วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ จ่ายค่าปรับได้ทันที

โดนใบสั่ง เช็กใบสั่งออนไลน์ ง่ายนิดเดียว พร้อมจ่ายค่าปรับใบสั่งได้ทันที

ช่วงหลายวันมานี้ หลายคนคงได้เห็นข่าวที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เริ่มจะบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร ที่ไม่มาจ่ายค่าปรับภายในเวลากำหนดจำนวนมาก โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565

ซึ่งสถิติใบสั่งจราจร 2563 พบว่าคนไทยชักดาบ ไม่จ่ายใบสั่งมากถึง 13 ล้านใบเลยทีเดียว และจากข่าวก่อนหน้านั้น พบว่าบางคนมีใบสั่งสะสมไว้มากกว่า 200 ใบ จนตำรวจต้องบุกไปจับถึงบ้านเลยทีเดียว แถมบางคนเมื่อทำผิด ได้รับใบสั่งแล้ว ก็ยังฝ่าฝืนกฎจราจรกันซ้ำซากอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย ซึ่งทางตำรวจเอง จะให้ไล่ตามจับผู้กระทำผิดกันทั้งหมดก็คงไม่ไหว และมีค่าใช้จ่ายในการตามจับ

อย่างไรก็ตาม ที่หลายคนไม่ได้ไปชำระค่าปรับจากใบสั่ง ส่วนหนึ่งเพราะไม่ทราบว่าตนเองได้รับใบสั่งจราจร เช่น กรณีเปลี่ยนที่อยู่, หรือซื้อ-ขายรถยนต์ไปแล้ว แต่ยังไม่โอนเป็นชื่อเจ้าของใหม่ และอื่นๆ

วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ จ่ายค่าปรับได้ทันที

วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์

ตอนนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเว็บไซต์ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ ptm.police.go.th ที่สามารถแสดงประวัติการได้รับใบสั่งจราจร ตรวจสอบการค้างชำระค่าปรับ และดำเนินการชำระเงินได้ทันที และคุณสามารถดูผลย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) ได้อีกด้วย

วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ จ่ายค่าปรับได้ทันที

วิธีตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ผ่าน ptm.police.go.th มีดังนี้

– เข้าเว็บไซต์ http://ptm.police.go.th โดยใช้เลขบัตรประชาชน / หมายเลขใบขับขี่ หรือหมายเลขทะเบียนรถ หากยังไม่เคยเข้าใช้งาน ให้เลือก “ลงทะเบียนใช้งาน”
– เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่ตั้งไว้
– ค้นหาใบสั่งโดยระบุวันที่กระทำผิด จากนั้นกดปุ่ม “ค้นหา” (สามารถเลือกข้อมูลด้วยเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขใบสั่งก็ได้)
– ถ้าหากไม่มีการค้างชำระ ในระบบจะแจ้งว่า “ไม่พบข้อมูลใบสั่งในระบบ”
– ปรากฏรายการใบสั่งที่เคยได้รับ สามารถคลิกดูรายละเอียดของใบสั่งแต่ละฉบับได้ (กรณีได้รับใบสั่งมากกว่า 1 คัน จะปรากฏรายการทั้งหมดภายใต้ชื่อผู้ครองครองคนเดียวกัน)
– จ่ายค่าปรับออนไลน์ได้เลย ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือจ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจ,​ ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย หรือตู้บุญเติม

หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หรือโทร. 1197

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall ตลาดรถ

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน Update ล่าสุด! ประจำปี 2564

การขับรถบนท้องถนนทุกวันนี้ บอกได้เลยว่าทุกถนน มีกล้องคอยแอบมองรถคุณอยู่ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะกล้องติดรถยนต์ กล้องตามบ้านเรือน อาคารสถานที่ต่างๆ ทำให้การขับรถแบบตามใจฉัน ขับรถแบบเร่งรีบ เหยียบแบบไม่มีลิมิต ทำไม่ได้แบบในอดีตอีกต่อไป

ไม่เว้นแม้กระทั่งบนถนนสายหลัก หรือทางหลวง ที่ในอดีตคิดว่าถ้าไม่เจอหัวปิงปองแอบซ่อน หรือตั้งด่านรอแจกใบสั่งอยู่ริมทาง ก็สามารถขับซิ่งได้อย่างเต็มที่ แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีกล้องตรวจจับความเร็วอยู่ตามจุดต่างๆ คุณอาจจะได้รับใบสั่งส่งถึงบ้าน มาสะสมกันหลายใบเลยทีเดียว!

MR.CARRO รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน Update ล่าสุด! ประจำปี 2564 มาให้ทุกท่านได้เช็คกันแล้ว ว่าขับรถไปตรงไหน ควรจะใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. หรือ 120 กม./ชม. กันจ้า …

รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน

บนถนนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

1. สะพานภูมิพล (ตรวจจับรถจักรยานยนต์แอบขึ้น)
2. ถนนพหลโยธิน กม. 72-74 ขาเข้า กทม. (ห้ามเกิน 90)
3. ถนนพระราม 2 กม.10 โลตัสพระราม 2
4. ถนนพระราม 2 กม.46
5. แยกติวานนท์ – สะพานพระราม 5
6. ถนนวิภาวดีรังสิต

รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน

บนทางหลวง (ที่ติดตั้งกล้อง AI Camera ตรวจจับความเร็วได้ทุกเลน)

1. มอเตอร์เวย์ กม.29 ขาออก (ห้ามเกิน 120)
2. มอเตอร์เวย์ กม.51/54 ขาเข้า (ห้ามเกิน 120)
3. มอเตอร์เวย์ กม.58 ขาออก (ห้ามเกิน 120)
4. มอเตอร์เวย์ กม.62 ขาเข้า (ห้ามเกิน 120)
5. มอเตอร์เวย์ กม.112 เข้าออก (ห้ามเกิน 120)
6. บูรพาวิถีขาออก ก่อน กม. 32 ไม่กี่เมตร
7. ถนนมิตรภาพ กม.3 (ห้ามเกิน 90)
8. ถนนมิตรภาพ กม.18,24,25,27 ขาเข้า กทม. กล้องตู้
9. ถนนมิตรภาพ กม.97 ขาเข้า กทม.
10. ถนนมิตรภาพ กม.100 ขาเข้า กทม. กล้องตู้
11. ถนนมิตรภาพ กม.104 ขาออกไปโคราช
12. ถนนมิตรภาพ กม.113 ขาออกไปโคราช
13. ถนนกาญจนาภิเษก กม.60
14. สายเอเชีย กม.19+100
15. สายเอเชีย กม. 38 (ห้ามเกิน 90)
16. สายเอเชีย กม. 45 ขาออก (ห้ามเกิน 90)
17. สายเอเชีย กม 64
18. สายเอเชีย กม. 69.9 (ห้ามเกิน 90)
19. สายเอเชีย กม.121 (ห้ามเกิน 90)
20. สายเอเชีย กม.131 (ห้ามเกิน 90)
21. สายเอเชีย กม.308 (ห้ามเกิน 90)
22. สายเอเชีย ลำปาง-เชียงใหม่ กม.470-471
23. ถนนพหลโยธิน กม. 81 ขาเข้า กทม. (ห้ามเกิน 90)
24. ถนนเพชรเกษม ขาออก เขาย้อยสะพานลอย 2
25. ทางหลวงหมายเลข 9 กม.18 ป้ายคลองหลวง-หนองเสือ 2 ฝั่ง
26. ทางหลวงหมายเลข 9 กม.5 2 ฝั่ง
27. ทางหลวงหมายเลข 9 กม.37 เส้นทึบเปลี่ยนช่องจราจร
28. ถนนพหลโยธิน 103-104
29. ทางหลวงหมายเลข 21 กม.191 ห้วยสะแก เพชรบูรณ์
30. ทางหลวงหมายเลข 3 กม.282 ต.กองดิน แกลง ระยอง
31. ทางหลวงหมายเลข 36 กม.26
32. ทางหลวงหมายเลข 36 กม.18-20 ขาออก ชลบุรี
33. ถนนพระราม 2 กม.76 (ห้ามเกิน 90)

บนทางหลวง (ที่ติดตั้งกล้องตรวจจับความเร็วธรรมดา)

1. ทางหลวงหมายเลข 4 (สีชล 1) ขาเข้า
2. ทางหลวงหมายเลข 4 (สีชล 2) ขาเข้า
3. ทางหลวงหมายเลข 4 (กาญจนดิษฐ์) ขาเข้า
4. ทางหลวงหมายเลข 346 (กำแพงแสน – พนมทวน)
5. ทางหลวงหมายเลข 1 (คลองขลุง 2)
6. ทางหลวงหมายเลข 32 (หางน้ำสาคร)
7. ทางหลวงหมายเลข 36 (มะขามคู่)
8. ทางหลวงหมายเลข 4 (ประจวบคีรีขันธ์ 2)
9. ทางหลวงหมายเลข 35 (ยี่สาร)
10. ทางหลวงหมายเลข 36 (เขาไม้แก้ว 2)
11. ทางหลวงหมายเลข 304 (ท่าตูม)
12. ทางหลวงหมายเลข 2 (สีคิ้ว 2)
13. ทางหลวงหมายเลข 2 (สีคิ้ว 3)
14. สนามบินสุวรรณภูมิ 1
15. สนามบินสุวรรณภูมิ 2
16. ทางหลวงหมายเลข 3315 (บางตีนเป็ด)
17. ทางหลวงหมายเลข 4 (ชุมพร 3)
18. ทางหลวงหมายเลข 354 (เนินผาสุข)
19. ทางด่วนมอเตอร์เวย์ (พานทอง)
20. ทางหลวงหมายเลข 12 (หนองเรือ)
21. ทางหลวงหมายเลข 2 (ปากช่อง 4)
22. ทางหลวงหมายเลข 4 (ประจวบคีรีขันธ์ 3)
23. ทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี 2)
24. ทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี 3)
25. ทางหลวงหมายเลข 36 (ระยอง)
26. ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรบุรี)
27. ทางหลวงหมายเลข 4 (รัตภูมิ)
28. ทางหลวงหมายเลข 3 (จันทบุรี)
29. ทางหลวงหมายเลข 35 (สมุทรสงคราม)
30. ทางหลวงหมายเลข 340 (หน้าสำนักงานกรมป่าไม้ บ้านหนองแซง) ขาเข้า – ขาออก

รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน

ขณะที่บนถนนมอเตอร์เวย์ มีการติดตั้งป้าย Your Speed แสดงความเร็วรถของคุณกันถึง 9 จุดทุกเส้นทางของถนนมอเตอร์เวย์ โดยป้ายจะติดคร่อมถนน ขนาดของป้ายคือ 1.20 x 2.40 เมตร กับจอ LED แสดงความเร็วของรถในทุกช่อง โดยแบ่งความเร็วในแต่ละเลนไว้ที่ 80 – 120 กม./ชม. ตรวจวัดความเร็วด้วยระบบเรดาร์ของรถที่ขับผ่านในแต่ละช่อง

โดยจะตรวจวัดค่าความเร็วของรถก่อนถึงป้ายในระยะ 300 เมตร เมื่อถึงในระยะที่เรดาห์สามารถตรวจจับความเร็วได้ ความเร็วของรถคุณจะปรากฏที่จอ LED ทันที เพื่อเป็นการเตือนคุณก่อนจะเจอกล้องจริง

รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน

บนทางด่วน

ด้าน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ริเริ่มติดตั้งกล้องตรวจจับความเร็ว และกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้าย (ช่องทางฉุกเฉิน) รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย โดยมาตรการสำคัญที่จะขับเคลื่อนในช่วงปีงบประมาณ 2563-2565 ประกอบด้วย 2 มาตรการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2564 คือ

1. การติดตั้งป้ายแจ้งเตือนความเร็ว (Your Speed Sign) ที่ทำงานควบคู่ไปกับกล้องตรวจจับความเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้ทางพิเศษใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด โดยจะติดตั้งให้ครอบคลุมทั่วทุกสายทางพิเศษรวมจำนวนทั้งสิ้น 17 จุด บนทางพิเศษ 4 สายทาง

ซึ่ง กทพ. ได้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 2564 จำนวน 2 เส้นทาง คือ ทางพิเศษบูรพาวิถี จำนวน 4 จุดเเละทางพิเศษเฉลิมมหานครจำนวน 5 จุด

สำหรับอีก 2 เส้นทางที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ประกอบด้วย ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) จำนวน 4 จุด คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย. 2564 เเละทางพิเศษฉลองรัช จำนวน 4 จุดคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย. 2565

2. การติดตั้งกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้าย (ช่องทางฉุกเฉิน) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในไหล่ทาง โดย กทพ.จะดำเนินการติดตั้ง จำนวน 32 จุด บนทางพิเศษ 4 สายทาง ซึ่ง กทพ. ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2563 จำนวน1 เส้นทาง คือ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) จำนวน 10 จุด

ส่วนอีก 3 เส้นทาง อยู่ในระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 ประกอบด้วย ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จำนวน 6 จุด ทางพิเศษฉลองรัช จำนวน 8 จุด และทางพิเศษบูรพาวิถี จำนวน 8 จุด

รวมข้อมูล กล้องจับความเร็วทั่วกรุง และบนทางด่วน

สำหรับตรวจกล้องจับความเร็ว ที่สามารถตรวจจับได้ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สามารถบันทึกได้ทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ และยังตรวจจับรถจักรยานยนต์ ขับในช่องทางด่วน รถจักรยานยนต์ย้อนศร รถจักรยานยนต์ขับบนฟุตบาท วิ่งปาดทับเส้นทืบ และรถใช้ความเร็ว และอาจปรับใช้กับการจัดการกับกลุ่มเด็กแว้นได้ด้วย

ซึ่งถ้าใครใช้ความเร็วเกินกำหนด ก็จะโดนข้อหาขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (ตาม พรบ. จราจร มาตรา 67 วรรค 1, 152) หรือฝ่าฝืนป้ายจำกัดความเร็ว (พรบ. ทางหลวงฯ มาตรา 5 (2) และมาตรา 69)

ก่อนจะออกเป็นใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ส่งไปยังที่อยู่ของเจ้าของรถ ผู้ที่ได้รับใบสั่งจะต้องชำระภายใน 7 วัน หากไม่ชำระจะมีใบเตือน แต่ถ้าหากยังไม่ชำระอีกภายใน 30 วัน จะนำไปสู่การติดแบล็คลิสต์ ในการต่อทะเบียน ต่อประกันรถ การทำธุรกรรมกับรถในอนาคต

สำหรับการชำระค่าปรับจากใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ 5 ช่องทาง คือ

  • สถานีตำรวจพื้นที่ถูกออกใบสั่ง
  • เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย
  • ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
  • App KrungThai NEXT
  • ชำระผ่านตู้บริการบุญเติม

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิมตอนนี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ! มาขายรถกับ CARRO Express สิ! Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

อีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

  • ข่าวชาวบ้าน – Thai TV Social
  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

New-Traffic-Ticket-Fine-From-Police

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดจำนวนค่าปรับกรณีทำผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ 26 ส.ค. 2563

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยเป็นการกำหนดค่าปรับสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะประเภทต่าง ๆ รวมทั้งหมด 155 ข้อ โดยมีค่าปรับขั้นต่ำสุด 200 บาท ไปถึงสูงสุด 1,000 บาท ซึ่งต่างจากเดิมที่จะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาเปรียบเทียบปรับในแต่ละข้อหา เช่น

  • ไม่พกใบอนุญาตขับขี่ จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นข้อหาไม่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ได้ ปรับ 200 บาท
  • รถมีค่าควันดำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับ 1,000 บาท
  • ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณไฟจราจร จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับ 500 บาท
  • ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร จากเดิมปรับ 400-1,000 บาท เป็น ปรับ 500 บาท
  • ไม่ขับรถตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด จากเดิมปรับ 200-500 บาท เป็นปรับ 500 บาท
  • ไม่สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ จากเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับ 400 บาท และคนซ้อนไม่สวมหมวกกันน็อก จากเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับ 800 บาท

สำหรับใบสั่งที่ใช้ในปัจจุบันนี้ จะใช้ไปถึงสิ้นเดือนตุลาคม จากนั้น 1 พฤศจิกายน จะเป็นใบสั่งรูปแบบใหม่ที่ผู้กระทำผิดสามารถนำไปชำระค่าปรับพื้นที่ใดก็ได้

ขอขอบคุณข่าวจาก

Police-Can-Seize-Driver-License

เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมานานแล้ว สำหรับ “ใบขับขี่” หรือ “ใบอนุญาตขับรถ” ที่ต้องเป็นของคู่กายนักขี่ หรือนักบิดกันทุกคน หากเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ ต้องการขอตรวจใบขับขี่ เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ อะไรก็แล้วแต่ คุณต้องแสดงให้ตำรวจดู …

แต่หลายท่านอาจทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ย. 2562 มีบางมาตราที่บัญญัติ ให้ยกเลิกความในมาตราเดิม และบัญญัติใหม่ โดยมีสาระสำคัญในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร นั่นหมายถึง ตำรวจยังสามารถ “ยึด” และ “ไม่ยึด” ใบขับขี่ของคุณได้อยู่

แต่เงื่อนไขว่า ตำรวจสามารถยึดได้ เพราะอะไร และยึดใบขับขี่ไม่ได้ เพราะเหตุใดนั้น มาอ่านคำตอบกัน …

Police-Can-Seize-Driver-License

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140

มาตรา 140

เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานจราจร ไม่ว่าพบด้วยตนเอง หรือโดยการใช้เครื่องอุปกรณ์ หรือโดยวิธีการอื่นใดว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ที่เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด

ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ด้วยโดยอนุโลม

เกณฑ์การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

Police-Can-Seize-Driver-License

มาตรา 140/2

ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้ใด ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไป อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ ยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ดังกล่าว หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ และให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมให้ผู้ขับขี่ขับรถได้ เมื่อผู้ขับขี่น้ันอยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถ ในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด

มาตรา 150

“ผู้ใด
(1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
(4) ขัดคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
(5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 140/2 หรือมาตรา 140/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ในการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ มาตรา 31/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว

ดังนั้นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

Police-Can-Seize-Driver-License

ส่วนใบขับขี่ เป็น “ทรัพย์สิน” ที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้โดยไม่มีสิทธิ ย่อมมีความผิดในฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไป ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

ตามกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

Police-Can-Seize-Driver-License

สรุป

ตำรวจ ยังสามารถใช้อำนาจในการขอเรียกดูใบขับขี่ได้ ตามมาตรา 140 และมาตรา 140/2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ

1) ตักเตือน

2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา

ส่วนใบขับขี่ เป็นดุลยพินิจของตำรวจ ซึ่งอาจจะเรียกเก็บ ในกรณีที่คุณไม่พร้อมสำหรับการชับรถ (แต่ต้องออกใบสั่งก่อนยึดด้วย)

ตำรวจ จะบันทึกข้อมูลความผิดเขียนลงใบสั่ง แล้วส่งต้นขั้วไปสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อทำการตัดแต้มผู้ขับรถ โดยใบขับขี่จะมีทั้งหมด 12 แต้ม ถ้าถูกตัดครบ 12 แต้ม จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน ผู้ขับขี่ต้องไปอบรมการขับขี่ และสอบอีกครั้ง ที่กรมการขนส่งทางบก

ถ้าผ่านจะได้รับ 12 แต้มคืน ภายใน 3 ปี แต่ถ้าผู้ขับขี่ถูกพักใช้ใบขับขี่ถึงครั้งที่ 3 จะทำให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ 1 ปี ระหว่าง 1 ปีนี้ ถ้าทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบขับขี่ทันที และถ้าหากผู้ขับขี่ไปทำใบขับขี่ใหม่ ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก