Prevent-Back-Pain-While-Driving

ขับรถบ่อย ๆ นั่งอยู่หลังพวงมาลัยวันละหลาย ๆ ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการขับฝ่ารถติดในคืนวันศุกร์แห่งชาติ หรือเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัด หากคุณไม่ได้ปรับท่านั่งในการขับรถให้ดี ระวังจะมีปัญหาปวดหลัง ปวดเอวเมื่อเดินทางถึงที่หมาย ซ้ำร้ายกว่านั้น หากต้องขับรถในท่าทางที่ไม่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ อาจส่งผลให้ปวดหลังเรื้อรัง อีกทั้งอาจทำให้ขับรถไม่ปลอดภัยอีกด้วย เราจึงได้รวบรวมเทคนิคขับรถไม่ให้ปวดหลัง ซึ่งจะช่วยให้คุณมีท่าทางในการขับรถที่ถูกต้องเมื่ออยู่หลังพวงมาลัย ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถขับรถได้อย่างสบาย อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ด้วยเช่นกัน

Prevent-Back-Pain-While-Driving

มานั่งขับรถให้ถูกวิธีกันดีกว่า Roojai.com จะพาทุกคนไปดูวิธีปรับท่านั่งบนรถให้ถูกวิธี หนีอาการปวดหลังเมื่อต้องอยู่บนรถนาน ๆ วิธีการจะเป็นอย่างไร ตามไปดูกันเลย

ขับรถไม่ให้ปวดหลัง เรื่องง่าย ๆ แค่ปรับเบาะกับท่าทาง

คนขับรถหลาย ๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าการขับรถให้สบายนั้น ควรจะปรับเอนหลังเบาะลงไปเยอะหน่อย แล้วนั่งพิงหลังไป วางแขนวางเท้าให้สบาย จะทำให้สามารถขับรถได้ผ่อนคลายและร่างกายไม่เมื่อยล้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการปรับเบาะไม่ให้ปวดหลัง เพราะการขับรถนั้น ร่างกายหลาย ๆ ส่วนต้องทำงานให้สอดคล้องกัน เพื่อควบคุมรถของคุณให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างปลอดภัย ใช้สายตาในการมองจ้องไปบนท้องถนนตลอดเวลา แขนทั้งสองข้างถือพวงมาลัย เตรียมเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เปลี่ยนเกียร์ และต้องใช้เท้าในการเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก เพื่อขับเคลื่อนรถไปข้างหน้า

ซึ่งถ้าคุณปรับเบาะเอนหลังต่ำจนเกินไป การมองเห็นของคุณก็จะทำได้ไม่ดี เหลือพื้นที่กระจกให้คุณสามารถมองเห็นได้น้อยลง จะมองกระจกข้างทีก็ต้องยกตัวขึ้นมา ชะโงกหน้า เอี้ยวตัวหลายครั้งกว่าจะเห็นจนชัด ต้องเอื้อมมือหรือยืดแขนมาบังคับพวงมาลัย ซึ่งส่งผลให้ต้องเกร็งแขนยกไหล่ตลอดเวลาที่ขับรถ เท้าเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกไม่ถนัด เพราะถอยเบาะไกลจากคันเร่งเกินไป ทำให้ต้องเกร็งขาเอาไว้ตลอดเวลาที่ขับรถ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการขับรถอีกด้วย เพราะท่าทางที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้บังคับรถได้ไม่ดีเท่าที่ควร

Prevent-Back-Pain-While-Driving

ดังนั้น การปรับเบาะ ปรับท่าทางในการขับรถของคุณให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยลดอาการเกร็งส่วนต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองของร่างกายเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ช่วยให้มองเห็นถนนได้ดียิ่งขึ้น ลดการเอี้ยว การเอื้อม เพื่อมองกระจกข้าง กระจกหลังให้เห็นได้ชัดเจน โดยมีเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้

  1. ปรับพนักพิงเอนหลังเล็กน้อยก็พอ

สำหรับองศาของพนักพิงเอนหลังจะอยู่ที่ประมาณ 110 องศา ซึ่งจะไม่ใช่การเอนเบาะลงไปมาก ๆ อย่างที่คุณเข้าใจว่าจะทำให้เกิดความสบาย แต่การปรับเบาะตามคำแนะนำนี้ จะช่วยให้คุณมีระยะในการมองเห็น หรือได้ทัศนวิสัยข้างหน้าสมบูรณ์ที่สุด ช่วยลดการชะเง้อ เบี่ยงตัว หันซ้าย หันขวา รวมทั้งไม่ต้องเอื้อมไปจับพวงมาลัยให้หัวไหล่ถูกใช้งานหนักตลอดเวลาด้วย

  1. ปรับเบาะนั่งขับรถ ให้ห่างแบบพอดี

การเลื่อนเบาะออกไปห่างจนเกินไป ส่งผลให้คุณจับพวงมาลัย และเหยียบคันเร่งได้ไม่ถนัด ซึ่งอาจจส่งผลให้เหยียบเบรกได้ไม่สุด หรือตอบสนองได้ไม่ดีเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น การเลื่อนเบาะให้อยู่ในระยะที่พอดี สามารถเหยียบคันเร่งและเบรกได้แบบเต็ม ๆ เท้า หัวเข่างอเล็กน้อย ช่วงแขนถึงพวงมาลัยอยู่ในระยะที่จับพวงมาลัยได้ถนัด สามารถบังคับทิศทางได้ง่าย จะช่วยให้คุณสามารถขับรถได้สบายมากขึ้น โดยที่คงความปลอดภัยสูงสุดเอาไว้

Prevent-Back-Pain-While-Driving

  1. ปรับความสูงเบาะรถยนต์ ให้สอดคล้องกับความสูงคุณ

รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นเบาะไฟฟ้าจะสามารถปรับความสูงของเบาะนั่งขึ้นลงได้ด้วย ซึ่งถ้าหากคุณเป็นคนตัวเล็ก ก็ควรยกเบาะให้สูงขึ้นเพื่อที่จะได้มองเห็นถนนได้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ใช่เห็นพื้นที่ตรงคอนโซลเยอะจนเกินไป สำหรับคนตัวสูงก็ควรปรับเบาะลงมาให้ต่ำ โดยระยะห่างที่แนะนำระหว่างศีรษะถึงหลังคาจะอยู่ที่หนึ่งกำปั้น ซึ่งคุณสามารถเช็คได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองว่าปรับความสูงเบาะได้ระดับที่เหมาะสมหรือยัง

  1. ปรับพวงมาลัย ระยะห่างพวงมาลัยให้เหมาะสม

เช่นเดียวกันกับเรื่องการปรับเบาะที่นั่ง พวงมาลัยของรถยนต์รุ่นใหม่  ๆ สามารถปรับระดับได้ทั้งดึงเข้า ดึงออก และสูงขึ้นหรือต่ำลง คุณจึงหาระยะที่เหมาะสมที่จะทำให้คุณสามารถบังคับพวงมาลัยได้ถนัดมากที่สุด ไม่ต้องเกร็งร่างกายเมื่อต้องขับรถเป็นเวลานาน ๆ

  1. จับพวงมาลัยให้ถูกวิธีก็สำคัญ

อีกหนึ่งเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยคือการจับพวงมาลัยให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมรถยนต์ ซึ่งจะต้องอยู่ในมือของคุณตลอดการขับขี่ การจับพวงมาลัยหลวมหรือแน่นเกินไป นอกจากจะทำให้เมื่อยแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถบังคับพวงมาลัยให้ดีได้เท่าที่ควร ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง มือของคุณจะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกา ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถหมุนพวงมาลัยได้ถนัดและไม่หลุดมือนั่นเอง

  1. ปรับหัวเบาะให้รองรับคอให้พอดี

การขับขี่ทางไกล หรือการขับรถที่ใช้เวลานาน ควรปรับหัวเบาะของพนักพิงให้รองรับกับช่วงศีรษะและลำคอของคุณด้วย เพราะนอกจากจะทำให้คุณได้ใช้โอกาสพิงเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าที่คอของคุณแล้ว ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เจ้าเบาะนี้จะทำหน้าที่ช่วยรองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการชน ช่วยลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับคอหรือศีรษะของคุณได้ ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

  1. ปรับกระจกมองข้างให้เป็นมุมกว้าง

การขับรถที่ดีต้องมีทัศนวิสัยในการขับขี่ที่สมบูรณ์ด้วย การปรับกระจกมองข้างจึงควรปรับให้เห็นเป็นมุมกว้าง เห็นรถคันอื่นชัด ๆ เห็นพื้นที่ถนนเยอะ ๆ มากกว่าที่จะเห็นตัวรถของคุณเป็นหลัก โดยให้กระจกข้างตั้งฉากกับตัวรถของคุณ จะได้เห็นสิ่งรอบข้างได้อย่างชัดเจน

  1. ปรับกระจกหลัง ให้เห็นรถหลังที่ขับตามมา

ซึ่งควรปรับแบบตรง ๆ ให้เห็นถนนด้านหลังทั้งหมดได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถมองกระจกหลังได้ง่ายขึ้น ร่างกายไม่ต้องยืดขึ้นยืดลง เอี้ยวไปเอี้ยวมา เพื่อทำให้เห็นรถข้างหลังได้อย่างชัดเจน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคขับรถไม่ให้ปวดหลัง ที่ทำได้ง่ายและมอบความปลอดภัยในการขับรถให้คุณด้วย

เมื่อปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้องตามหลักสรีระแล้ว การขับรถทางไกล หรือผจญรถติดในเมืองก็ไม่ใช่ปัญหา นอกจากจะช่วยให้ขับรถได้สบายมากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ให้คุณได้ด้วย โดยเทคนิคขับรถไม่ให้ปวดหลังที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ ก็สามารถนำไปปฏิบัติตามกันได้ง่าย ๆ และได้ผลดีมากมายเกินกว่าที่คิดไว้อย่างแน่นอน ในเมื่อปรับท่าทางให้ถูกต้องได้แล้ว คุณจะสังเกตเห็นได้เลยว่าอาการล้า ปวดหลังหายไป สามารถขับรถได้สบายมากขึ้นกว่าที่เคย นอกจากนี้ต้องไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้องทุกครั้งที่ขับรถ เพื่อช่วยปกป้องคุณจากสิ่งไม่คาดฝันบนท้องถนนด้วย

ที่ Roojai.com เราให้บริการประกันรถออนไลน์ ช่วยคุ้มครองคุณและรถยนต์ของคุณจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เข้ามาเช็คราคาด้วยตัวคุณเองได้ผ่านทางเว็บไซต์ของเราออนไลน์ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง เพียงกรอกข้อมูลของรถและคนขับ ภายในไม่กี่นาที คุณก็จะได้แผนประกันภัยที่คุณต้องการ และยังปรับแผนได้เองตามที่ต้องการอีกด้วย ระบบจะแจ้งเบี้ยประกันให้คุณทราบพร้อมรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด บริการรู้ใจกว่า ประหยัดกว่า…

และถ้าหากไม่อยากพลาดโปรโมชั่นใหม่ ๆ และเรื่องราวดี ๆ ก็สามารถ add Official Line ของเราได้ที่ http://nav.cx/8tzQPw8

Carro-Frank-How-To-Adjust-Seating-For-Driving

เวลารถติดนานๆ หรือขับรถทางไกล แน่นอนว่าผู้ขับขี่อาจจะต้องมีอาการปวดเมื่อย ปวดหลังขณะขับรถอยู่แล้ว สาเหตุก็มาจากท่านั่งในการขับรถของคุณนั่นเอง หากคุณเลือกท่านั่งขับรถที่ผิดวิธี อย่างเช่น ก้มหน้ามากเกินไป นั่งหลังงอ หรือนั่งเอียงตัว ก็จะส่งผลให้คุณปวดเมื่อยหลังจากการขับขี่ได้ งั้นเราลองมาปรับท่านั่งขับรถที่ถูกต้องกันดีกว่า รับรองนั่งสบาย แถมปลอดภัยระหว่างขับขี่อีกด้วยนะ ทำง่ายนิดเดียวครับ

How-To-Adjust-Seating-For-Driving

1. ปรับความห่างของเบาะให้พอดี

อันดับแรกคุณจะต้องปรับระยะห่างของเบาะกับเบรก และระยะห่างของคันเร่งให้พอดี โดยปรับเบาะให้เข่างอตัวเพียงเล็กน้อย เอาแบบสบายๆ ไม่ต้องเกร็งจนเกินไปนะครับ ส่วนระยะห่างการจับพวงมาลัยจะต้องพอดีเช่นกัน เพราะมันจะช่วยทำให้คุณจับพวงมาลัยได้ง่าย และปลอดภัยขณะขับรถนั่นเอง

2. อย่าลืมปรับความสูงของเบาะด้วย

ต่อมาให้ปรับความสูงของเบาะให้พอดีระดับสายตาด้วย อย่างเช่น ถ้าเราเป็นคนที่ตัวเล็กเวลามองอาจจะไม่ค่อยเห็นชัดก็ต้องเพิ่มความสูงของเบาะ แต่ถ้าเราคนที่ตัวสูงก็อาจจะต้องลดระดับความสูงของเบาะ เพื่อช่วยให้คุณมองเห็นเส้นทางง่ายขึ้น

3. ปรับพนักพิงให้พอดีกับแผ่นหลัง

หากคุณอยากนั่งให้สบายๆ และปลอดภัยขณะขับขี่ด้วย ก็ลองปรับพนักพิงเอน 110 องศาก่อนสิ! เพียงแค่ปรับให้พอดีกับแผ่นหลังของคุณ และเอามือไปวางบนพวงมาลัยได้ถนัด มันจะช่วยให้คุณไม่เกร็งขณะขับรถนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อความสบายขึ้น เราสามารถปรับหัวเบาะ หรือหัวหมอนให้พอดีกับศีรษะคุณด้วย เวลาคุณเกิดเบรกกระทันหัน จะช่วยลดแรงกระแทกได้ดี และบรรเทาอาการปวดเมื่อยต้นคอ

How-To-Adjust-Seating-For-Driving

4. จับพวงมาลัย 3 และ 9 นาฬิกา

ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการขับรถเลยล่ะ เพราะพวงมาลัยเป็นอุปกรณ์ในการควบคุมทิศทางของรถยนต์ กรณีที่คุณจับพวงมาลัยไม่ถูกวิธี จะทำให้คุณบังคับทิศทางยาก โดยแนะนำให้เราจับพวงมาลัยตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา จะช่วยให้หมุนพวงมาลัยได้เร็ว และไม่หลุดมือด้วย

5. ปรับกระจกข้างและกระจกหลัง

เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่เราจะขับรถยนต์ก็ต้องปรับกระจกมองข้างและกระจกมองหลังให้ชัดเจน ถ้าเราปรับกระจกไม่พอดีกับตำแหน่งอาจจะทำให้คุณเสียหลักในการทรงตัว อีกทั้งอันตรายต่อตัวผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันด้วย

6. คาดเข็มขัดนิรภัยก่อนขับรถ

สุดท้ายก่อนออกเดินทาง เพื่อนๆ อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยกันด้วยนะครับ เพื่อความปลอดภัยขณะขับขี่ แถมไม่โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกปรับด้วย เพียงแค่คุณดึงสายเข็มขัดนิรภัยมาพาดเฉียงไล่ลงมาที่สะโพก หลังจากนั้นก็ล็อกสายเข็มขัดนิรภัยให้แน่น แล้วตรวจสอบด้วยนะครับว่าสายเข็มขัดล็อคแน่นหรือไม่ มันจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ดีเลยล่ะ

หลังจากเราปรับท่านั่งขับรถให้ถูกวิธีแล้ว มันจะช่วยให้เราควบคุมการขับขี่ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่คุณจับพวงมาลัย เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก หรือวิสัยทัศน์ในการมองเห็น เป็นต้น ถือว่าสำคัญในการขับรถยนต์มากๆ เพราะนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวคุณ ยังเพิ่มความสะดวกสบายขณะขับรถอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรเพื่อนๆ ก็อย่าลืมทำประกันรถยนต์ด้วยนะ จะได้มีคนคอยช่วยดูแลทั้งรถทั้งคุณตลอดเส้นทาง มีเผื่อไว้ก่อน ย่อมอุ่นใจกว่าเนอะ!!

ขอบคุณข้อมูลจาก : frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

ขณะขับรถ การเกิดอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ทุกวินาทีมีความเสี่ยงทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการเลือกรถเพื่อมาใช้งานในชีวิตประจำวัน ให้ได้ระดับมาตฐานความปลอดภัยของรถจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม จะให้หวังเชื่อจากผู้ผลิตข้างเดียวก็เชื่อไม่ได้ทั้งหมด รวมถึงการดูค่าการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูจากสถาบันที่เป็นกลาง

เนื่องจากความปลอดภัยนั้นสำคัญ ทำให้ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ค่ายรถต่างๆ ทุ่มทุนกันพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ออกมามากมาย บางอย่างนั้นอาจใช้กันจนเป็นเรื่องสามัญไปแล้ว จนไม่รู้ว่า อุปกรณ์ชนิดนี้ ใครคนนั้น? เป็นผู้คิดค้นมันขึ้นมา

วันนี้ MR.CARRO จะมานำเสนอ 5 สิ่งแรกในรถยนต์ที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย ที่ต่อมารถทุกค่ายต่างต้องนำมาใช้กันหมด มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

1. เข็มขัดนิรภัย

เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์สามัญประจำรถยุคใหม่ ที่ทุกคันจะต้องมี เพราะสามารถปกป้องชีวิตของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้อย่างมาก

นับตั้งแต่การคิดค้นของ George Cayley วิศวกรชาวอังกฤษช่วงกลางศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังไม่ได้ต่อยอดอะไร มาจนถึงปี 1946 Dr. C. Hunter Shelden แห่ง Huntington Memorial Hospital ในเมือง Pasadena รัฐแคลิฟอเนีย จึงเริ่มทำการศึกษาถึงการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในรถ ต่อมาในปี 1949 รถยนต์ยี่ห้อ Nash และ Ford ในปี 1955 จึงมีการนำเสนอ “เข็มขัดนิรภัย” ในรูปแบบของอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติม

จากนั้นในปี 1958 SAAB ผู้ผลิตรถยนต์จากสวีเดน จึงเริ่มติดตั้งในรถรุ่น GT 750

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่ และผลงานที่ “เปลี่ยนโลก” ของรถยนต์

ต่อมาในปี 1959 เข็มขัดนิรภัย 3 จุด (Three-Point Safety Belt) จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยแนวคิดของ Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่ ที่ศึกษาการอุบัติเหตุมามากถึง 28,000 เคส ก่อนจะมาพัฒนาเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรุ่น Amazons และ PV544 สำหรับตลาดสแกนดิเนเวีย

หลังจากที่วอลโว่ได้ยกเลิกสิทธิบัตรที่เป็นเจ้าของเข็มขัดนิรภัย 3 จุดลง ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกๆ ต่างนำนวัตกรรมชิ้นนี้มาใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และพัฒนาต่อยอดเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

1.ถุงลมนิรภัยด้านคนขับ / ผู้โดยสาร 2.ถุงลมนิรภัยบริเวณเข่า 3.ถุงลมนิรภัยด้านข้าง 4.ม่านนิรภัย

2. ถุงลมนิรภัย

การขับรถในสมัยก่อน คนขับและผู้โดยสารมักได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะมาจากการถูกพวงมาลัยกระแทกอัดหน้าอก หรือแผงคอนโซลหน้ากระแทก

Airbag หรือ ถุงลมนิรภัย เริ่มผลิตออกมามีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยอากาศ ผลิตขึ้นอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 1941 ต่อมาในปี 1951 วอลเตอร์ ลินเดอเรอ วิศวกรชาวเยอรมัน ได้ทำการออกแบบถุงลมนิรภัยขึ้น และยื่นขอจดสิทธิบัตรของเยอรมันหมายเลขที่ # 896312 เมื่อ 6 ตุลาคม 1951 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1953 ประมาณสามเดือนหลังจากที่ชาวอเมริกัน John Hetrick ได้ขอสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา หมายเลขที่ # 2649311 ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 สิงหาคม 1953 แต่ก็ยังใช้ในเชิงพาณิชย์ไม่ได้

ทางฝั่งญี่ปุ่นในปี 1964 Yasuzaburou Kobori ก็ได้เริ่มพัฒนาถุงลมนิรภัยขึ้นเช่นกัน ด้วยระบบ “Safety Net”

จนกระทั่งปี 1971 จึงได้ทดลองนำมาติดตั้งในรถ Ford ติดตั้งในกลุ่มของรถยนต์ทดลองที่เรียกว่า Experimental Fleet of Car

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

หลังจากนั้น GM จึงริเริ่มนำถุงลมนิรภัย มาใช้อย่างจริงจังในรถตัวเองเป็นเจ้าแรกๆ ของโลก โดยเรียกถุงลมนิรภัยว่า ACRS (Air Cushion Restraint System) และติดตั้งครั้งแรกใน 1973 Chevrolet Impala ก่อนที่จะติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานพิเศษ ในรถ Oldsmobile, Buick และ Cadillac

ในอดีต ถุงลมนิรภัยยังมีราคาแพงมาก จึงมีการติดตั้งให้เฉพาะรถยนต์ในรุ่น Top เท่านั้น ก่อนจะเงียบหายไปและเริ่มมาพัฒนากันใหม่ในช่วงปลายๆ ยุค 80 โดยรถยุโรปรุ่นแรกๆ ที่มีถุงลมนิรภัยติดตั้งให้ คือ Mercedes-Benz S-Class (W126) รุ่นปี 1981 และ Ford ที่เริ่มติดตั้งแต่มาตรฐานสามัญครั้งแรก (คือติดตั้งในรถทุกรุ่น ไม่ใช่เฉพาะรถหรูๆ อีกต่อไป) ได้แก่รถรุ่น Ford Escort (Mk5)

หลังจากนั้นก็ใช้เวลานานกว่า 20 ปีได้ กว่าที่ถุงลมนิรภัย จะกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสามัญ ที่ต้องมีในรถทุกคัน เป็นสิ่งที่อยากได้ แต่ไม่อยากใช้ รวมไปถึงการคิดค้นถุงลมนิรภัยในจุดต่างๆ เพิ่มอีกด้วย เช่น ถุงลมนิรภัยด้านข้าง (มีครั้งแรก ในรถ Volvo 850 ปี 1995) ถุงลมนิรภัยบริเวณเข่า (มีครั้งแรก ในรถ KIA Sportage ปี 1995) ม่านนิรภัย (มีครั้งแรก ในรถ BMW ซีรี่ส์ 5 และ ซีรี่ส์ 7 ปี 1997) หรือแม้กระทั่งถุงนิรภัยสำหรับคนเดินเท้า เมื่อเกิดการชนจากภายนอก (มีครั้งแรก ในรถ Volvo V40 ปี 2012)

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

3. ระบบเบรก ABS

นับตั้งแต่ระบบเบรกในรถยนต์ของเรา เริ่มตั้งแต่ใช้ระบบดรัมเบรกกันเป็นหลัก ต่อมาจึงเริ่มหันมาใช้ดิสก์เบรกหน้า (ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานครั้งแรกในปี 1950 ในรถ Chrysler Crown และ Town & Country) จนกระทั่งรถหลายรุ่น เริ่มใช้ระบบดิสก์เบรก 4 ล้อ ที่เพิ่มความปลอดภัยและมั่นใจในการขับขี่มากขึ้น

แต่ดิสก์เบรก 4 ล้อ เวลาเบรกในที่ลื่น บนพื้นน้ำ หรือเบรกกะทัน รถมักจะประสบกับปัญหา “ล้อล็อคตาย” ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยๆ จึงมีการวิจัยและพัฒนา “ระบบเบรก ABS” ขึ้นมา โดย Mercedes-Benz S-Class (W116) เป็นผู้ริเริ่มการใช้ระบบเบรก ABS เป็นเจ้าแรกของโลกในปี 1978 ซึ่งได้ Bosch เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นนี้ให้

ซึ่งภายหลัง ระบบเบรก ABS ก็กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่รถทั่วโลกต้องมีให้ อีกทั้งยังพัฒนาต่อยอดไปเป็นระบบต่างๆ อีกด้วย เช่น ระบบ EBD (ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก), ระบบ ESP / ESC (ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว) และระบบ BA (ระบบเสริมแรงเบรก) เป็นต้น

Audi-Quartz

4. ไฟหน้าโปรเจคเตอร์ / ไฟตาเพชร

ไฟหน้าโปคเจคเตอร์ ยอดฮิตสุดๆ สำหรับรถสมัยนี้ ที่เราเห็นกันจนชินไม่ใช่เรื่องแปลกตาอะไร

ต้นกำเนิดของมันครั้งแรกอยู่ในรถ Audi Quartz ซึ่งเป็นรถต้นแบบของ Audi ที่ออกแบบโดย Pininfarina ในปี 1981 ภายหลังจึงเริ่มใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานครั้งแรกในรถรุ่น BMW 7 Series (E32) เมื่อปี 1986 และในส่วนของไฟหน้ารถที่มีไฟ Projector แบบคู่เป็นครั้งแรกของโลก คงต้องยกให้กับ Nissan Silvia (S13) ที่ผลิตขึ้นโดย Ichikoh

ส่วนต้นกำเนิดของ “ไฟตาเพชร” ที่ช่วยให้แสงสว่างสะท้อนออกมาได้มากขึ้น ขับรถได้อย่างปลอดภัยขึ้น กับแผ่น Refector แบบใสทำมุมต่างๆ แบบ Palabora (ภาคตัดกรวย) ภายในโคมไฟ เริ่มใช้ครั้งแรกในรถ Austin Maestro ปี 1983 ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Lucas-Carello แต่ก็รูปแบบของไฟ ก็ยังเป็นแบบโคมแก้วอยู่

Honda-Accord-CB-JDM

มาจนถึงปี 1989 ทาง Honda จึงได้เริ่มใช้ชุดไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ (หรือแบบเคลียร์เลนส์) ซึ่งพัฒนาโดย Stanley ใช้โคมแบบพลาสติก ที่ให้ความสว่างมากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ในรถรุ่น Honda Accord หรือที่บ้านเรารู้จักกันในรุ่น “Accord ตาเพชร” นั่นเอง!

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

5. พนักพิงศีรษะ

พนักพิงศีรษะ เริ่มคิดค้นพัฒนาเมื่อปี 1921 โดย Benjamin Katz แต่ก็ไม่ได้ต่อยอด ต่อมาในปัจจุบัน อุปกรณ์ชิ้นนี้ ที่หลายคนอาจจะเฉยๆ เพราะว่ามันมีติดตั้งมากับเบาะนั่งอยู่แล้ว แต่รถเก่าๆ สมัยก่อน ไม่มีนะครับ!

พนักพิงศีรษะ มีใช้กันจริงๆ จังๆ ก็ในยุค 70 ที่ผ่านมานี่เอง เนื่องจากทาง National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ได้บังคับให้รถทุกคันที่ขายในสหรัฐอเมริกา หลังจากวันที่ 1 มกราคม 1969 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งพนักพิงศีรษะมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ สามารถขายคันเดิมกับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาบางส่วนจาก: