Car-Pawn-For-Sale

รถหลุดจำนำ ราคาถู้กถูก แต่ขับแล้ว ไม่รู้จะโดนตำรวจจับเมื่อไหร่!!!

Car-Pawn-For-Sale

“รถหลุดจำนำ” ที่หลายต่อหลายคน เห็นมีการประกาศลงขายในกลุ่ม Facebook มากมายนั้น ราคามันช่างเย้ายวนใจเหลือเกิน! กับรถที่สภาพยังดูใหม่ บางคันมีเอกสารด้วย แต่ประกาศขาย ในราคาที่ถูกอย่างเหลือเชื่อ!!!

ใช่ครับ แต่ … เพราะถ้ารถโอนได้ปกติ ราคาขายคงไม่ใช่แบบนี้แน่ๆ ขนาดรถย้อมแมว หรือรถอุบัติเหตุมาทำใหม่ ยังขายไม่ได้ราคาแบบนี้เลย

เรามารู้กันดีกว่าครับว่า รถหลุดจำนำ คือรถอะไร ประเภทไหน และถูกกฎหมายหรือไม่ …

Car-Pawn-For-Sale

รถหลุดจำนำ คือ รถที่เจ้าของรถมีปัญหาด้านการเงิน จึงเอารถไปจำนำกับคนที่รับจำนำ หรือปล่อยตามบ่อน โดยทำสัญญากันเพียงแค่โอนลอย และต้องจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไถ่ถอนคืนได้ทั้งหมด เหมือนเราเอาของไปเข้าโรงรับจำนำนั่นล่ะครับ พอเจ้าของรถไม่มาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนด รถยนต์คันนั้นจะกลายเป็นรถหลุดจำนำทันที พ่อค้าที่จำนำรถไว้ก็เอารถมาขายทอดตลาดอีกที

หรือ รถหลุดจำนำชื่อบุคคล มีเอกสารหน้าเล่ม กับสัญญารับจำนำ หรือ รถที่ถูกขโมยมา

คนที่ซื้อรถหลุดจำนำมาใช้ จะเรียกได้ว่า เป็นรถที่ผิดกฎหมายก็ไม่เชิง คือสามารถซื้อได้ขายได้ แต่แทบจะร้อยทั้งร้อย ไม่สามารถโอนได้ แม้ว่าพ่อค้าจะรับจำนำรถที่มีเอกสารถูกต้อง

Car-Pawn-For-Sale

โดยหลักแล้ว รถหลุดจำนำ จะมีเอกสารดังกล่าวนี้

  • สำเนาหน้าเล่มทะเบียนรถยนต์
  • สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
  • เอกสารโอนลอยรถยนต์ (เจ้าของรถเซ็นชื่อไว้เรียบร้อย)
  • เอกสารมอบอำนาจ (เจ้าของรถเซ็นชื่อไว้เรียบร้อย)

Car-Pawn-For-Sale

เพราะรถหลุดจำนำรถส่วนใหญ่ มัก “ติดไฟแนนซ์” ยังผ่อนไม่หมด กรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถ (ในเล่มทะเบียน) ก็ยังเป็นของไฟแนนซ์อยู่ การต่อ พ.ร.บ. หรือการทำประกันภัยต่างๆ ก็คงไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะมีแค่รถ และกุญแจที่เป็นของเราเท่านั้น โดยกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถและชื่อผู้ครอบครองยังเป็นของเจ้าของคนเดิมอยู่

บางคันแจ๊คพอต ดันเป็นรถที่ถูกขโมยมา หรือนำซากรถมาสวมทะเบียน เพื่อให้ตามจับได้ยาก โดยใช้รถที่มีสี รุ่น และปีเดียวกัน มาสวมทะเบียน และมีการดัดแปลงเลขตัวถังให้ตรงกัน เอาทะเบียนรถคันอื่นมาสวม ดังที่เป็นข่าวเรื่อง “รถฝาแฝด” อยู่บ่อยๆ นั่นล่ะครับ

Car-Pawn-For-Sale

รถฝาแฝด รุ่นเดียวกัน สีเดียวกัน และทะเบียนเหมือนกัน!

คนที่ซื้อรถหลุดจำนำไป ก็ต้องรับความเสี่ยงให้ได้ครับ เพราะเหมือนเอาของที่ยังผ่อนไม่หมดไปขายต่อ ถ้าไฟแนนซ์และตำรวจตามรถจนเจอ ก็จะโดนยึดรถ ถ้ามีการฟ้องร้อง หรือมีคนแจ้งรถหายไว้ (ในกรณีที่เป็นรถถูกขโมยมา) คนที่ซื้อไป อาจจะโดนข้อหารับของโจรไปอีกกระทง

และยังเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋นที่ขายรถพวกนี้ รู้กันกับคนมีสีไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว อาจถูกตำรวจไปตามยึดรถ หลังจากซื้อมาขับเพียงไม่กี่เดือน พร้อมข่มขู่เอาเงินคุณก็ได้ หากคุณไม่ยอมก็จะถูกจับดำเนินคดี จนต้องยอมจ่ายไป

Car-Pawn-For-Sale

รถฝาแฝด ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือเรื่องจริง!

ทางที่ดี อย่าไปเล่นเลยครับรถประเภทนี้ ถึงจะราคาถูกมากๆ ก็เถอะ ได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับท่าน

ซื้อรถทั้งที เราควรจะวางแผนทางการเงินดีๆ มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้น้อย เหลือเก็บใช้หนี้ (แบบที่คุณน้าวีระ ธีรภัทร ชอบพูดในรายการวิทยุบ่อยๆ นั่นละครับ) ซื้อรถที่มีเอกสาร มีเล่มทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นรถมือหนึ่ง หรือรถมือสอง ก็ตาม …

ถ้าคุณอยากซื้อ-ขายรถแบบปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องรถหลุดจำนำ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สวพ.91

Police-Can-Seize-Driver-License

เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมานานแล้ว สำหรับ “ใบขับขี่” หรือ “ใบอนุญาตขับรถ” ที่ต้องเป็นของคู่กายนักขี่ หรือนักบิดกันทุกคน หากเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ ต้องการขอตรวจใบขับขี่ เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ อะไรก็แล้วแต่ คุณต้องแสดงให้ตำรวจดู …

แต่หลายท่านอาจทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ย. 2562 มีบางมาตราที่บัญญัติ ให้ยกเลิกความในมาตราเดิม และบัญญัติใหม่ โดยมีสาระสำคัญในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร นั่นหมายถึง ตำรวจยังสามารถ “ยึด” และ “ไม่ยึด” ใบขับขี่ของคุณได้อยู่

แต่เงื่อนไขว่า ตำรวจสามารถยึดได้ เพราะอะไร และยึดใบขับขี่ไม่ได้ เพราะเหตุใดนั้น มาอ่านคำตอบกัน …

Police-Can-Seize-Driver-License

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140

มาตรา 140

เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานจราจร ไม่ว่าพบด้วยตนเอง หรือโดยการใช้เครื่องอุปกรณ์ หรือโดยวิธีการอื่นใดว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ที่เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด

ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ด้วยโดยอนุโลม

เกณฑ์การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

Police-Can-Seize-Driver-License

มาตรา 140/2

ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้ใด ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไป อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ ยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ดังกล่าว หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ และให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมให้ผู้ขับขี่ขับรถได้ เมื่อผู้ขับขี่น้ันอยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถ ในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด

มาตรา 150

“ผู้ใด
(1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
(4) ขัดคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
(5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 140/2 หรือมาตรา 140/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ในการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ มาตรา 31/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว

ดังนั้นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

Police-Can-Seize-Driver-License

ส่วนใบขับขี่ เป็น “ทรัพย์สิน” ที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้โดยไม่มีสิทธิ ย่อมมีความผิดในฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไป ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

ตามกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

Police-Can-Seize-Driver-License

สรุป

ตำรวจ ยังสามารถใช้อำนาจในการขอเรียกดูใบขับขี่ได้ ตามมาตรา 140 และมาตรา 140/2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ

1) ตักเตือน

2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา

ส่วนใบขับขี่ เป็นดุลยพินิจของตำรวจ ซึ่งอาจจะเรียกเก็บ ในกรณีที่คุณไม่พร้อมสำหรับการชับรถ (แต่ต้องออกใบสั่งก่อนยึดด้วย)

ตำรวจ จะบันทึกข้อมูลความผิดเขียนลงใบสั่ง แล้วส่งต้นขั้วไปสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อทำการตัดแต้มผู้ขับรถ โดยใบขับขี่จะมีทั้งหมด 12 แต้ม ถ้าถูกตัดครบ 12 แต้ม จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน ผู้ขับขี่ต้องไปอบรมการขับขี่ และสอบอีกครั้ง ที่กรมการขนส่งทางบก

ถ้าผ่านจะได้รับ 12 แต้มคืน ภายใน 3 ปี แต่ถ้าผู้ขับขี่ถูกพักใช้ใบขับขี่ถึงครั้งที่ 3 จะทำให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ 1 ปี ระหว่าง 1 ปีนี้ ถ้าทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบขับขี่ทันที และถ้าหากผู้ขับขี่ไปทำใบขับขี่ใหม่ ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก

เมาแล้วขับ-ติดคุก

เมาแล้วขับ เจอจับติดคุก!

ประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่เกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับติดอันดับต้นๆของโลก จึงทำให้ทางรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ และถึงแม้ว่ากฎหมายเมาแล้วขับรถจะประกาศออกมาเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเพียงใด แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ซึ่งถ้าวัดจากสถิติเมาแล้วขับจะพบว่ายังมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้บังคับกฎหมายเล็งเห็นว่าควรจะปรับกฎหมายโดยให้เพิ่มโทษ ทำให้ผู้ขับขี่ที่กำลังคิดจะเมาแล้วขับ เล็งเห็นถึงอัตราโทษที่สูงขึ้น ซึ่งอัตราบทลงโทษใหม่ กฏหมายเมาแล้วขับ แบ่งออกเป็น 4 กรณี ดังนี้

1. ความผิดฐานขับรถขณะเมาสุรา

มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยศาลจะมีอำนาจในการสั่ง พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือสามารถสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต และอาจมีการเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาล ไม่เกิน 7 วัน

2. ความผิดฐานเมาแล้วขับ ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย หรือ จิตใจ

มีโทษ จำคุก 1 – 5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท โดยศาลจะสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

3. เมาแล้วขับรถ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

มีโทษ จำคุก 2 – 6 ปี ปรับ 40,000 – 120,000 บาท ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่รถไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รบ

4. เมาแล้วขับรถยนต์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

มีโทษจำคุก 3 – 10 ปี ปรับ 60,000 – 200,000 บาท ศาลสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที

อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีการปรับแก้กฎหมายเมาแล้วขับ แต่ถ้าคนขับไม่มีสติที่จะเตือนตัวเองว่าเมาแล้วไม่ควรขับรถ อุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และยังไม่นับความเสียหายที่ตามมาอีกนับไม่ถ้วน

อีกทั้งไม่เพียงแค่ตัวเองเดือดร้อน อาจจะมีรวมถึงบุคคลอื่นที่โดนลูกหลงนี้ไปด้วย ฉะนั้น ถ้าคิดจะออกไปดื่มไม่ควรนำรถไป หรือพาคนที่บ้าน หรือเพื่อนที่ไม่ดื่มเป็นคนขับกลับแทน

ชนแล้วหนี

ปรับกฎใหม่ “ชนแล้วหนี” เพิ่มความผิดเป็น 2 คดี
ต้องโทษอาญา โดนทั้งจำทั้งปรับ

พูดถึงปัญหาที่สังคมไทยเจอมาอย่างยาวนานบนท้องถนน และยังแก้ปัญหาไม่ได้นั่นก็คือ ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ รวมถึงเขตปริมณฑลที่ทุกคนได้รับผลกระทบ แม้ทางภาครัฐหรือทางตำรวจจราจร ได้พยายามวางแผนเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และปัญหาที่มาคู่กัน กับการเป็นประเทศที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆของโลกก็คือ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า ยังคงอยู่ในลิสท์สถิติสูงสุดติดอันดับโลกเช่นกัน (ซึ่งก็ไม่ดีเท่าไหร่นัก)

ชนแล้วหนี พรบ. จราจร กฎหมาย พรบ.

วันนี้ เราจะมาพูดถึงอุบัติเหตุบนถนน (กรณียอดฮิต) ที่บางคนอาจเคยประสบพบเจอกับตัวเอง หรือเห็นในข่าวบ่อยๆ ซึ่งกรณีนี้มักก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วประเทศ เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากผู้ได้รับความเสียหายมักไม่ได้รับความเป็นธรรมที่มากพอ นั่นก็คือ กรณี “ชนแล้วหนี” จากหลายคดีดังที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะมีจุดจบอย่างไร และคำถามนานัปการที่สังคมมีต่อกฎหมาย ทำให้ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนกฏหมายในกรณี “ชนแล้วหนี” ให้มีโทษหนักมากขึ้นตาม พรบ.จราจรทางมาตรา 78 ที่บัญญัติไว้ว่า

“ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจะต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตาม”

ชนแล้วหนี, พรบ. จราจร, กฎหมาย, พรบ.

ซึ่งถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว เราปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางมาตรา 78 ก็ไม่ต้องกลัวว่าเราจะต้องโทษ เพราะต้องมาพิจารณาหาสาเหตุของอุบัติเหตุอีกที เพื่อหาฝ่ายผิด หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ที่จะมีประกันภัยรถยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในส่วนของการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าหากหลบหนีแล้วโดนจับได้ หรือเข้ามอบตัวเองในภายหลัง ก็จะมีบทลงโทษ ดังนี้

“พ.ร.บ.จราจรทางมาตรา 160 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 ​ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือเสียชีวิต​ ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

โดยบทลงโทษนี้ จะแยกจากคดีที่เกิดอุบัติเหตุอีกคดีนึง หรืออธิบายง่าย​ๆ ว่าถ้าเราชนแล้วหนี เราจะมีคดีติดตัวเพิ่มมาอีก 1 คดีฟรีๆ! ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริงๆ สิ่งที่เราควรทำคือ “อย่าหนี” เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้น ผู้ทำผิดไม่ใช่อาชญากร เราจึงควรอยู่รับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งดีกว่าการหลบหนีแน่นอน ยิ่งถ้าในอุบัติเหตุมีผู้เสียชีวิต เราก็จะต้องหลบหนีถึง 15 ปีเลยทีเดียว รวมถึงอาจจะเจอข้อหาอื่น​ๆ เพิ่มอีกด้วย แต่หากเราเลือกจะอยู่และให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ มอบตัวเพื่อสู้คดี ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจจะไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดเพราะบางคดีอาจยอมความกันได้ หรือ ศาลมีการลดโทษให้ตามความถูกต้องเหมาะสม

ชนแล้วหนี พรบ. จารจร

แต่จะดีที่สุดคือ การไม่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ “ชนแล้วหนี” ไม่ว่าในฐานะใดก็ตาม ซึ่งทุกนสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อมขับขี่ มีสติอยู่ตลอดเวลา แต่หากผู้อ่านพบเจอเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุเช่นนี้ Carro หวังว่าผู้อ่าน จะมีสติ รับมือ และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด ขับขี่ปลอดภัยค่ะ

การนำรถยนต์เข้าจอดตามสถานที่ต่างๆ เช่น อาคารชุด, สำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, โรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งในทางปฏิบัติ ทางฝ่ายอาคารสถานที่ มักมีบัตรจอดไว้ให้เสมอ และในบัตรฯ ก็มักมีข้อความที่สะดุดตาว่า “บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบในความเสียหาย สูญหายของทรัพย์สิน”

ข้อสงสัยที่เกิดกับเจ้าของรถยนต์ คือ หากทรัพย์สินและรถยนต์ที่จอดในอาคารสถานที่นั้นๆ เกิดสูญหายหรือเสียหาย จะสามารถเรียกร้องให้ทางฝ่ายอาคารสถานที่ ซึ่งให้บริการพื้นที่จอดรถยนต์แก่ผู้มาติดต่อธุระ รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ในเมื่อมีการปฏิเสธเป็นข้อความชัดเจนไว้แล้วในบัตร

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ คงทำให้ผู้อ่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ หากประสบเหตุการณ์ด้วยตนเอง

Car-Lost-In-Car-Park

เย็นวันหนึ่งหลังเลิกงาน วิรัชมีนัดทานอาหารมื้อค่ำกับเพื่อนที่โรงแรมแห่งหนึ่ง และนำรถยนต์เข้าจอดในสถานที่ซึ่งทางโรงแรมจัดไว้ให้ โดยพนักงานโรงแรมได้จดหมายเลขทะเบียนลงในบัตรจอดรถยนต์ของโรงแรม และได้ส่งมอบบัตรนั้นให้วิรัชเก็บไว้

ในทางปฏิบัติ โรงแรมนี้มีพนักงานตรวจหมายเลขทะเบียนรถยนต์ในบัตรจอด ให้ตรงกับรถยนต์ที่จะออกจากโรงแรม และมีป้ายติดไว้ในบริเวณที่จอด มีข้อความชัดเจนว่า “บริการจอดรถยนต์ฟรี แต่ทางโรงแรมจะไม่รับผิดในทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการที่สูญหาย” ซึ่งวิรัชเองก็เห็นข้อความนี้แล้ว ขณะนำรถยนต์เข้าจอด

หลังจากเสร็จสิ้นอาหารมื้อค่ำ เขากลับมาที่รถยนต์เพื่อกลับบ้าน ปรากฎว่ารถยนต์หาย! สอบถามจากพนักงานโรงแรมพบว่า ผู้ตรวจสอบบัตรตอนขาออกบกพร่องในหน้าที่ ไม่ตรวจบัตรของคนร้ายที่ขับรถยนต์ของวิรัชออกไปจากโรงแรม

Car-Lost-In-Car-Park

กรณีนี้ศาลได้พิจารณาคดีแล้วได้ความว่า การที่โรงแรมเพียงแต่ยอมอนุญาตให้ผู้มาใช้บริการ นำรถยนต์เข้าจอดในที่จัดไว้ โดยมีพนักงานมอบบัตรตอนขาเข้าและตรวจบัตรตอนขาออก เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้ผู้มาใช้บริการเข้าจอดรถยนต์ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการมอบการครอบครองรถยนต์ให้แก่ทางโรงแรม จึงไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 ที่วิรัชจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเนื่องจากผู้รับฝากไม่ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้น ตามมาตรา 359 ดังนั้นวิรัชจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโรงแรม ฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ได้

แต่การที่ทางโรงแรมจัดที่จอดรถยนต์ให้แก่ผู้มาใช้บริการ โดยมีพนักงานจดหมายเลขทะเบียนรถยนต์ลงในบัตรจอด มอบให้ผู้มาใช้บริการที่นำรถยนต์เข้ามาจอด และมีพนักงานตรวจหมายเลขทะเบียนในบัตรจอดให้ตรงกันตอนขาออก เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยแก่ผู้มาใช้บริการ

ถือว่าโรงแรมมีหน้าที่ต้องระมัดระวังในการตรวจสอบผู้นำรถยนต์ออกจากที่จอดด้วย แม้ว่าบริเวณที่จอดของโรงแรมจะมีการปิดป้ายประกาศไว้ว่า “ไม่รับผิดชอบในทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการที่สูญหาย” ก็ตาม ถือว่าไม่ใช่ข้อความที่ผู้มาใช้บริการซึ่งในที่นี้คือวิรัช ได้ตกลงด้วย โรงแรมจึงไม่ได้รับการยกเว้นให้พ้นความรับผิดชอบ

Car-Lost-In-Car-Park

เมื่อพนักงานโรงแรมได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจหมายเลขทะเบียนบนบัตรจอดของผู้มาใช้บริการตอนขาออก แต่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง โดยงดเว้นไม่ตรวจบัตรตอนคนร้ายขับรถยนต์ของวิรัชออกไป อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของวิรัชถูกลักไป และเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้วิรัชได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สิน

จึงเป็นการทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และการที่พนักงานโรงแรมทำละเมิดต่อวิรัช ถือว่าพนักงานโรงแรมได้กระทำไปในทางการที่จ้างของโรงแรม

ดังนั้นโรงแรมในฐานะนายจ้าง จึงต้องร่วมรับผิดกับพนักงานโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425

เจ้าของรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหาย ต้องฟ้องเรื่องการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จึงจะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้

แหล่งที่มาจาก:

  • คุณ ศราวุธ สายเชื้อ จากนิตยสารไทยไดรฟ์เวอร์