัน + 25.9%

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2564

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 91,010 คัน ลดลง 12.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,150 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,801 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 11,556 คัน เพิ่มขึ้น 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%

2.)  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 31,917 คัน ลดลง 16.3%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 8,763 คัน เพิ่มขึ้น 4.6% ส่วนแบ่งตลาด 27.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,347 คัน ลดลง 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 2,776 คัน ลดลง 14.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 59,093 คัน ลดลง 10.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,803 คัน ลดลง 18.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,801 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,117 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 42,785 คัน ลดลง 16.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,908 คัน ลดลง 21.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,733 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,117 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 6,280 คัน

โตโยต้า 2,459 คัน – อีซูซุ 1,990 คัน – มิตซูบิชิ 872 คัน – ฟอร์ด 707 คัน – นิสสัน 252 คัน

 5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,505 คัน ลดลง 17%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,918 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,274 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,410 คัน ลดลง 8.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2564

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 759,119 คัน ลดลง 4.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
239,723 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 184,160 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
88,692 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 251,800 คัน ลดลง 8.4%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 76,886 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
62,403 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 มาสด้า 19,800 คัน ลดลง 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 507,319 คัน ลดลง 1.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 184,160 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
177,320 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 32,329 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 393,476 คัน ลดลง 3.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
167,180 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
151,501 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 32,329 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 52,024 คัน

โตโยต้า 22,862 คัน – อีซูซุ 16,439 คัน – มิตซูบิชิ 6,619  คัน – ฟอร์ด 5,025 คัน –  นิสสัน 1,079 คัน 

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 341,452 คัน ลดลง 6.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
150,741 คัน ลดลง 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
128,639 คัน ลดลง 1.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 27,304 คัน เพิ่มขึ้น 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

Related Articles

Back to top button