6-Warning-Signs-Of-Brake-Problems

ระบบเบรกของรถยนต์ นี่ถือว่าสำคัญมากในการขับขี่ที่ไม่สามารถปล่อยละเลยไปได้เลยนะครับ หากเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อย จะได้ทราบว่าตอนนี้เบรกของคุณกำลังมีปัญหา

เคยไหม ที่ต้องเหยียบเบรกหลายครั้ง รถของคุณถึงจะหยุด หรือมักมีเสียงอี๊ด เอี๊ยด เวลาเบรก บางคนคิดอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เลยไม่ให้ความสนใจ แต่ที่จริงแล้ว นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเบรกของรถเรากำลังมีปัญหา ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น โดยที่สัญญาณเตือนนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ

1. ไฟเตือนเบรก

อันดับแรกเมื่อ ระบบเบรกมีปัญหา ไฟเตือนเบรกก็จะแสดงสัญญาณเตือนให้รับรู้ และต้องทำการตรวจเช็คโดยด่วน ห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาด

2. น้ำมันเบรกรั่ว

สามารถตรวจสอบได้จากระดับของกระปุกน้ำมันเบรก ซึ่งต้องเต็มอยู่เสมอ หากพร่องให้เติมจนถึงระดับที่กำหนด เมื่อเกิดเหตุการณ์การรั่วไหลของสายเบรก จะทำให้น้ำมันเบรกลดลงอย่างรวดเร็วและมักมีน้ำมันไหลซึมบริเวณใกล้ล้อรถเมื่อจอด หรือมีน้ำมันไหลหยดใกล้แป้นเบรกขณะเหยียบเบรก ซึ่งเบรกจะไม่ทำงานหากไม่มีน้ำมันเบรก

3. เกิดเสียงขณะเหยียบเบรก

เสียงที่เกิดเมื่อเหยียบเบรก มักมีสองลักษณะด้วยกัน คือ

เสียงเอี๊ยดๆ เกิดจากการเสียดสีของจานเบรกกับผ้าเบรก ที่อาจเสื่อมสภาพแล้วทำให้เกิดเสียง และเบรกไม่ค่อยอยู่ หากไม่แก้ไขเสียงจะดังขึ้นเรื่อยๆ

เสียงครืดๆ เกิดจากคราบฝุ่นสกปรก หรือเศษหินเล็กๆเข้าไปอยู่ระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก เมื่อเสียดสีกันจึงเกิดเสียงขึ้น แต่ถ้ามีเสียงหลังจากขับลุยน้ำมา อาจเกิดจากผ้าเบรกเปียก ขับไปสักพัก เมื่อผ้าเบรกแห้งเสียงจะหายไปเอง

4. พวงมาลัยสั่น

เมื่อเหยียบเบรกแล้วแป้นสั่นขึ้นมาจนถึงพวงมาลัย อาจเกิดจากแผ่นโรเตอร์บิดเบี้ยวทำให้เกิดการสั่นขึ้น หากไม่อยากหมดเงินในกระเป๋า ถ้ามีอาการแบบนี้ควรรีบให้ช่างตรวจเช็คทันที เพราะไม่อย่างนั้นอาจต้องเปลี่ยนอะไหล่เบรกหลายตัว

5. กลิ่นไหม้

อาการนี้มักเกิดกับเกียร์ออโต้ หรือผู้ขับขี่ที่เวลาขับรถขึ้นลงเขาชอบเหยียบแช่เบรก ทำให้เบรกติดและไหม้ตามมาในที่สุด อาการนำคือกลิ่นเหม็นไหม้ หรือหนักกว่านั้น ก็จะมีควันออกตรงกระโปรงรถให้ตื่นเต้นด้วย เพราะฉะนั้น ต้องระวังการเหยียบเบรกแช่ขณะขับรถให้ดี

6. เบรกไม่ค่อยอยู่

ไม่ว่าจะเป็นเบรกต่ำ คือ เบรกแล้วจมมากกว่าปกติ หรือเบรกตื้อ ที่ใช้แรงในการเหยียบเบรกมากกว่าปกติก็ตาม ซึ่งอาจเกิดจากลูกยางแม่ปั้มเบรก หม้อลม ลูกสูบ ฯลฯ ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าระบบเบรกของคุณ กำลังมีปัญหาต้องพบช่างเพื่อแก้ไขโดยด่วน

อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้น จะทำให้คุณสังเกตถึงความผิดปกติของระบบเบรกได้ง่ายขึ้น แต่หากตรวจสอบแล้วพบเจอ ต้องรีบแก้ไขโดยทันที อย่าละเลย นอกเหนือจากนี้ต้องคอยตรวจสอบ และเช็คสภาพรถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่

หากคุณต้องการขายรถด่วน CARRO ช่วยได้ขายให้ภายใน 24 ชั่วโมง และได้ราคาดี และหากต้องต้องหารรถยนต์ใหม่ ป้ายแดง โปรแรงๆ สามารถดูโปรโมชั่นได้ที่ https://www.siamcardeal.com/ หรือสามารถ Inbox สอบถามโปรโมชั่นรถใหม่และข่าวสารได้ที่ Facebook Siamcardeal

หรือ Add Line เพื่อรับโปรโมชั่นต่างๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม @siamcardeal
inbox : http://m.me/siamcardeal
line : https://line.me/R/ti/p/@siamcardeal

Brake-Lines-Is-Important

ระบบเบรกในรถยนต์ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเลยก็ว่าได้ เพราะถ้ารถของคุณมีระบบเบรกที่พร้อมใช้งาน ระบบเบรกที่ดี ก็ช่วยให้คุณขับรถได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น (แต่ก็ต้องมาพร้อมกับยางรถยนต์สภาพดี ที่ได้คุณภาพด้วยเช่นกัน)

แต่เชื่อไหมครับว่า เวลาที่หลายต่อหลายคน นำรถไปเข้าอู่ หรือศูนย์บริการ เพื่อทำระบบเบรก ไม่ว่าจะไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก เปลี่ยนผ้าเบรก เจียรจานเบรก หรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่ก็ตาม หลายคนอาจจะละเลย “ท่ออ่อนเบรก” (Brake Lines) ไป หลายครั้งที่มีข่าวรถยนต์เบรกแตก เกิดอาการเหยียบเบรกไม่อยู่ เบรกจม จนเกิดอุบัติเหตุสร้างความเสียหาย หลายต่อหลายครั้ง มาจาก “ท่ออ่อนเบรก” ที่หมดสภาพ

Mr.Carro จะมาอธิบายว่า “ท่ออ่อนเบรก” มันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกันครับ.

Brake-Lines-Is-Important

ท่ออ่อนเบรก คือ ส่วนที่สามารถขยับตัวได้ระหว่างตัวถังกับล้อ ทำให้การส่งน้ำมันเบรกไปยังดุมล้อนั้น ต้องขยับตัวและรับแรงบิดตามการเลี้ยวของล้อ

ท่ออ่อนเบรกนั้นจึงสำคัญมาก โดยวัสดุที่มักจะเอามาทำท่ออ่อนเบรกนั้น จะทำมาจากยางแล้วถักด้วยเส้นด้าย เมื่อหักล้อ เลี้ยว หักพวงมาลัยไปนานๆ ท่ออ่อนเบรกอาจมีอาการบวม พอง แตก หรือแตกตามข้อต่อ ทำให้น้ำมันเบรกรั่วออกมาได้ หรือมีอาการตันในท่ออ่อนเบรก

Brake-Lines-Is-Important

อาการต่างๆ ที่เกิดจากท่ออ่อนเบรกตัน หรือบวม มีอะไรบ้าง?

1. เบรกติดใขณะที่เหยียบเบรก น้ำมันถูกส่งออกมาจากแม่ปั้มเบรก ไปยังลูกสูบเบรกดันให้ฝักเบรกอ้าออก แต่ในเวลาที่ปล่อยเบรก น้ำมันเบรกไม่สามารถไหลกลับได้เพราะท่ออ่อนตีบตัน หรือไหลกลับแต่ช้ามาก ทำให้การคืนตัวของฝักเบรกช้า ทำให้เบรกติด

2. เบรกไม่อยู่ อาจจะเป็นที่ล้อใดล้อหนึ่ง เพราะน้ำมันเบรกไม่สามารถไหลผ่านท่ออ่อนไปยังลูกสูบเบรกได้

อายุของท่ออ่อนเบรก ส่วนใหญ่ใช้งานได้ประมาณ 4-5 ปี หรือประมาณ 50,000 กิโลเมตร หรือถ้าหากจับตัวดูแล้วรู้สึกยางเริ่มแข็ง ก็ควรเปลี่ยนใหม่ได้แล้ว ซึ่งสายอ่อนเบรกที่ดีนั้น ต้องทนต่อแรงดันน้ำมันเบรก ความชื้น ความร้อน สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง และข้อต่อปลายต้องกันสนิมได้

3. เบรกแตก (อาการยอดฮิต ของรถบรรทุกเก่าๆ ในอดีต เป็นกันบ่อย) คือถ้าคุณใช้รถไปนานๆ ไม่เคยก้มลงไปตรวจสภาพสายอ่อนเบรกของทั้ง 4 ล้อดูเลย เมื่อเกิดอาการเสื่อมสภาพ จะทนแรงดันไม่ไหว ขณะเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน แรงดันน้ำมันเบรกจะมาสูงมาก ทำให้ท่ออ่อนเบรกทนต่อแรงดันไม่ไหว ก็อาจจะแตกหรือขาดออก ทำให้น้ำมันเบรกรั่ว และรถเบรกไม่อยู่

Brake-Lines-Is-Important

ทางที่ดี เมื่อคุณจะตรวจเปลี่ยนอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับระบบเบรกทุกครั้ง อย่าลืมตรวจสภาพ “ท่ออ่อนเบรก” ทุกครั้งนะครับ!

ถ้าคุณเกิดเบื่อซ่อมรถคันเดิม คิดอยากจะขายรถเมื่อไหร่ สามารถขายรถคันเดิมกับ Carro ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ Carro Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook Carro Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Washing-Car-And-Hot-Brakes

คนใช้รถหลายคนอาจไม่รู้! ว่าอาการพวงมาลัยสั่น โดยเฉพาะเวลาเหยียบเบรก ซึ่งเกิดมาจากจานเบรกคดนั้น นอกจากจะมีอาการจากผ้าเบรกจับจานเบรกไม่สม่ำเสมอ จานเบรกเริ่มบาง หรืออาจจะเป็นที่ยางสึกไม่เท่ากันทั้งเส้น

แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้ และมักชอบปฎิบัติ หลังจากการขับรถใช้งานต่อเนื่องมานานหลายชั่วโมง หรือขับรถขึ้นเขา ลงเขา ใช้งานเบรกมาอย่างหนัก นั่นก็คือ “ล้างรถ” พอตัดสินใจขับรถเข้าคาร์แคร์ ว่าจะล้างรถให้สะอาดซะหน่อย เด็กล้างรถก็ไม่รู้ ฉีดน้ำล้างล้อรถ ทำให้น้ำแรงดันสูงอัดเข้าไปในจานเบรกอย่างแรง จนดิสก์เบรกเกิดอาการ “จานเบรกคด” ขึ้นมา …

ทำไมจานเบรกถึงคดได้ งงมาก ทั้งๆ ที่แค่ฉีดน้ำใส่ เดี๋ยว Mr.Carro จะเล่าให้ฟัง …

Washing-Car-And-Hot-Brakes

การเกิดจานเบรคคด ก็คือ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเฉียบพลัน ซึ่งการขับรถมาเป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมง (โดยเฉพาะขับรถทางยาวๆ หรือขับรถขึ้น-ลง ทางชันๆ ที่ต้องใช้เบรกมาก) ทำให้จานเบรกมีความร้อนสะสมมากกว่าปกติ เมื่อเจอที่ฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างล้อรถ แล้วทะลุซี่ล้อไปโดนกับจานดิสก์เบรกที่ร้อนจัดอยู่ เมื่อเจอกับน้ำเย็นๆ ทันที ก็อาจทำให้จานเบรคคดงอได้

Washing-Car-And-Hot-Brakes

แต่ถ้าคุณอยากล้างรถที่เพิ่งผ่านการใช้งานมาหมาดๆ จริงๆ ก็ขอแนะนำให้ล้างตัวถังรถไปก่อน ลองเอามืออังดูที่บริเวณล้อรถดูก่อน ว่ามีไอร้อนที่แผ่ออกมาจากดิสก์เบรก มากหรือน้อย ถ้าไม่มีแล้ว นั่นล่ะ ถึงจะค่อยฉีดน้ำล้างล้อได้เต็มที่

Washing-Car-And-Hot-Brakes

แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ล้างแค่บริเวณด้านนอกของล้อก็ได้ พยายามอย่าฉีดน้ำเข้าไปถูกจานดิสก์เบรก โดยใช้วิธีเปิดน้ำแบบไม่ต้องแรง ล้างเฉพาะบริเวณวงล้อรอบนอกก็พอ เพื่อให้เหมือนกับการขับรถลุยฝน ที่มีละอองน้ำกระเซ็นโดนจานเบรคอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ความร้อนบริเวณจานเบรกค่อยๆ ลดลง

วิธีปฎิบัติง่ายๆ แค่นี้ คุณก็ทำได้ครับ อีกทั้งยังยืดอายุจานเบรกของรถ ให้ใช้งานได้อีกยาวนานอีกด้วย

10-Need-To-Change-In-Car

10 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถ ที่ต้องเปลี่ยนประจำ

เป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกใบนี้ อะไรก็ตามที่ใช้ไปนานๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา อุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์ก็เช่นกัน ทุกชิ้นส่วนต่างก็มีระยะเวลาการใช้งาน หรือต้องเปลี่ยนถ่ายตามระยะทาง

Car-Maintenance

Carro ขอแนะนำถึง 10 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถ ที่ต้องเปลี่ยนประจำนั้น มีอะไรบ้าง เชิญอ่านได้เลยครับ.

1.น้ำมันเครื่อง พร้อมไส้กรองน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง พร้อมไส้กรองน้ำมันเครื่อง เมื่อถึงกำหนดควรเปลี่ยนถ่ายทุกครั้ง สำหรับระยะเวลาเปลี่ยนคือ ทุกๆ 5,000-10,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ยี่ห้อ และประเภทของน้ำมันเครื่อง เช่น แบบธรรมดา แบบกึ่งสังเคราะห์ หรือแบบสังเคราะห์) หรือพบว่าน้ำมันเครื่องเป็นสีเริ่มดำ หรือเป็นตะกอนโคลน ก็สามารถเปลี่ยนก่อนได้เลย เพราะน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพแล้ว โดยเมื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแล้ว ก็ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องไปพร้อมกันเลย

หากเป็นรถใหม่บางยี่ห้อ ทางศูนย์บริการจะแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือน และในส่วนของรถยนต์ที่ใช้น้อย เมื่อครบ 1 ปีแล้ว ไม่ว่าจะวิ่งมากี่กิโลเมตรก็ตาม ก็ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเช่นกันครับ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง ต้องมีการจดบันทึก วันที่ เดือน ปี และเลขกิโลเมตร ไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นการคำนวณกำหนดการเปลี่ยนถ่าย

2. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเปียก ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับปกติอยู่เสมอ เพื่อให้แบตเตอรี่เก็บประจุไฟได้อย่างเต็มที่ ส่วนแบตเตอรี่ที่เป็นแบบแห้ง ก็สามารถใช้งานได้ตลอดอายุการใช้งาน ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรใดๆ ส่วนใหญ่ระยะเวลาการเปลี่ยนจะอยู่ที่ 1.5 -3 ปี แล้วแต่ขนาด และการใช้งาน

3. ยางรถยนต์

ยางรถยนต์

ยางรถยนต์ อายุการใช้งานส่วนใหญ่ที่ควรเปลี่ยน คือ 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร แต่ถ้าเป็นยางที่คุณภาพสูงๆ จะมีอายุการใช้งานนานถึง 5-6 ปี นับตั้งแต่วันที่ผลิต หากความลึกของดอกยางที่น้อยลงมาก โดยดูจากจุด “สามเหลี่ยม” บริเวณขอบยาง หรือ สภาพโครงสร้างของยาง มีรอยแตกลายงาหรือไม่ ก็ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ครับ เพื่อความปลอดภัยของคุณ

แต่ก็มีวิธียืดอายุการใช้งานยางให้ได้นานที่สุด (เพราะเปลี่ยนใหม่หมด 4 เส้น ก็ใช้เงินไม่ใช่น้อย) พยายามเลี่ยงถนนที่มีหลุมบ่อ สิ่งกีดขวาง ระวังกระแทกขอบถนน วัตถุมีคม และลูกระนาดชะลอความเร็ว ตรวจดูการสึกหรอของดอกยาง ดูแรงดันลมยาง และคอยตั้งศูนย์ล้อสม่ำเสมอ เป็นต้น

4. ผ้าเบรก

ผ้าเบรก

ผ้าเบรก ถือว่าเป็นชิ้นส่วนสำคัญ หากผ้าเบรกใกล้หมด จะมีเสียงดังเอี๊ยดๆ เกิดขึ้นขณะเหยียบเบรค หรือตอนรถออกวิ่งใหม่ๆ บ่งบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนได้แล้ว เพราะถ้าหากยังใช้ต่อ เหล็กของก้ามเบรกจะสีกับจานเบรก ทำให้จานเบรกเป็นรอยได้ ระยะเวลาในการเปลี่ยนประมาณ 40,000–70,000 กิโลเมตร

5. ไส้กรองอากาศ

ไส้กรองอากาศ

ไส้กรองอากาศ เป็นตัวสำคัญที่จะคอยกรองสิ่งสกปรกในอากาศก่อนเข้าเครื่องยนต์ ช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ระยะเวลาในการเปลี่ยน 20,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี และควรเป่าทำความสะอาดทุกๆ เดือน

6. หัวเทียน

หัวเทียน

หัวเทียน ควรเปลี่ยนทุกๆ 40,000 กิโลเมตร เพื่อการจุดระเบิดที่ดีของเครื่องยนต์ หรือทุก 1 ปีก็ได้

7. สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่ง ถือเป็นสายพานหลักสำหรับส่งกำลังเครื่องยนต์ หากสายพานเริ่มมีเสียงดังเอี้ยดอ๊าด ก็ควรเปลี่ยนได้ โดยสายพานไทม์มิ่ง ควรเปลี่ยนทุกๆ 100,000 กิโลเมตร เปลี่ยนความปลอดภัยของเครื่องยนต์

8. น้ำมันเกียร์ และไส้กรองน้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์ และไส้กรองน้ำมันเกียร์ ระบบเกียร์ทุกระบบประกอบไปด้วยโลหะจำนวนมาก รวมไปถึงความร้อนสูง น้ำมันเกียร์ จะช่วยลดการสึกหรอของการทำงานภายในเกียร์ได้ โดยระยะเวลาในการเปลี่ยน ประมาณ 20,000 – 40,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ และคำแนะนำของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ

9. ยางใบปัดน้ำฝน

ใบปัดน้ำฝน

ยางใบปัดน้ำฝน ควรเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี หรือเมื่อยางเสื่อมสภาพ กรอบแตก ปัดแล้วมีเสียงดัง หรือกวาดน้ำออกมาจากกระจกไม่หมด ปัดแล้วไม่เรียบ เป็นต้น

10. ระบบส่องสว่างและหลอดไฟต่างๆ

ไฟหน้า

ระบบส่องสว่างและหลอดไฟต่างๆ ทั้งภายนอกรถและภายในรถ ไม่มีระยะเปลี่ยนที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใหม่เมื่อหลอดขาดเท่านั้น

ถือเป็นเคล็ดลับในการดูแลรถยนต์ง่ายๆ ที่ทาง Carro นำมาฝาก ซึ่งทุกคนสามารถตรวจเช็คได้ หรือให้ช่างผู้ชำนาญตรวจเช็คก็ได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และเดินทางของท่านครับ