ตำรวจ มีสิทธิ์ “ยึด” ใบขับขี่ได้หรือไม่?
เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมานานแล้ว สำหรับ “ใบขับขี่” หรือ “ใบอนุญาตขับรถ” ที่ต้องเป็นของคู่กายนักขี่ หรือนักบิดกันทุกคน หากเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ ต้องการขอตรวจใบขับขี่ เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ อะไรก็แล้วแต่ คุณต้องแสดงให้ตำรวจดู …
แต่หลายท่านอาจทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ย. 2562 มีบางมาตราที่บัญญัติ ให้ยกเลิกความในมาตราเดิม และบัญญัติใหม่ โดยมีสาระสำคัญในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร นั่นหมายถึง ตำรวจยังสามารถ “ยึด” และ “ไม่ยึด” ใบขับขี่ของคุณได้อยู่
แต่เงื่อนไขว่า ตำรวจสามารถยึดได้ เพราะอะไร และยึดใบขับขี่ไม่ได้ เพราะเหตุใดนั้น มาอ่านคำตอบกัน …
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140
มาตรา 140
เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานจราจร ไม่ว่าพบด้วยตนเอง หรือโดยการใช้เครื่องอุปกรณ์ หรือโดยวิธีการอื่นใดว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ที่เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้
ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ด้วยโดยอนุโลม
เกณฑ์การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด
มาตรา 140/2
ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้ใด ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไป อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ ยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ดังกล่าว หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ และให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมให้ผู้ขับขี่ขับรถได้ เมื่อผู้ขับขี่น้ันอยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถ ในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด
มาตรา 150
“ผู้ใด
(1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
(4) ขัดคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
(5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 140/2 หรือมาตรา 140/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ในการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ มาตรา 31/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว
ดังนั้นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ส่วนใบขับขี่ เป็น “ทรัพย์สิน” ที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้โดยไม่มีสิทธิ ย่อมมีความผิดในฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไป ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
ตามกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
สรุป
ตำรวจ ยังสามารถใช้อำนาจในการขอเรียกดูใบขับขี่ได้ ตามมาตรา 140 และมาตรา 140/2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ
1) ตักเตือน
2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา
ส่วนใบขับขี่ เป็นดุลยพินิจของตำรวจ ซึ่งอาจจะเรียกเก็บ ในกรณีที่คุณไม่พร้อมสำหรับการชับรถ (แต่ต้องออกใบสั่งก่อนยึดด้วย)
ตำรวจ จะบันทึกข้อมูลความผิดเขียนลงใบสั่ง แล้วส่งต้นขั้วไปสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อทำการตัดแต้มผู้ขับรถ โดยใบขับขี่จะมีทั้งหมด 12 แต้ม ถ้าถูกตัดครบ 12 แต้ม จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน ผู้ขับขี่ต้องไปอบรมการขับขี่ และสอบอีกครั้ง ที่กรมการขนส่งทางบก
ถ้าผ่านจะได้รับ 12 แต้มคืน ภายใน 3 ปี แต่ถ้าผู้ขับขี่ถูกพักใช้ใบขับขี่ถึงครั้งที่ 3 จะทำให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ 1 ปี ระหว่าง 1 ปีนี้ ถ้าทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบขับขี่ทันที และถ้าหากผู้ขับขี่ไปทำใบขับขี่ใหม่ ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย
ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425
หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —>
ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก