5-Problems-GM-Withdraw-Sales-Chevrolet-In-Thailand

เชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงได้ทราบข่าวกันไปแล้วนะครับ เกี่ยวกับ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ประกาศยุติการจำหน่ายรถยนต์ Chevrolet (เชฟโรเลต) ในไทย ภายในสิ้นปี 2563 หลังจากที่ประกาศการยุติการทำตลาดรถ Holden (โฮลเด้น) ที่มีอายุมากกว่า 164 ปี ในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พร้อมขายโรงงานที่ จ.ระยอง ให้ Great Wall Motors (เกรท วอล มอเตอร์ส) จากจีน ซื้อศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ไป

แต่ทาง GM ยืนยันจะยังคงมีบริการหลังการขายและดูแลลูกค้าต่อไป อาทิ การรับประกันคุณภาพรถยนต์ การซ่อมบำรุง และการบริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายของศูนย์บริการ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตทั่วประเทศ

“GM ทราบดีถึงผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานและคู่ค้าของเราจากการตัดสินใจครั้งนี้ เราให้คำมั่นที่จะปฏิบัติต่อพนักงาน คู่ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราด้วยความเคารพ ตลอดระยะเวลาการปรับเปลี่ยนนี้” แอนดี้ ดันสแตน ประธานกรรมการตลาดเชิงกลยุทธ์ พันธมิตรและผู้แทนจำหน่าย จีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่นส์ กล่าว

“GM ได้ประเมินทางเลือกหลายทาง ในการรักษาเชฟโรเลตไว้ในตลาดประเทศไทย แต่ความเป็นจริงก็คือ หากไม่มีฐานการผลิตในประเทศไทยแล้ว ก็ไม่อาจที่จะแข่งขันในตลาดรถยนต์ประเทศไทยได้เลย” นายแอนดี้ กล่าว

GM-Chevrolet-Rayong-Plant

นายเฮกตอร์ บีจาเรียล ประธานกรรมการ จีเอ็ม ASEAN กล่าวว่า บริษัทสัญญาที่จะดูแลช่วยเหลือพนักงานและลูกค้า และจะปรับเปลี่ยนการดำเนินงานต่างๆ สำหรับลูกค้า พนักงาน ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เชฟโรเลต และผู้จัดหาวัตถุดิบหรือบริการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน

“เราจะให้ความช่วยเหลือ และมอบแพ็คเกจเงินชดเชยให้กับพนักงานที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ในจำนวนที่มากกว่ากฎหมายแรงงานไทยกำหนด”

“เราให้คำมั่นสัญญาว่าจะดูแลและให้บริการลูกค้าของเราต่อไป ท่านเจ้าของรถยนต์เชฟโรเลตมั่นใจได้ว่า เราจะยังคงปฏิบัติตามการรับประกันคุณภาพรถยนต์ทุกคัน และให้บริการหลังการขายผ่านเครือข่ายของเราในประเทศไทย เชฟโรเลตจะร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายของเราอย่างใกล้ชิด โดยเราจะเสนอโอกาสในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้แก่ผู้จัดจำหน่าย ให้เปลี่ยนเป็นศูนย์บริการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลต” นายเฮกตอร์ กล่าว

นับตั้งแต่ “GM” (จีเอ็ม) ยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ที่ก้าวเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 กับการขาย Chevrolet Zafira (เชพโรเลต ซาฟิร่า) เป็นประเดิม ซึ่งตลาดไทยเป็นที่ใครหลายๆ คน เรียกว่า “ปราบเซียน” เพราะยักษ์ใหญ่อย่าง GM ก็ยังเคยม้วนเสื่อกลับประเทศไปตั้งแต่ช่วงปลายยุค 70 ที่ผ่านมา ตั้งแต่การทำแบรนด์ Chevrolet หรือ Opel ก็ตาม

ก่อนจะกลับมาใหม่อีกครั้ง ในยุค 2000 โดยเข้ามาแทนที่รถแบรนด์เยอรมนีอย่าง Opel ที่เคยทำการตลาดโดยบริษัท พระนครยนตรการ ก่อนจะลอยแพเลิกขายไป

MR.CARRO จะมาสรุปสาเหตุให้อ่านกันว่า เพราะอะไร ถึงทำให้ GM ถึงต้องเลิกขายรถ Chevrolet ในไทย ใน 5 ปัญหาหลักๆ..

Chevrolet-Cruze

1. รถมีปัญหา

หากเราย้อนกลับไปดูข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้น Chevrolet Cruze (เชฟโรเลต ครูซ) เป็นที่กล่าวขวัญอย่างมากถึงปัญหาของรถยนต์ที่ผู้บริโภคได้พบเจอ เริ่มกันตั้งแต่ เกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงกระตุก เกียร์ไม่ Kick-Down เกียร์กระตุกในช่วงเครื่องเย็น และในสภาวะรถติดเคลื่อนตัวช้า เบรก RF ค้าง กล่อง ECU พัง มอเตอร์ไดชาร์จมีปัญหา ส่งผลถึงแบตเตอรี่รถยนต์ หรือมีอาการไฟโชว์แบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น จนเป็นเรื่องต้องขึ้นศาลกันหลายยก จนทาง Chevrolet ต้องผลิต Cruze ขายกันมาแบบลดรุ่นย่อยลงมาเรื่อยๆ ยาวนานอยู่หลายปีก่อนที่จะเลิกผลิตไป

และในส่วนของ Chevrolet Sonic ในรุ่นเครื่องยนต์ขนาด 1.4 ลิตร และ 1.6 ลิตร ก็มีปัญหาตามมาไม่แพ้กัน อาทิเช่น เรื่องปั๊มน้ำ ปั๊มติ๊ก เรื่อง พบโค้ด 84 (คือ สัญลักษณ์ที่บ่งชี้การสั่งงานของสมองกล เกิดขึ้นเมื่อเครื่องยนต์ปรับเข้าสู่ภาวะเพื่อความปลอดภัย (Safe Mode) และทำการลดกำลังของเครื่องลง โดยส่วนใหญ่มีผลทำให้ไฟเตือนระบบ ABS ขึ้น) หรือเครื่องยนต์มีเสียงดัง คอยล์จุดระเบิดเสีย เป็นต้น

แม้ว่า Sonic จะเป็นรถที่มีคุณสมบัติน่าใช้มากๆ ก็ตาม แต่ด้วยปัญหาข้างต้น Sonic จึงต้องถูกเลิกขายตามกันไปอีกหนึ่งรุ่น

เนื่องจากมีรถที่มีปัญหากันอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ Chevrolet ที่เป็นกันในหลายรุ่น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นวงกว้าง จึงทำให้ยอดขายรถของ Chevrolet ตามตกไปด้วย

Chevrolet-Colorado-High-Country

2. รุ่นรถมีให้เลือกน้อยลงเรื่อยๆ

ตลาดรถ Chevrolet ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีรถรุ่นใหม่ๆ ออกจำหน่ายอยู่หลากหลายแบบ แต่ตลาดในไทยนั้น มีแต่รถ Chevrolet ในไทย มีแต่ Modelรถที่ผลิตขายกันมาอย่างยาวนานแล้ว อาทิเช่น Chevrolet Colorado เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2554 และ Chevrolet Trailblazer ที่เปิดตัวไปเมื่อ 21 มีนาคม 2555

ตามนโยบายการ Transformation หรือการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของ GM เมื่อปี 2558 GM จะโฟกัสกับตลาดรถปิกอัพ และ SUV ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยมากถึง 50%

จึงทำให้รถทั้ง 2 รุ่น ก็ยังคงขายกันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าจะมีการปรับโฉม เล็กๆ น้อยๆ หรือเพิ่มรุ่นพิเศษกันทุกปี แต่ก็ไม่ช่วยให้ยอดขายกระเตื้องขึ้นมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับแย่ จนขายไม่ได้เลยสักคัน

ไพ่ใบสุดท้ายอย่าง Chevrolet Captiva ใหม่ ที่เปิดตัวไปเมื่อ 9 กันยายน 2562 ก็ถือว่ามาช้าเกินการณ์ อีกทั้งยังถูกรถยนต์คู่แข่ง (ที่ใช้พื้นฐานร่วมกันกับ Captiva) โหมกระหน่ำทั้งราคาและโปรโมชั่นอย่างหนัก จน Chevrolet Captiva ก็ไม่ได้ยอดขายเป็นไปตามที่คาด กลับต้องเล่นโปรโมชั่นลดราคากระหน่ำตามไปด้วย

ยอดขายรถ Chevrolet ในไทย ตั้งแต่ปี 2552 – 2562

  • ปี 2552 ยอดขาย 15,112 คัน
  • ปี 2553 ยอดขาย 20,026 คัน
  • ปี 2554 ยอดขาย 31,595 คัน
  • ปี 2555 ยอดขาย 75,457 คัน
  • ปี 2556 ยอดขาย 56,389 คัน
  • ปี 2557 ยอดขาย 25,799 คัน
  • ปี 2558 ยอดขาย 17,456 คัน
  • ปี 2559 ยอดขาย 14,931 คัน
  • ปี 2560 ยอดขาย 18,772 คัน
  • ปี 2561 ยอดขาย 20,313 คัน
  • ปี 2562 ยอดขาย 15,161 คัน

ที่มา: เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย

GM-Chevrolet-And-Barack-Obama

3. ปัญหาจากบริษัทแม่

เนื่องจากปัญหาของ GM ในสหรัฐอเมริกาที่เคยมีปัญหาล้มละลาย จนต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลล้มละลาย ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ในเวลานั้น ต้องเตรียมเงินทุนสำหรับการปรับเปลี่ยนบริษัท หลังจากที่ยอดขายของ GM ทรุดฮวบลงและราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้น โดยสหรัฐฯ วางแผนปรับเปลี่ยนเงินกู้ 5 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นหุ้นสัดส่วน 60% ในช่วงเดือนมิถุนายน 2009

ทำให้ทาง GM ต้องปรับโครงสร้างของบริษัท อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รถแบรนด์ไหนในเครือที่ขายไม่ได้ ขายไม่ดี จะต้องถูกยุบหรือเลิกไป (เช่น Saturn, Pontiac, Oldsmobile และ Hummer ที่เลิกขายไปในเวลานั้น) และการจัดจำหน่ายรถยนต์ในต่างประเทศ เช่น ในยุโรป รัสเซีย เยอรมนี หรืออังกฤษ ซึ่งถ้ายอดขายในประเทศไหนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือการผลิต ก็จะต้องถูกยุบ ขายกิจการ หรือยุติการขายไปด้วยเช่นกัน เหลือไว้แค่เพียงบริการหลังการขายเท่านั้น

แต่ถ้าหากปัญหาใหญ่อยู่ที่บริษัทแม่ใน USA การวางแผนธุรกิจต่างๆ ก็ย่อมส่งผลกระทบมายัง GM ประเทศไทย อย่างเลี่ยงไม่ได้ นับตั้งแต่ปี 2558 ก็มีนโยบายให้พนักงานลาออกโดยสมัครใจมากถึง 30% ของจำนวนพนักงานในไทยทั้งหมด พร้อมกับถอนตัวจากโครงการผลิตรถ Eco Car เฟส 2 และในปี 2562 ก็มีข่าว GM ประเทศไทย ประกาศเลิกจ้างทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราวกะทันหัน ตกงานกว่า 300 อัตรา

Chevrolet-After-Sales-Service

4. บริการหลังการขาย

นี่ก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของผู้บริโภคที่บ่นกันมามาก เรื่องบริการหลังการขาย ช่างตรวจไม่ละเอียด ซ่อมไม่เก่ง บางครั้งหาสาเหตุ แยกแยะปัญหาไม่เจอ ซ่อมไม่จบ จนผู้บริโภคหลายคนรู้สึกเหนื่อยใจ อีกทั้งศูนย์บริการ มีการเปิดปิดบ่อย ทำให้ไม่เกิดการต่อเนื่องในการให้บริการในพื้นที่นั้นๆ หรือรถรุ่นเก่าๆ ต้องรออะไหล่นาน เป็นต้น

Chevrolet-Trailblazer-Test-Drive

5. ราคารถมือสองตกมาก

ราคาขายรถมือสองย่อมมีผลต่อยอดขายรถใหม่อย่างแน่นอน แต่รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานทุกรุ่น ราคาตกก็เป็นเรื่องปกติ แต่รถหลายรุ่นที่มีปัญหาตามข้างต้นก่อนหน้า ความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานก็ย่อมน้อยลงไป ซึ่งส่งผลไปถึงราคาขายต่อที่ถูกกดลงมากกว่าปกติอีกด้วย และล่าสุด มีข่าวว่าบริษัทไฟแนนซ์ ไม่รับจัดไฟแนนซ์ให้กับรถ Chevrolet ออกมาบ้างแล้ว

ถ้าคุณใช้รถ Chevrolet แล้วรู้สึกอยากขายรถ เพื่อไปซื้อรถยี่ห้อใหม่ เอารถมาขายกับทาง CARRO สิ ลงประกาศขายรถฟรี เรารับซื้อรถมือสอง โดยได้ราคาที่คุณพอใจ พร้อมปิดการขายภายใน 24 ชั่วโมง! กับ CARRO Express แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือจะ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ส่วนในประเทศไทยเอง ถ้าใครติดตามวงการยานยนต์อยู่เสมอๆ จะเห็นได้ว่า ทาง เชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทย นอกจากมีนายฝรั่งจะกุมหัวเรือใหญ่แล้ว ก็ยังมีบุคลากรที่เป็นคนไทยฝีมือดี จากหลากหลายวงการธุรกิจ เข้ามาดำรงตำแหน่งในฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ช่วยสร้างความสำเร็จให้กับแบรนด์ Chevrolet เป็นที่รู้จักของคนไทยอยู่ด้วยกันหลายคน อาทิ ชาติชาย สุวรรณเสวก, สมภพ ปฏิภานธาดา, ยอดชาย ซื่อวัฒนากุล, ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา, ศศินันท์ ออลแมนด์, ณฐพร จิรมหาโภคา, จีรณัฐ แสงดี, อุณา ตัน หรือปิยะนุช จตุรภัทร์ เป็นต้น

Chevrolet-Colorado-Z71

รถยนต์ที่เคยจำหน่ายโดย Chevrolet ประเทศไทย มีกี่รุ่น? นับตั้งแต่ปี 2543 – 2563