7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรถในยุคปัจจุบัน ต้องบอกก่อนเลยว่าพัฒนาดีกว่ารถยนต์ในเมื่อยุค 20 ปีที่แล้ว หรือ 10 ปีที่แล้วมาก อีกทั้งอุปกรณ์มาตรฐานความปลอดภัยที่เคยเป็นของรถยนต์ “ราคาแพง” เมื่อการผลิต เทคโนโลยีได้พัฒนาไปไกล และการผลิตจำนวน ทำให้ต้นทุนถูกลง บวกกับข้อกฎหมายบังคับในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ระบบความปลอดภัยหลายอย่าง มีติดตั้งมาในรถตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น

สำหรับรถยนต์อีกหนึ่งประเภทที่คนไทยนิยมกันทั้งในรูปแบบรถป้ายแดง หรือรถมือสอง คงต้องยกให้ “รถ Eco-Car” (รถอีโค่คาร์) ซึ่งเป็นรถที่ตอบโจทย์คนทำงานในเมือง ด้วยความอเนกประสงค์ในการใช้งาน เครื่องยนต์ขนาดเล็ก ประหยัดน้ำมัน แต่ให้กำลังที่เพียงพอต่อการใช้งาน รวมไปถึงค่าบำรุงรักษาที่ไม่แพง

และรถยนต์ Eco-Car ทุกรุ่น คุณภาพไม่ได้น้อยเหมือนราคาตัวรถ แต่ละค่ายต่างก็อัดฟังก์ชั่นต่างๆ มาในรถกันเต็มที่ และยิ่งในช่วงหน้าฝน ฟังก์ชั่นต่างๆ นี้ย่อมได้ใช้ประโยชน์แน่นอน

Mr.Carro เลยขอนำเสนอ 7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน ให้คุณรู้ว่า ที่ติดรถมา ใช้ประโยชน์ตอนไหนได้บ้าง …

7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน

1. ปัดน้ำฝนหลัง

ปัดน้ำฝนหลัง เป็นอุปกรณ์ธรรมดาสามัญสำหรับรถ Eco-Car แบบ Hatchback ท้ายตัดมาแต่ไหนแต่ไร ที่หลายคนอาจมองไม่เห็นความสำคัญ ว่ามันก็เป็นจุดเด่นได้เหมือนกัน!

เหตุผลที่มีปัดน้ำฝนหลังสำหรับรถ Eco-Car แบบ Hatchback ก็เพราะว่า รถยนต์ท้ายตัด จะเกิดลมวนบริเวณท้ายรถค่อนข้างมาก ยิ่งเวลาขับรถด้วยความเร็วสูง ลมที่วนมักจะพัดเอาน้ำที่กระเซ็นขึ้นมาจากล้อ ไปเป็นละลองน้ำอยู่บนกระจกบานหลัง ทำให้ทัศนวิสัยแย่ลง

คือถ้าไม่มีปัดน้ำฝนหลังใช้งาน เวลาขับรถตอนฝนตก ตอนเลี้ยว หรือเปลี่ยนเลน คงลำบากหน่อย เมื่อต้องสังเกตรถที่มาจากทางด้านหลังผ่านกระจกมองหลัง

2. ไฟตัดหมอก

ไฟตัดหมอก เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่รถ Eco-Car มีติดตั้งมาให้ในหลายๆ รุ่น ซึ่งนอกจากจะใช้ในช่วงหมอกลงจัดแล้ว ยังพอใช้ในช่วงที่เกิดฝนตกหนัก หรือหนักมาก (เท่านั้น) ได้อีกด้วย ซึ่งในรถบางรุ่น อาจติดตั้งไฟตัดหมอกหลัง มาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานอีกด้วย

แต่ข้อควรรู้ เมื่อฝนเริ่มซาลง มองเห็นทัศนวิสัยด้านหน้าได้ชัดเจนขึ้น ให้ปิดไฟตัดหมอกทันที เพราะแสงจากไฟตัดหมอกจะไปแยงตารบกวนรถคันที่วิ่งสวนมา! และไม่ควรเปิดพร่ำเพรื่อ เพราะอาจโดนตำรวจจับได้

7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน

3. ระบบเบรก ABS / EBD และระบบเสริมแรงเบรก BA

ระบบเบรก ABS จากที่เคยมีในรถราคาแพง ตอนนี้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่รถ Eco-Car ทุกรุ่นต้องมีให้ ถ้าไม่มีก็เชยแย่เลย

อีกทั้งยังพัฒนาต่อยอดไปเป็นระบบต่างๆ อีกด้วย เช่น ระบบ EBD (ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก), ระบบ ESP / ESC (ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว) และระบบ BA (ระบบเสริมแรงเบรก) เป็นต้น

4. ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (หรือ ESC / ESP)

ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (Vehicle Stability Control หรือ Electronic Stability Program) จะช่วยให้คุณทรงตัวรถได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงต้องเร่งความเร็ว และการเข้าโค้ง ระบบนี้จะช่วยลดการลื่นไถล มุดโค้ง หรือแหกโค้งไปได้

จัดเป็นระบบความปลอดภัยเชิงป้องกัน ใช้ได้ดีในช่วงฝนตก และยังทำงานร่วมกับระบบ TRC และ ABS/EBD กับ BA อีกด้วย

7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน

5. ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC

ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC (Traction Control System) จะช่วยให้คุณคุมรถตอนฝนตกได้ดีขึ้น เนื่องจากกล่อง ECU จะตรวจจับการทำงานร่วมกับระบบ VSC เมื่อพบว่าล้อใดล้อหนึ่งที่หมุนเร็วกว่าล้อฝั่งอื่นๆ พร้อมส่งสัญญาณไปยังระบบเบรกให้สร้างแรงดันน้ำมันเบรก ไปชะลอความเร็วล้อหลัง และลดกำลังรอบเครื่องยนต์ให้เบาลง

ป้องกันอาการท้ายปัดหรือลื่นของรถ ทั้งในช่วงการออกตัว เข้าโค้ง เมื่อต้องขับด้วยความเร็วในช่วงฝนตก หรือเลี้ยวโค้งช่วงทางโค้ง เป็นต้น ซึ่งจะมีสวิทช์อยู่แถวๆ ด้านคนขับ คุณสามารถเปิด-ปิด การใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้

6. ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน LDA

ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน LDA (Lane Departure Alert) จากฟังก์ชั่นที่มีในรถราคาแพงๆ เมื่อครั้งอดีต ตอนนี้ก็มีเป็นมาตรฐานในรถ Eco-Car ซึ่งถือว่าถือประโยชน์เวลาขับรถตอนฝนตกครับ

ระบบดังกล่าวนี้ จะทำงานร่วมกับกล้องจับภาพหน้ารถที่บริเวณกระจกบังลมหน้า โดยตัวกล้องจะคอยตรวจจับเส้นของช่องทางการเดินรถ (เมื่อรถคุณใช้ความเร็วเกิน 50 กม./ชม. ขึ้นไป ระบบจะเริ่มทำงาน) และส่งเสียงเตือนเมื่อรถคุณไถลออกนอกเลน ยามเกิดถนนลื่น หรือเผลอหลับจนรถเป๋ออก ซึ่งจะมีสวิทช์อยู่แถวๆ ด้านคนขับเช่นกัน คุณสามารถเปิด-ปิด การใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้

7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน

7. ถุงลมนิรภัย SRS คู่หน้า / ด้านข้าง / ม่านนิรภัยด้านข้าง / หัวเข่าฝั่งคนขับ

ถุงลมนิรภัย ถือเป็นของสามัญในรถ Eco-Car ทุกรุ่น ที่จะช่วยปกป้องชีวิตคุณ ในยามที่ขับรถตอนฝนตกลื่นๆ ได้

จากเดิมที่มีแค่ด้านคนขับ ก็เพิ่มมาทั้งฝั่งผู้โดยสาร ถุงลมนิรภัยด้านข้าง ม่านนิรภัยด้านข้าง และในบางรุ่นยังมีถุงลมนิรภัยบริเวณหัวเข่าด้านคนขับอีกด้วย

7 ฟังก์ชั่นเด่นๆ ในรถ Eco-Car ที่มีแล้วอุ่นใจ ในการขับรถช่วงหน้าฝน

ที่สำคัญ หน้าฝนนี้ ต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง มีสติ ใช้ความเร็วไม่ต้องมาก แค่นี้ก็ปลอดภัยทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทางแล้วล่ะครับ

และสำหรับรถ Eco-Car รุ่นที่มีฟังก์ชั่นดังกล่าว ใน CARRO Automall ก็มีรถให้เลือกมากมายหลายรุ่น ได้แก่ Toyota Yaris, Toyota Yaris ATIV, Nissan March, Nissan Almera, Nissan Note, Mitsubishi Mirage, Mitsubishi Attrage, Suzuki Celerio, Suzuki Swift หรือ Mazda2 เป็นต้น

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

CARRO Automall

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

ขณะขับรถ การเกิดอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ทุกวินาทีมีความเสี่ยงทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการเลือกรถเพื่อมาใช้งานในชีวิตประจำวัน ให้ได้ระดับมาตฐานความปลอดภัยของรถจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม จะให้หวังเชื่อจากผู้ผลิตข้างเดียวก็เชื่อไม่ได้ทั้งหมด รวมถึงการดูค่าการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูจากสถาบันที่เป็นกลาง

เนื่องจากความปลอดภัยนั้นสำคัญ ทำให้ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ค่ายรถต่างๆ ทุ่มทุนกันพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ออกมามากมาย บางอย่างนั้นอาจใช้กันจนเป็นเรื่องสามัญไปแล้ว จนไม่รู้ว่า อุปกรณ์ชนิดนี้ ใครคนนั้น? เป็นผู้คิดค้นมันขึ้นมา

วันนี้ MR.CARRO จะมานำเสนอ 5 สิ่งแรกในรถยนต์ที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย ที่ต่อมารถทุกค่ายต่างต้องนำมาใช้กันหมด มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

1. เข็มขัดนิรภัย

เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์สามัญประจำรถยุคใหม่ ที่ทุกคันจะต้องมี เพราะสามารถปกป้องชีวิตของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้อย่างมาก

นับตั้งแต่การคิดค้นของ George Cayley วิศวกรชาวอังกฤษช่วงกลางศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังไม่ได้ต่อยอดอะไร มาจนถึงปี 1946 Dr. C. Hunter Shelden แห่ง Huntington Memorial Hospital ในเมือง Pasadena รัฐแคลิฟอเนีย จึงเริ่มทำการศึกษาถึงการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในรถ ต่อมาในปี 1949 รถยนต์ยี่ห้อ Nash และ Ford ในปี 1955 จึงมีการนำเสนอ “เข็มขัดนิรภัย” ในรูปแบบของอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติม

จากนั้นในปี 1958 SAAB ผู้ผลิตรถยนต์จากสวีเดน จึงเริ่มติดตั้งในรถรุ่น GT 750

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่ และผลงานที่ “เปลี่ยนโลก” ของรถยนต์

ต่อมาในปี 1959 เข็มขัดนิรภัย 3 จุด (Three-Point Safety Belt) จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยแนวคิดของ Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่ ที่ศึกษาการอุบัติเหตุมามากถึง 28,000 เคส ก่อนจะมาพัฒนาเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรุ่น Amazons และ PV544 สำหรับตลาดสแกนดิเนเวีย

หลังจากที่วอลโว่ได้ยกเลิกสิทธิบัตรที่เป็นเจ้าของเข็มขัดนิรภัย 3 จุดลง ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกๆ ต่างนำนวัตกรรมชิ้นนี้มาใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และพัฒนาต่อยอดเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

1.ถุงลมนิรภัยด้านคนขับ / ผู้โดยสาร 2.ถุงลมนิรภัยบริเวณเข่า 3.ถุงลมนิรภัยด้านข้าง 4.ม่านนิรภัย

2. ถุงลมนิรภัย

การขับรถในสมัยก่อน คนขับและผู้โดยสารมักได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะมาจากการถูกพวงมาลัยกระแทกอัดหน้าอก หรือแผงคอนโซลหน้ากระแทก

Airbag หรือ ถุงลมนิรภัย เริ่มผลิตออกมามีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยอากาศ ผลิตขึ้นอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 1941 ต่อมาในปี 1951 วอลเตอร์ ลินเดอเรอ วิศวกรชาวเยอรมัน ได้ทำการออกแบบถุงลมนิรภัยขึ้น และยื่นขอจดสิทธิบัตรของเยอรมันหมายเลขที่ # 896312 เมื่อ 6 ตุลาคม 1951 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1953 ประมาณสามเดือนหลังจากที่ชาวอเมริกัน John Hetrick ได้ขอสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา หมายเลขที่ # 2649311 ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 สิงหาคม 1953 แต่ก็ยังใช้ในเชิงพาณิชย์ไม่ได้

ทางฝั่งญี่ปุ่นในปี 1964 Yasuzaburou Kobori ก็ได้เริ่มพัฒนาถุงลมนิรภัยขึ้นเช่นกัน ด้วยระบบ “Safety Net”

จนกระทั่งปี 1971 จึงได้ทดลองนำมาติดตั้งในรถ Ford ติดตั้งในกลุ่มของรถยนต์ทดลองที่เรียกว่า Experimental Fleet of Car

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

หลังจากนั้น GM จึงริเริ่มนำถุงลมนิรภัย มาใช้อย่างจริงจังในรถตัวเองเป็นเจ้าแรกๆ ของโลก โดยเรียกถุงลมนิรภัยว่า ACRS (Air Cushion Restraint System) และติดตั้งครั้งแรกใน 1973 Chevrolet Impala ก่อนที่จะติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานพิเศษ ในรถ Oldsmobile, Buick และ Cadillac

ในอดีต ถุงลมนิรภัยยังมีราคาแพงมาก จึงมีการติดตั้งให้เฉพาะรถยนต์ในรุ่น Top เท่านั้น ก่อนจะเงียบหายไปและเริ่มมาพัฒนากันใหม่ในช่วงปลายๆ ยุค 80 โดยรถยุโรปรุ่นแรกๆ ที่มีถุงลมนิรภัยติดตั้งให้ คือ Mercedes-Benz S-Class (W126) รุ่นปี 1981 และ Ford ที่เริ่มติดตั้งแต่มาตรฐานสามัญครั้งแรก (คือติดตั้งในรถทุกรุ่น ไม่ใช่เฉพาะรถหรูๆ อีกต่อไป) ได้แก่รถรุ่น Ford Escort (Mk5)

หลังจากนั้นก็ใช้เวลานานกว่า 20 ปีได้ กว่าที่ถุงลมนิรภัย จะกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสามัญ ที่ต้องมีในรถทุกคัน เป็นสิ่งที่อยากได้ แต่ไม่อยากใช้ รวมไปถึงการคิดค้นถุงลมนิรภัยในจุดต่างๆ เพิ่มอีกด้วย เช่น ถุงลมนิรภัยด้านข้าง (มีครั้งแรก ในรถ Volvo 850 ปี 1995) ถุงลมนิรภัยบริเวณเข่า (มีครั้งแรก ในรถ KIA Sportage ปี 1995) ม่านนิรภัย (มีครั้งแรก ในรถ BMW ซีรี่ส์ 5 และ ซีรี่ส์ 7 ปี 1997) หรือแม้กระทั่งถุงนิรภัยสำหรับคนเดินเท้า เมื่อเกิดการชนจากภายนอก (มีครั้งแรก ในรถ Volvo V40 ปี 2012)

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

3. ระบบเบรก ABS

นับตั้งแต่ระบบเบรกในรถยนต์ของเรา เริ่มตั้งแต่ใช้ระบบดรัมเบรกกันเป็นหลัก ต่อมาจึงเริ่มหันมาใช้ดิสก์เบรกหน้า (ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานครั้งแรกในปี 1950 ในรถ Chrysler Crown และ Town & Country) จนกระทั่งรถหลายรุ่น เริ่มใช้ระบบดิสก์เบรก 4 ล้อ ที่เพิ่มความปลอดภัยและมั่นใจในการขับขี่มากขึ้น

แต่ดิสก์เบรก 4 ล้อ เวลาเบรกในที่ลื่น บนพื้นน้ำ หรือเบรกกะทัน รถมักจะประสบกับปัญหา “ล้อล็อคตาย” ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยๆ จึงมีการวิจัยและพัฒนา “ระบบเบรก ABS” ขึ้นมา โดย Mercedes-Benz S-Class (W116) เป็นผู้ริเริ่มการใช้ระบบเบรก ABS เป็นเจ้าแรกของโลกในปี 1978 ซึ่งได้ Bosch เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นนี้ให้

ซึ่งภายหลัง ระบบเบรก ABS ก็กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่รถทั่วโลกต้องมีให้ อีกทั้งยังพัฒนาต่อยอดไปเป็นระบบต่างๆ อีกด้วย เช่น ระบบ EBD (ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก), ระบบ ESP / ESC (ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว) และระบบ BA (ระบบเสริมแรงเบรก) เป็นต้น

Audi-Quartz

4. ไฟหน้าโปรเจคเตอร์ / ไฟตาเพชร

ไฟหน้าโปคเจคเตอร์ ยอดฮิตสุดๆ สำหรับรถสมัยนี้ ที่เราเห็นกันจนชินไม่ใช่เรื่องแปลกตาอะไร

ต้นกำเนิดของมันครั้งแรกอยู่ในรถ Audi Quartz ซึ่งเป็นรถต้นแบบของ Audi ที่ออกแบบโดย Pininfarina ในปี 1981 ภายหลังจึงเริ่มใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานครั้งแรกในรถรุ่น BMW 7 Series (E32) เมื่อปี 1986 และในส่วนของไฟหน้ารถที่มีไฟ Projector แบบคู่เป็นครั้งแรกของโลก คงต้องยกให้กับ Nissan Silvia (S13) ที่ผลิตขึ้นโดย Ichikoh

ส่วนต้นกำเนิดของ “ไฟตาเพชร” ที่ช่วยให้แสงสว่างสะท้อนออกมาได้มากขึ้น ขับรถได้อย่างปลอดภัยขึ้น กับแผ่น Refector แบบใสทำมุมต่างๆ แบบ Palabora (ภาคตัดกรวย) ภายในโคมไฟ เริ่มใช้ครั้งแรกในรถ Austin Maestro ปี 1983 ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Lucas-Carello แต่ก็รูปแบบของไฟ ก็ยังเป็นแบบโคมแก้วอยู่

Honda-Accord-CB-JDM

มาจนถึงปี 1989 ทาง Honda จึงได้เริ่มใช้ชุดไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ (หรือแบบเคลียร์เลนส์) ซึ่งพัฒนาโดย Stanley ใช้โคมแบบพลาสติก ที่ให้ความสว่างมากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ในรถรุ่น Honda Accord หรือที่บ้านเรารู้จักกันในรุ่น “Accord ตาเพชร” นั่นเอง!

5-World-First-Safety-Equipment-In-Car

5. พนักพิงศีรษะ

พนักพิงศีรษะ เริ่มคิดค้นพัฒนาเมื่อปี 1921 โดย Benjamin Katz แต่ก็ไม่ได้ต่อยอด ต่อมาในปัจจุบัน อุปกรณ์ชิ้นนี้ ที่หลายคนอาจจะเฉยๆ เพราะว่ามันมีติดตั้งมากับเบาะนั่งอยู่แล้ว แต่รถเก่าๆ สมัยก่อน ไม่มีนะครับ!

พนักพิงศีรษะ มีใช้กันจริงๆ จังๆ ก็ในยุค 70 ที่ผ่านมานี่เอง เนื่องจากทาง National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ได้บังคับให้รถทุกคันที่ขายในสหรัฐอเมริกา หลังจากวันที่ 1 มกราคม 1969 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งพนักพิงศีรษะมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ สามารถขายคันเดิมกับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

Caution-7-Button-In-Cars

รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน มักมีระบบอำนวยความสะดวกในรูปแบบปุ่มกดหรือระบบสัมผัส ซึ่งบางปุ่มเกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยของรถ ที่ค่อนข้างมากมาย และมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงขอเตือน 7 ปุ่มในรถ หากเผลอกดหรือใช้งานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ได้แก่

1.ปุ่มเปิดไฟสูง

Headlight-Lamp

ปุ่มเปิดไฟสูง สถานการณ์ที่ควรใช้ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มืดมาก จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น หรือส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ขับรถคันอื่นเพิ่มความระมัดระวังอันตรายจากการเปิดไฟสูงค้าง ไฟสูงมีลำแสงเข้มและพุ่งตรงไปด้านหน้า ทำให้ผู้ขับรถคันอื่นสายตาพร่ามัว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

2.ปุ่มปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย

Airbag-On-Off-Switch

ปุ่มปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย ควรใช้ กรณีติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยเด็กบริเวณเบาะด้านหน้า เพื่อป้องกันถุงลมนิรภัยทำงานกรณีประสบอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัยจะพองตัวและพุ่งกระแทกใส่เด็ก ทำให้ขาดอากาศหายใจ และได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น อันตรายจากการปิดปุ่ม กรณีประสบอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้า ถุงลมนิรภัยจะไม่ทำงาน ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า ได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น

3.ปุ่มไฟตัดหมอก

Fog-Lamp-Button

ปุ่มไฟตัดหมอก ควรใช้ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มีฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด รวมถึงการขับรถในช่วงกลางคืนหลังฝนตก หรือถนนมีน้ำเฉอะแฉะ เพื่อลดการสะท้อนของแสงไฟหน้ารถกับพื้นถนน จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น อันตรายจากการเปิดไฟตัดหมอกค้างไว้ แสงไฟตัดหมอกจะส่องสว่างได้ในระยะไกล ทำให้ผู้ขับรถคันอื่นสายตาพร่ามัว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

4.ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า

Parking-Brake-Button

ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า ควรใช้ เหมาะสำหรับจอดรถบริเวณทางลาดชัน จะช่วยให้ล้อล็อคอยู่กับที่ และป้องกันรถไหล ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากเปิดใช้ในขณะขับขี่ ระบบเบรกมือจะทำงานทันที แม้จะมีวงจรปลดล็อคอัตโนมัติในขณะที่ล้อหมุน แต่อาจทำให้ผู้ขับขี่ตกใจ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

5.ปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ

Bonnet-Button

ปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ ควรใช้ เมื่อต้องตรวจสอบเครื่องยนต์ หรือรถมีอาการผิดปกติ อาทิ การเติมน้ำหล่อเย็น การเปลี่ยนสายพานหรือแบตเตอรี่ การเติมน้ำมันเบรก โดยดับเครื่องยนต์และจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมดึงเบรกมือ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ กรณีลืมปิดปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ เมื่อขับรถด้วยความเร็วสูง แรงลมปะทะจะทำให้สลักยึดฝากระโปรงหลุด ส่งผลให้ฝากระโปรงเปิด และบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

6.ปุ่มเปิดกระโปรงท้ายรถ

Trunk-Open

ปุ่มเปิดกระโปรงท้ายรถ ควรใช้ กรณีต้องจัดเก็บสิ่งของไว้บริเวณกระโปรงท้ายรถ และควรปิดให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน กรณีปิดกระโปรงท้ายรถไม่สนิท ในขณะรถวิ่ง อาจทำให้สิ่งของที่อยู่บริเวณกระโปรงท้ายรถร่วงหล่นกีดขวางช่องทาง ส่งผลให้รถที่วิ่งตามหลังมา ต้องหักหลบกะทันหัน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่หากลืมปิดฝากระโปรงท้ายรถขณะจอดรถเป็นเวลานาน อาจทำให้แบตเตอรี่หมดได้

7.ปุ่มระบบป้องกันล้อหมุนฟรี

VSC-VSA-ESP-Button

ปุ่มระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (ระบบ ESP/VSC/VSA ที่แล้วแต่ผู้ผลิตรถแต่ละค่ายจะเรียก) ควรใช้ในขณะที่รถออกตัวหรือเหยียบคันเร่งบนเส้นทางเปียกลื่นหรือทางลูกรัง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวของรถ และป้องกันล้อหมุนฟรี ส่งผลให้รถมีการทรงตัวที่สมดุลในทุกเส้นทาง

กรณีปิดระบบ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่เปียกลื่นหรือเป็นทางลูกรัง อาจทำให้รถมีอาการปัดหรือลื่นไถล จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่รุนแรงมากขึ้น ในทางกลับกัน กรณีขับรถผ่านทางโคลน หรือออกจากหล่มโคลน การปิดระบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลื่อนรถออกจากหล่ม

ทั้งนี้ การใส่ใจเรียนรู้ระบบการทำงานของรถ โดยเฉพาะปุ่มต่างๆ ในรถที่เกี่ยวข้องกับระบบอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย จะช่วยลดอันตรายและความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ….