Driving-License-Extended-Expire

เป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงนี้โควิด-19 กำลังกลับมาระลอกใหม่ ส่งผลให้การทำธุรกรรมที่ต้องมีคนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ต้องถูกปิดให้บริการ หรือปรับการบริการแบบใหม่ อย่างกรมการขนส่งทางบกเองก็ได้ประกาศงดให้บริการทำใบขับขี่ ต่อใบขับขี่ ในสำนักงานขนส่งทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา

กรมการขนส่งทางบก จึงทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือผ่อนผันการบังคับใช้กฎระเบียบข้อบังคับกับผู้ใบขับขี่รถหมดอายุ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่เป็นการชั่วคราว เพื่อให้สามารถใช้ใบขับขี่เดิมที่หมดอายุได้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

Police-Can-Seize-Driver-License

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบก ได้ประกาศงดให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถในกรณีที่ต้องเข้ารับการอบรม และทดสอบภายในสำนักงานขนส่งทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1.งดการอบรมและทดสอบการขอรับใบอนุญาตขับรถ, บัตรประจำตัวคนขับรถ และใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถใหม่ทุกชนิด

2.งดการอบรมและทดสอบเพื่อต่ออายุใบอนุญาตขับรถ, บัตรประจำตัวคนขับรถ และใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถทุกชนิด โดยผู้สนใจยังคงสามารถเข้ารับอบรมออนไลน์ผ่าน DLT e-Learning หรือใช้ผลการอบรมจากโรงสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกได้

3.งดออกหน่วยให้บริการเคลื่อนที่ด้านทะเบียนและภาษีรถ และใบอนุญาตขับรถ ที่ห้างสรรพสินค้าและแหล่งชุมชน (Drive Thru for Tax)

4.งดการดำเนินงานของโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก (เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร) ระหว่างวันที่ 2 มกราคม – 17 มกราคม 2564 ขณะที่เขตจังหวัดอื่นให้เป็นไปตามประกาศจังหวัดหรือประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกประกาศให้ประชาชนใช้บริการผ่านระบบออนไลน์แทน ขณะที่ส่วนงานอื่นที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับบริการ ณ สำนักงานขนส่ง จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยและปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่เชื้อของโรคระบาดอย่างเคร่งครัด

New-Traffic-Ticket-Fine-From-Police

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดจำนวนค่าปรับกรณีทำผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ 26 ส.ค. 2563

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยเป็นการกำหนดค่าปรับสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะประเภทต่าง ๆ รวมทั้งหมด 155 ข้อ โดยมีค่าปรับขั้นต่ำสุด 200 บาท ไปถึงสูงสุด 1,000 บาท ซึ่งต่างจากเดิมที่จะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาเปรียบเทียบปรับในแต่ละข้อหา เช่น

  • ไม่พกใบอนุญาตขับขี่ จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นข้อหาไม่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ได้ ปรับ 200 บาท
  • รถมีค่าควันดำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับ 1,000 บาท
  • ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณไฟจราจร จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับ 500 บาท
  • ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร จากเดิมปรับ 400-1,000 บาท เป็น ปรับ 500 บาท
  • ไม่ขับรถตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด จากเดิมปรับ 200-500 บาท เป็นปรับ 500 บาท
  • ไม่สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ จากเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับ 400 บาท และคนซ้อนไม่สวมหมวกกันน็อก จากเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับ 800 บาท

สำหรับใบสั่งที่ใช้ในปัจจุบันนี้ จะใช้ไปถึงสิ้นเดือนตุลาคม จากนั้น 1 พฤศจิกายน จะเป็นใบสั่งรูปแบบใหม่ที่ผู้กระทำผิดสามารถนำไปชำระค่าปรับพื้นที่ใดก็ได้

ขอขอบคุณข่าวจาก

Carro-Frank-Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

เคยสงสัยไหมว่า? ทำไมรถมอเตอร์ไซค์ทุกคันถึงต้องต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ด้วยนะ ทั้งๆ ที่เราก็ขับรถดีอยู่แล้ว จนแทบไม่ได้เคลมเลยก็เสียเงินทิ้งเปล่าๆ แถมยังเสียเวลามานั่งต่อพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ทุกปีด้วย ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่า ถ้าเกิดคุณไม่มีพรบรถมอเตอร์ไซค์จะเป็นอย่างไรบ้าง เรามีคำตอบให้แล้ว

Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

1. หากเป็นฝ่ายผิด ต้องจ่ายค่ารักษาให้คู่กรณีเอง

แน่นอนเราทำผิดเราก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง สมมติว่าถ้าคุณเกิดขับรถไปชนคู่กรณีแล้วทำให้คู่กรณีได้รับบาดเจ็บจน เราจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คู่กรณีเองทั้งหมดโดยไม่รวมกับค่าซ่อมรถ แต่หากคุณไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาให้กับคู่กรณีก็สามารถขอเบิกกับกองทุนผู้ประสบภัยได้ไม่เกิน 15,000 บาทตามจริง แล้วคุณจะต้องจ่ายเงินคืนกับกองทุนพร้อมจ่ายค่าขอเบิกเพิ่มเติมด้วย

2. เมื่อบาดเจ็บเอง ก็ต้องจ่ายเองด้วย

แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายโชคร้ายซะเองล่ะ สมมติว่าจู่ๆ วันหนึ่งเราขับรถไปชนกับต้นไม้จนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงผู้โดยสารที่อยู่ในรถด้วย ก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ตั้งแต่เริ่มการรักษาจนถึงออกจากโรงพยาบาลเลย ด้วยเหตุนี้เองผู้ขับขี่จะต้องมีพรบรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้ช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกับเรา โดยไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก เราจะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 30,000 บาทต่อคน

Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

3. ไม่ได้ความคุ้มครองกรณีพิการหรือเสียชีวิต

หากเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน ก็ย่อมมีคนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเราไม่มีพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ จะไม่ได้รับความคุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร ค่ากะโหลกศีรษะเทียม รวมถึงกรณีเสียชีวิต ทำให้เป็นภาระให้กับคนที่อยู่ข้างหลังเราได้

4. โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับได้

เพราะทางกฎหมายบังคับให้เจ้าของรถทุกคันทำพรบ หรือต่อพ.ร.บ.อยู่แล้ว อันนี้เลือกจ่ายเองไม่ได้นะครับ ต้องจ่ายตามกฎหมายเท่านั้น แต่ถ้าคุณฝ่าฝืนไม่มีพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์จะต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท เอาเป็นว่าถ้าไม่อยากเสียค่าปรับฟรีๆ ก็อย่าลืมต่อพรบล่วงหน้ากันด้วยนะ สำหรับใครที่กลัวว่าจะลืมต่อพ.ร.บ. เราสามารถต่อต่อพ.ร.บ.ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือประมาณ 90 วันก่อนพ.ร.บ.จะหมดอายุ

Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

5. ถ้าไม่มีพ.ร.บ. ก็ต่อภาษีรถไม่ได้

ทุกครั้งก่อนที่เราจะต่อภาษีรถ (ป้ายวงกลม) จะต้องต่ออายุพ.ร.บ.ก่อน ก็คือหากเกิดคุณไม่มีพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถได้ แล้วถ้าไม่ได้ต่อภาษีประจำปีก็จะต้องเสียค่าปรับอีกไม่เกิน 1,000 บาท พร้อมเตรียมเสียค่าปรับในการชำระภาษีภายหลัง 1% ต่อเดือนด้วย ไม่เพียงแค่นั้นยังส่งผลให้ป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ถูกระงับการใช้งาน แถมยังเสียเวลาอีกด้วย

เอาเป็นว่า เพื่อนๆ อย่าลืมเช็กอายุพ.ร.บ.กันด้วยนะ หากใกล้จะหมดอายุแล้วก็ต้องรีบนำไปต่อ เพราะทางพ.ร.บ.จะเข้ามาช่วยคุ้มครองแก่ชีวิตและค่ารักษาพยาบาลให้ ถึงแม้เราจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกก็จะได้รับความชดเชยเบื้องต้นทันที นอกจากนี้เราสามารถซื้อประกันรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองแก่ตัวรถและทรัพย์สินได้ด้วย เผื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันกับรถของเรา เช่น รถชน รถสูญหาย รถไฟไหม้ ประกันรถมอเตอร์ไซค์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

Carro-Rabbit-Finance-Ways-To-Help-Car-Accident

ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้ขับขี่อย่างปลอดภัย แต่เราก็ยังพบเห็นข่าวการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์กันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน หลายๆ คน ต่างพากันขับรถเดินทางกลับบ้าน ปริมาณรถยนต์หนาแน่นมากกว่าปกติ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็เพิ่มขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น การขับขี่รถยนต์นั้นถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ผู้ใช้รถยนต์จึงต้องระมัดระวังและมีสติอยู่ตลอดเวลา

Ways-To-Help-Car-Accident

จะทำอย่างไรดี เมื่อเจอรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ

หากระหว่างทางคุณพบเจอรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุและดูเหมือนว่ากำลังต้องการความช่วยเหลือ ถ้าต้องการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนร่วมทาง rabbit finance ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อความปลอดภัยของทั้งสองฝ่าย

1. เปิดไฟฉุกเฉิน

ขั้นตอนแรกคือให้รถยนต์คันที่ประสบอุบัติเหตุเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเอาไว้ หากิ่งไม้หรือกรวยจราจรมาวางกั้น หรือทำสัญลักษณ์อื่นๆ เพื่อเป็นสัญญาณให้รถยนต์ที่สัญจรผ่านไปมาบนเส้นทางนั้นจะได้ทราบว่าบริเวณนี้มีรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ

2. สังเกตสภาพแวดล้อมโดยรอบ

สังเกตสภาพแวดล้อมโดยรอบของบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพการจราจร เมื่อเห็นว่าทุกอย่างปกติดี จึงค่อยเข้าไปสอบถามและช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ เช็กจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ อาการบาดเจ็บของแต่ละคน พร้อมทั้งแจ้งตำรวจและเจ้าหน้าที่กู้ภัยเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือได้ รวมทั้งสอบถามผู้ที่มีสติอยู่ เพื่อให้ติดต่อประกันรถยนต์เข้ามาช่วยดูแลเรื่องค่าเสียหายต่างๆ

Ways-To-Help-Car-Accident

3. ช่วยเหลือในเบื้องต้น

ระหว่างรอตำรวจและทีมกู้ภัยที่กำลังเดินทางมา ลองประเมินอาการของผู้ประสบอุบัติเหตุว่ามีอาการบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด เพื่อช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี โดยจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่หมดสติ โดยเฉพาะผู้ที่หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น หรือผู้ที่เสียเลือดมาก โดยต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขณะช่วยเหลือ

4. เบอร์โทรศัพท์สายด่วนให้ความช่วยเหลือ

เมื่อรถยนต์ของคุณประสบอุบัติเหตุหรือพบเพื่อนร่วมทางกำลังประสบอุบัติเหตุ สามารถติดต่อเบอร์โทรฉุกเฉินดังต่อไปนี้เพื่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ค่ะ

  • ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 24 ชม. 02 – 751 – 0951 – 3
  • ศูนย์นเรนทร 1669
  • ศูนย์วิทยุปอเต๊กตึ๊ง 24 ชม. 02 – 226 – 4444 – 8
  • สถานีวิทยุ จส.100 *1808 (ฟรี) หรือ 1137 (มีค่าบริการ)
  • ศูนย์วิทยุรามา 02 – 354 – 6999
  • สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน 1677
  • สถานีวิทยุ สวพ.91 1644
  • สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว 1155
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
  • แจ้งเหตุด่วน – เหตุร้ายทุกชนิด 191

อุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและไม่มีนักขับคนไหนอยากให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของคุณและเพื่อนร่วมทาง อย่าลืมตรวจเช็กสภาพรถยนต์ เช็คประกันรถยนต์ และขับขี่อย่างไม่ประมาท เพื่อให้ทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพ

Police-Can-Seize-Driver-License

เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมานานแล้ว สำหรับ “ใบขับขี่” หรือ “ใบอนุญาตขับรถ” ที่ต้องเป็นของคู่กายนักขี่ หรือนักบิดกันทุกคน หากเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ ต้องการขอตรวจใบขับขี่ เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ อะไรก็แล้วแต่ คุณต้องแสดงให้ตำรวจดู …

แต่หลายท่านอาจทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ย. 2562 มีบางมาตราที่บัญญัติ ให้ยกเลิกความในมาตราเดิม และบัญญัติใหม่ โดยมีสาระสำคัญในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร นั่นหมายถึง ตำรวจยังสามารถ “ยึด” และ “ไม่ยึด” ใบขับขี่ของคุณได้อยู่

แต่เงื่อนไขว่า ตำรวจสามารถยึดได้ เพราะอะไร และยึดใบขับขี่ไม่ได้ เพราะเหตุใดนั้น มาอ่านคำตอบกัน …

Police-Can-Seize-Driver-License

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140

มาตรา 140

เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานจราจร ไม่ว่าพบด้วยตนเอง หรือโดยการใช้เครื่องอุปกรณ์ หรือโดยวิธีการอื่นใดว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ที่เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด

ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ด้วยโดยอนุโลม

เกณฑ์การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

Police-Can-Seize-Driver-License

มาตรา 140/2

ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้ใด ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไป อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ ยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ดังกล่าว หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ และให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมให้ผู้ขับขี่ขับรถได้ เมื่อผู้ขับขี่น้ันอยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถ ในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด

มาตรา 150

“ผู้ใด
(1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
(4) ขัดคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
(5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 140/2 หรือมาตรา 140/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ในการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ มาตรา 31/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว

ดังนั้นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

Police-Can-Seize-Driver-License

ส่วนใบขับขี่ เป็น “ทรัพย์สิน” ที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้โดยไม่มีสิทธิ ย่อมมีความผิดในฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไป ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

ตามกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

Police-Can-Seize-Driver-License

สรุป

ตำรวจ ยังสามารถใช้อำนาจในการขอเรียกดูใบขับขี่ได้ ตามมาตรา 140 และมาตรา 140/2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ

1) ตักเตือน

2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา

ส่วนใบขับขี่ เป็นดุลยพินิจของตำรวจ ซึ่งอาจจะเรียกเก็บ ในกรณีที่คุณไม่พร้อมสำหรับการชับรถ (แต่ต้องออกใบสั่งก่อนยึดด้วย)

ตำรวจ จะบันทึกข้อมูลความผิดเขียนลงใบสั่ง แล้วส่งต้นขั้วไปสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อทำการตัดแต้มผู้ขับรถ โดยใบขับขี่จะมีทั้งหมด 12 แต้ม ถ้าถูกตัดครบ 12 แต้ม จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน ผู้ขับขี่ต้องไปอบรมการขับขี่ และสอบอีกครั้ง ที่กรมการขนส่งทางบก

ถ้าผ่านจะได้รับ 12 แต้มคืน ภายใน 3 ปี แต่ถ้าผู้ขับขี่ถูกพักใช้ใบขับขี่ถึงครั้งที่ 3 จะทำให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ 1 ปี ระหว่าง 1 ปีนี้ ถ้าทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบขับขี่ทันที และถ้าหากผู้ขับขี่ไปทำใบขับขี่ใหม่ ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก

Dangerous-Road-At-Songkran-2018

47 เส้นทางสุดอันตรายทั่วประเทศ ที่ต้องขับรถด้วยความระวัง ในช่วงสงกรานต์ 2561

กรมทางหลวง เตรียมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงสงกรานต์ 2561 ด้วยนโยบาย One Transport โดยตั้งเป้าลดจำนวนอุบัติเหตุใน 77 เส้นทางที่ถูกคัดเลือกมา โดยเป็นของกรมทางหลวง 47 เส้นทาง, ทางหลวงชนบท 30 เส้นทาง โดยคัดเลือกจากพื้นที่นำร่อง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (MLIT) แห่งประเทศญี่ปุ่น จำนวน 8 เส้นทาง เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2560 จำนวน 24 สายทาง เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในรอบปี 2560 จำนวน 5 เส้นทาง เส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนนิยมท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จำนวน 10 เส้นทาง

Highway

โดยเส้นทางดังกล่าวที่ถูกเลือก จะมีการเพิ่มความปลอดภัย เช่น ตั้งเต๊นท์อำนวยการในพื้นที่, เสริมป้าย Vinyl เตือนและรณรงค์เป็นระยะ, ติดตั้งป้ายเตือนถนนลื่นทุก 200 เมตร, ตั้งจุดเฝ้าระวังและตรวจความเร็วและคนเมาสุรา, ติดตั้งไฟกระพริบให้ลดความเร็ว เป็นต้น

Highway

เส้นทางอันตราย 47 เส้นทาง โดยกรมทางหลวง ประกอบด้วย

ลำดับที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนโนนปอแดง – ปากดง ระหว่าง กม. 386–394 จ.กำแพงเพชร

ลำดับที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนวังม่วง – แม่เชียงรายบน ระหว่าง กม. 535–540 จ.ตาก

ลำดับที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนหนองหมู – ห้วยยาง ระหว่าง กม. 276+813-295 จ.ประจวบคีรีขันธ์

ลำดับที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนน้ำรอด-พ่อตาหินช้าง ระหว่าง กม. 425-440 จ.ชุมพร

ลำดับที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนเขาพับผ้า – พัทลุง ระหว่าง กม. 1158+1163 จ.พัทลุง

ลำดับที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนกลางสะพานมิตรภาพแม่สอด – แม่ละเมา ระหว่าง กม. 1-6 จ.ตาก

ลำดับที่ 7 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนสูงเนิน – ท่าแร่ ระหว่าง กม. 161-167 จ.สกลนคร

ลำดับที่ 8 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนกุรุคุ – นครพนม ระหว่าง กม. 235-240 จ.นครพนม

ลำดับที่ 9 ทางหลวงหมายเลข 33 ตอนบางปะหัน – โคกแดง ระหว่าง กม. 49-62 จ.อยุธยา

ลำดับที่ 10 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนถ้ำพรรณรา – ทุ่งสง ระหว่าง กม. 264-271 จ.นครศรีธรรมราช

ลำดับที่ 11 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนสี่แยกโพธิ์ทอง – พัทลุง ระหว่าง กม. 377-382+616 จ.พัทลุง

ลำดับที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 43 ตอนนาหม่อม – จะนะ ระหว่าง กม. 270-320 จ.สงขลา

ลำดับที่ 13 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนร้องกวาง – สวนป่า ระหว่าง กม. 283-290 จ.แพร่

ลำดับที่ 14 ทางหลวงหมายเลข 118 ตอนท่าก๊อ – ดงมะดะ ระหว่าง กม. 132+139 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 15 ทางหลวงหมายเลข 205 ตอนโคกสวาย – ขท.นครราชสีมาที่ 1 ระหว่าง กม. 204+209 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 16 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนย้อมพัฒนา – นาโพธิ์ ระหว่าง กม. 406-411 จ.มุกดาหาร

ลำดับที่ 17 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองยอ – อุบลราชธานี ระหว่าง กม. 568-574 จ.อุบลราชธานี

ลำดับที่ 18 ทางหลวงหมายเลข 224 ตอนพะโค – หนองสนวน ระหว่าง กม. 90-95 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 19 ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนหัวทะเล – หนองกระทิง ระหว่าง กม. 15+20 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 20 ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนดอนขวาง – โพธิ์กลาง ระหว่าง กม. 272-278 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 21 ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก – เมืองภูเก็ต ระหว่าง กม. 30-35 จ.ภูเก็ต

ลำดับที่ 22 ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอนป่าแดง – หาดชะอม ระหว่าง กม. 5-14 จ.นครสวรรค์

ลำดับที่ 23 ทางหลวงหมายเลข 2044 ตอนร้อยเอ็ด – หนองดง ระหว่าง กม. 0+184-5 จ.ร้อยเอ็ด

ลำดับที่ 24 ทางหลวงหมายเลข 3395 ตอนวัฒนานคร – โคคลาน ระหว่าง กม. 82-87 จ.สระแก้ว

ลำดับที่ 25 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนสระบุรี – ตาลเดี่ยว ระหว่าง กม. 0-5 จ.สระบุรี

ลำดับที่ 26 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนปากท่อ – สระพัง ระหว่าง กม. 123-133 จ.สมุทรสงคราม

ลำดับที่ 27 ทางหลวงหมายเลข 35 ตอนสะพานขึ้นแม่น้ำท่าจีน-ยาโคก ระหว่าง กม. 4-5 จ.สมุทรสาคร

ลำดับที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนเกาะมุกข์ – ควนรา ระหว่าง กม. 118-132 จ.สุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 29 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนแยกบ้านฝ้าย – ร้องกวาง ระหว่าง กม. 252–257 จ.แพร่

ลำดับที่ 30 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนพาน – สันทรายหลวง ระหว่าง กม. 916-922 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 31 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนแม่คำ – กลางสะพานแม่น้ำสาย ระหว่าง กม. 972-976 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 32 ทางหลวงหมายเลข 3 ตอนชลบุรี – ศรีราชา ระหว่าง กม. 98-103 จ.ชลบุรี

ลำดับที่ 33 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนคลองหวะ – พังลา ระหว่าง กม. 1258+642-1263 จ.สงขลา

ลำดับที่ 34 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนเข็กน้อย – แยกอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ระหว่าง กม.340–348 จ.เพชรบูรณ์

ลำดับที่ 35 ทางหลวงหมายเลข 217 ตอนวารินทร์ชำราบ – พิบูลมังสาหาร ระหว่าง กม. 22-37 จ.อุบลราชธานี

ลำดับที่ 36 ทางหลวงหมายเลข 323 ตอนแยกปากกิเลน – น้ำตกไทรโยคใหญ่ ระหว่าง กม. 110–115 จ.กาญจนบุรี

ลำดับที่ 37 ทางหลวงหมายเลข 401 ตอนบางกุ้ง – เขาหัวช้าง ระหว่าง กม. 175–180 จ.สุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 38 ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม. 0+5 จ.เชียงใหม่

ลำดับที่ 39 ทางหลวงหมายเลข 4030 ตอนถลาง – หาดราไวย์ ระหว่าง กม. 26-28+290 และ 29+790-32 จ.ภูเก็ต

สำดับที่ 40 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนขอนแก่น – หินลาด ระหว่าง กม. 343-354 จ.ขอนแก่น

ลำดับที่ 41 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน สระพระ –ห้วยทรายใต้ ระหว่าง กม. 187-193 จ.เพชรบุรี

ลำดับที่ 42 ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนบึงหลัก-หนองเขียว ระหว่าง กม. 346-351 จ.อุตรดิตถ์

ลำดับที่ 43 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนน้ำดุก – ห้วยซ้ำมะคาว ระหว่าง กม. 372-375 จ.เพชรบูรณ์

ลำดับที่ 44 ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนไชโย – สิงห์ใต้ ระหว่าง กม. 78-83+900 จ.อ่างทอง

ลำดับที่ 45 ทางหลวงหมายเลข 340 ตอนสาลี – สุพรรณบุรี ระหว่าง กม. 55-60 จ.สุพรรณบุรี

ลำดับที่ 46 ทางหลวงหมายเลข 3312 ตอนลำลูกกา – คลองใน ระหว่าง กม. 19-21 จ.นครนายก

ลำดับที่ 47 ทางหลวงหมายเลข 4029 ตอนกระทู้ – ป่าตอง ระหว่าง กม 0.-3+236 จ.ภูเก็ต

โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเส้นทางดังกล่าว มีหลายสาเหตุ อาทิ การขับรถเร็ว, หลับใน, เมาสุรา, ตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด, ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร เป็นต้น

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ขบ. ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตรียมเข้ามากำกับดูแลรถป้ายแดง โดยจะดำเนินการตรวจจับปรับรถส่วนบุคคลที่ใช้ป้ายแดงในการขับขี่ ในส่วนของรถส่วนบุคคลที่ซื้อตั้งแต่ 1 ต.ค. 2560 – 31 ธ.ค. 2560 หากซื้อรถใหม่ป้ายแดงจะต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกภายใน 60 วันนับแต่รับรถ และหากซื้อรถตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป จะต้องจดทะเบียนกับ ขบ. ภายใน 30 วันนับแต่รับรถ

หากไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดในช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องถูกตำรวจตรวจจับและปรับทันที โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท ดังนั้นช่วงตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปถึง 30 ก.ค. 2560 ขบ. จะเร่งประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้รับทราบข้อมูลดังกล่าว และเข้าใจกฎระเบียบ กฎหมาย ที่ขบ.จะประกาศออกไปเพื่อให้เข้าใจตรงกันและจะได้ไม่ต้องประสบกับปัญหาระหว่างเจ้าหน้าที่ ขณะตรวจจับ

นายสนิทกล่าวอีกว่า การดำเนินการ ดังกล่าวขณะนี้ทาง ขบ. อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายรถป้ายแดง และขณะนี้ผ่าน ขั้นตอนของกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้วรอเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. ให้พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ขบ. มั่นใจว่าการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวนั้นเป็น การรักษาสิทธิของประชาชนที่เป็นเจ้าของ รถที่ซื้อรถใหม่จากศูนย์ตัวแทนจำหน่ายรถ มีการดำเนินการให้จดทะเบียนรถถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อให้ป้ายแดงที่ ขบ. ออกไปอย่างถูกกฎหมายกว่า 100,000 ป้ายทั่วประเทศ หมุนเวียนในระบบ รวมถึงป้องกันปราบปรามรถผิดกฎหมายที่วิ่งบนท้องถนนด้วย ประกอบกับการเข้ามาจดทะเบียนรถถูกต้องตามกำหนดเวลาก็จะทำให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น

ขอขอบคุณภาพจาก jacky2008

ทางกรมการขนส่งทาทงบกระบุอีกว่า สำหรับการเปลี่ยนป้ายทะเบียนรถส่วนบุคคลจากป้ายแดง เป็นป้ายดำ หากเป็นขั้นตอนของ ขบ. ใช้เวลาเพียงวันเดียวก็แล้วเสร็จ ที่ผ่านมามีรถป้ายแดงจำนวนมากที่ไม่เปลี่ยนป้าย หรือเปลี่ยนป้ายช้า ส่วนหนึ่งมาจากขั้นตอนเอกสารของบริษัทรถยนต์ และ ดีลเลอร์ขายรถ ซึ่งหากถึงกำหนดเวลาตามเงื่อนไข ทางดีลเลอร์ต้องเร่งเวลาเรื่องเอกสารให้ได้ตามกำหนดของ ขบ.

สำหรับรถยนต์ ป้ายแดงที่ซื้อในช่วงก่อนหน้านี้ หรือก่อนวันที่ 1 ต.ค. แล้วยังไม่เปลี่ยนป้ายทะเบียน หากถึงกำหนดวันที่ 1 ต.ค.ที่เริ่มกวดขัน เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจคู่มือรถแล้วพบว่ารับรถมาเกิน 2 เดือนแล้วยังไม่เปลี่ยนป้ายทะเบียนจะถูกจับปรับเช่นกัน โดยช่วงแรกจะเน้นการประชาสัมพันธ์ หรือปรับอัตราต่ำสุดคือ 1,000 บาท

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก ข่าวสด