Toyota-Vios-เอามาทำแท็กซี่ได้ยังไง

นับตั้งแต่ Toyota Soluna มาจนถึง Toyota Vios ผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว ก็ยังมีคนสงสัยว่า “เอา Vios มาทำแท็กซี่ได้ไง?”

Toyota-Soluna-Vios-Taxi

“Toyota Vios เป็นแท็กซี่ได้ยังไง? รถไม่ใช่เครื่อง 1600 นะ ทำไมถึงเอามาทำแท็กซี่ได้” …

เป็นคำพูดที่ผมได้ยินมาตลอด หรือเห็นเป็นกระทู้อยู่ใน Pantip (พันทิป) เป็นระยะๆ ในช่วงเกือบๆ 20 ปีที่ผ่านมา

Toyota-Vios-Taxi-1

ผมจำได้ตั้งแต่ตอนที่ Toyota Soluna (โตโยต้า โซลูน่า) ไมเนอร์เชนจ์ รุ่นท้ายหยดน้ำ ก็มีรถรุ่นนี้ทำออกมาเป็นแท็กซี่แบบป้ายดำ ของสหกรณ์แท็กซี่แห่งหนึ่ง นำรถแท็กซี่รุ่น 1ท-2ท ย้ายทะเบียนเดิม มาใส่ในรถคันใหม่ (ป้ายทะเบียน ทก ทข ห้ามติดมิเตอร์ แต่ก็มีมิเตอร์หลายคันทีเดียว) จนถึงปัจจุบัน ก็มีคนพูดถึง “Toyota Vios Taxi” มาตลอด

Datsun-Sunny-Taxi

Datsun Sunny Taxi ในอดีต

เรื่องมันยาว … ต้องย้อนกลับไปสมัยที่รถแท็กซี่ ยังไม่มีมิเตอร์ ในยุคทะเบียน 1ท-2ท …

ประมาณปี 2513 ทางกระทรวงมหาดไทย สมัยที่จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการ ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้รถแท็กซี่ ต้องประกอบการเป็นรูปบริษัทจำกัด หรือสหกรณ์จำกัด โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าเป็นบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และต้องมีรถแท็กซี่ไม่น้อยกว่า 500 คัน

ส่วนสหกรณ์จะต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 1,000 คน มีรถแท็กซี่ไม่น้อยกว่า 500 คันเช่นเดียวกัน

กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี 2517 ในกรณีที่ยังปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ ไม่ได้ รมต. มหาดไทยมีอำนาจผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละไม่เกิน 2 ปี

ในปีเดียวกัน ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศกฎกระทรวงมหาดไทย ก็ได้งดไม่ให้มีการจดทะเบียนเพิ่ม และทำการสำรวจจำนวนแท็กซี่ เพื่อนำมาเป็นข้อมูล พบว่ามีรถอยู่ทั้งหมด 9,000 คัน

Toyota-Corona-Taxi

Toyota Corona แท็กซี่ในอดีต (ภาพจาก Paul Thallon)

ปี 2517 – 2518 ราคาป้ายทะเบียนแท็กซี่ 1ท เริ่มมีราคาขึ้นมาบ้าง มาสูงสุดที่ 70,000 บาท ก่อนสิ้นปี 2518

ต่อมาในปี 2519 พ.ต.ท. บุญเลิศ เลิศปรีชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับเก่าให้สหกรณ์มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คน ซึ่งลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ 1,000 คน และลดจำนวนแท็กซี่เหลือ 100 คัน การผ่อนผันกฎเกณฑ์ลงนี้เพื่อให้ผู้ขับรถแท็กซี่ มีการรวมตัวกันได้ง่ายขึ้น และสะดวกสำหรับการเข้ามาควบคุมดูแลของทางราชการ

พร้อมกับได้เพิ่มโควต้าทะเบียนแท็กซี่อีก 4,500 ป้าย โดยกำหนดเวลาให้มาจดทะเบียนเสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เมษายน 2519 ในช่วงนั้นจึงมีผู้ประกอบการอาชีพขับรถแท็กซี่รวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา 15 สหกรณ์ และรวมสหกรณ์เดิมอีก 1 เป็น 16 สหกรณ์

ป้ายทะเบียนแท็กซี่ที่เพิ่มขึ้นอีก 4,500 ป้าย ซึ่งใช้อักษรนำหน้าเป็น “2ท” ได้แบ่งโควต้าให้แก่สหกรณ์ต่างๆ 6 สหกรณ์ และกับอีก 4 บริษัทแท็กซี่ ทะเบียนที่จัดสรรให้สหกรณ์นั้น ให้แต่ละสหกรณ์นำไปแบ่งกันในหมู่สมาชิก จุดมุ่งหมายหลักก็เพื่อต้องการให้ผู้มีอาชีพขับรถแท็กซี่มีเครื่องมือหากินเป็นของตนเอง

และหลังจากที่ป้ายทะเบียนรุ่น “2ท” ออกสู่ท้องตลาด ราคาป้ายทะเบียน “1ท” ที่เคยมีการซื้อขายกันสูงถึง 70,000 บาท ก็ได้ลดลงมา กล่าวกันว่าในช่วงนั้นป้ายทะเบียนแทบไม่มีการซื้อขายกันเลย อย่างรถ นิสสัน บูลเบิร์ด มีการเสนอขายกันในช่วงนั้น 3 คัน 1 แสนบาท ยังหาคนซื้อยาก ป้าย “2ท” ที่ออกมาใหม่ไม่มีราคา

Toyota-Corolla-KE70-Taxi

Toyota Corolla (KE70) แท็กซี่ในอดีต (ภาพจาก Frog59)

หลังจากนั้นประมาณปี 2523 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่ยังไม่ค่อยจะดีนัก เถ้าแก่แท็กซี่พบทางออกที่จะแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่แพง โดยหันมาใช้แก๊ส LPG แทน แต่กว่าที่ทางราชการจะยอมให้ติดตั้ง ก็ใช้เวลานานพอดูเพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ

ทางราชการมองถึงความไม่ปลอดภัย เพราะระบบการใช้เชื้อเพลิงแก๊สไม่เคยมีมาก่อน จนเกิดเป็นคดีขึ้นที่ สน.นางเลิ้ง ถึงขั้นฟ้องร้องต่อศาล แต่ในที่สุดยอมให้ใช้กันได้

เจ้าของอู่จึงคิดค่าเช่าเพิ่มอีก 20 บาท มาเป็น 80 บาท เนื่องจากต้องการลงทุนในถังแก๊ส ป้าย “1ท” เริ่มมีราคาขึ้นมาอีกครั้ง มีการซื้อขายกัน 20,000 บาท และป้าย 2ท ขายกันประมาณ 10,000 บาท

การที่ป้ายทะเบียน “1ท” มีราคาแพงกว่าป้าย “2ท” เพราะว่าป้าย “1ท” สามารถมีการซื้อขายและโอนย้ายข้ามบริษัทแท็กซี่หรือสหกรณ์ได้ ในขณะที่ป้าย “2ท” จำกัดการโอนย้ายอยู่ภายในบริษัทหรือสหกรณ์เดียวกันเท่านั้น

ช่วงนี้นายทุนเจ้าของอู่เดิมเริ่มพากันซื้อป้ายสะสมไว้เพื่อเก็งราคา ช่วงไล่เรี่ยกันนั้น รถแท็กซี่ก็หันมาติดแอร์ ทำให้เป็นที่นิยมของผู้โดยสาร ค่าเช่าจึงขยับตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงหลักแสน คนขับที่มีป้ายเป็นของตนเองเริ่มขายป้ายให้กับนายทุน แล้วหวนกลับมาเช่ารถขับแทน

Toyota-Vios-Taxi

ภาพจาก Login reaming @ Pantip

ในราวปี 2530 ที่เศรษฐกิจเริ่มบูมราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นคนเล่นหุ้นมีกำไรงาม กอปรกับผู้ที่ไปขายแรงงานในตะวันออกกลาง เริ่มกลับมาปักหลักที่บ้านเกิดเมืองนอน มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมามากมาย

เริ่มมีผู้คนหน้าใหม่เดินเข้าสู่ธุรกิจแท็กซี่ มาแย่งกันลงทุนในแท็กซี่ ป้ายแท็กซี่เริ่มขาดตลาด ทำให้ราคาดีดตัวขึ้นไป 300,000 บาท สำหรับป้าย “2ท” และ 400,000 บาท สำหรับป้าย “1ท”

Toyota-Vios-Taxi

จนกระทั่งมาในปี 2534 ป้าย 1ท ได้ขยับตัวขึ้นไปถึง 600,000 บาท และป้าย “2ท” ขึ้นไปถึง 500,000 บาท และค่าเช่าต่อหนึ่งกะสูงถึง 450 บาท เพราะการลงทุนในแท็กซี่ 1 คันรวมราคารถและราคาป้าย จนถึงเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย เป็นต้นทุนรวมจะตกประมาณคันละเกือบล้านบาท

Toyota-Corolla-EE80-Taxi

Toyota Corolla 1.3 DX (EE80) Taxi ยอดฮิตในยุค 80 (ภาพจาก Aekkarat Aittharit‎)

จนล่วงเลยมาในปี 2535 เป็นช่วงเดียวกับที่ นุกูล ประจวบเหมาะ นั่งอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาลนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ยุคเปิดเสรี ทางกรมการขนส่งทางบก จึงรับหน้าที่ไปทำการศึกษาถึงการแก้ไขปัญหาของแท็กซี่ว่า “ทำไมค่าเช่าและค่าโดยสาร แพงเกินกว่าเหตุ”

หลังจากศึกษา ผลปรากฏว่าจำนวนรถที่มีอยู่เพียง 13,500 คัน คือทะเบียน 1ท 9,000 คัน และทะเบียน 2ท 4,500 คัน (ที่เปิดเพิ่มใหม่ให้เมื่อปี 2519) เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเพราะจำนวนรถไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสาร

“นั่นเป็นเพราะว่า การจำกัดโควต้าไม่ให้แท็กซี่มีเพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าว เป็นเช่นนี้มานานเกือบจะ 20 ปี” ประธานสหกรณ์แท็กซี่สยามในยุคนั้น เล่าให้ฟัง

นุกูล จึงผลักดันนโยบายเปิดเสรีออกไป ในที่สุดรัฐประกาศให้มีการเพิ่มป้ายรถแท็กซี่ ได้อย่างไม่จำกัดจำนวนโดยออกเป็นกฎกระทรวงมาเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2535 ที่ผ่านมา

Toyota-Avanza-Taxi

แม้แต่ Toyota Avanza ก็เอามาทำแท็กซี่เหลือง-ดำ ได้

จึงเป็นที่สิ้นยุคของรถแท็กซี่ยุคเก่า ที่เคยซื้อขายทะเบียนรถกันแพงลิบลิ่ว ค่อยๆ ทยอยหายไปจนเกือบหมด เหลือวิ่งอยู่ในกรุงเทพฯ เพียง 297 คันในปัจจุบัน ซึ่งป้ายทะเบียนแบบเก่า สามารถนำรถที่มีจำนวนซีซีต่ำกว่า 1500 ซีซี มาทำแท็กซี่ได้ แต่ห้ามติดมิเตอร์ (แต่โป๊ะไฟ “Taxi-Meter” กันทั้งนั้น …)

Toyota-Vios-Taxi

Toyota-Vios-Taxi

Toyota-Vios-Taxi

Toyota Vios Taxi ป้ายแดงจากศูนย์ ใส่ทะเบียนแล้วพร้อมใช้งานได้เลย (ภาพจาก ง้วน ออโต้ เซอร์วิส)

โดยรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนก่อนปี พ.ศ.2535 คือหมวดทะเบียน 1ท และ 2ท เดิม โดยปัจจุบันเป็น แท็กซี่หมวด ทก และ ทข เป็นสัญลักษณ์ สีเหลือง-ดำ ซึ่งเป็นรถยนต์รับจ้างที่ใช้รับส่งผู้โดยสารในลักษณะเหมาคัน ได้มีประกาศเพิ่มเติมในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 พ.ศ.2535 ให้งดรับจดทะเบียนเพิ่มเติม

ซึ่งเจ้าของรถที่จดทะเบียนรถประเภทนี้ หากไม่ประสงค์ใช้รถคันเดิม หรือคันเดิมมีสภาพเสื่อมโทรม สามารถนำรถคันใหม่มาจดทดแทนได้

แต่เพื่อเป็นการพัฒนารถแท็กซี่ให้มีมาตรฐานการให้บริการ มีการติดตั้งมิเตอร์ทุกคัน กรมการขนส่งทางบกจึงได้ยกเลิกการให้จดทดแทนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 โดยให้สิ้นสภาพไปตามระยะเวลา ทำให้ปัจจุบันมีรถแท็กซี่รุ่นเก่าหมวดดังกล่าวที่ไม่ติดมิเตอร์ รวมทั้งสิ้น 297 คัน

ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้รถแท็กซี่จะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีตามเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่ชุดตรวจการขนส่งทางบกลงพื้นที่ตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากตรวจสอบพบรถมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่พร้อมให้บริการ ก็จะทำการแจ้งยกเลิกใช้รถดังกล่าวทันที ซึ่งรถจำนวนดังกล่าวจะสิ้นสภาพไปในที่สุด

Toyota-Vios-Taxi

Toyota-Vios-Taxi

Toyota Vios Taxi สี เชียว-เหลือง หลงมาได้ไง! (ภาพจาก มิเตอร์ แท็กซี่)

แต่ก็มีคนหลายคน เมื่อเห็น Toyota Vios เป็นแท็กซี่ ก็ยังมีคำถามที่ว่า “เฮ้ย! Vios ทำแท็กซี่ได้ด้วยหรอ” อยู่อีก!

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall Toyota Vios / โตโยต้า วีออส

สำหรับใครที่รักรถ Toyota Vios (โตโยต้า วีออส) และอยากเป็นเจ้าของ Toyota Vios สภาพเยี่ยมสักคัน Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ เรามี โตโยต้า วีออส ให้คุณเลือกมากมาย คุณสามารถจองรถ Toyota Vios ได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง โตโยต้า วีออส ทุกคัน ผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

Toyota-Soluna-King-Rama-9

Toyota-Soluna-King-Rama-9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน ยังมีสิ่งหนึ่งที่คนในวงการ “อุตสาหกรรมยานยนต์” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสถิตอยู่ในใจคนโตโยต้าตราบนิจนิรันดร์

หลายๆ คน คงเคยเห็นภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงขับรถ Toyota Soluna (โตโยต้า โซลูน่า) สีฟ้า ทะเบียน 1ด-0956 กรุงเทพมหานคร

Toyota-Soluna-ในหลวง-รัชกาลที่9

เรื่องนี้ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เคยให้สัมภาษณ์สารสภาวิศวกรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2550 และนายวิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้สัมภาษณ์ในวาระครบ 50 ปี ที่โตโยต้าทำธุรกิจในประเทศไทย

หลังจากที่รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 ได้เกิดวิกฤตฟองสบู่แตก บริษัทไฟแนนซ์ล้ม ผู้คนตกงานมากมาย จากนั้นในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน ก็เกิดข่าวลือว่าทางโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น จะประกาศปิดโรงงานที่เกตเวย์ เตรียมเลิกจ้างพนักงานกว่า 5,500 คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเป็นห่วงว่าราษฎรของพระองค์จะตกงาน จึงทรงมีพระราชดำริขอซื้อรถยนต์โตโยต้าโซลูน่าเพื่อให้คนไทยได้มีงานทำ จนกลายมาเป็นรถยนต์ฝีมือของคนไทยซึ่งเป็นราษฎรของพระองค์ท่าน

จึงรับสั่งให้เลขานุการส่วนพระองค์แจ้งว่า พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์สั่งซื้อ รถ Toyota Soluna 1 คัน โดยให้พนักงานที่ทำนั้นไม่ต้องเร่งรีบ ใช้มือทำก็ได้ ไม่ต้องใช้เครื่องจักร เพื่อที่พนักงานโตโยต้าคนไทยจะได้มีงานทำนานๆ โดยหลังจากที่โตโยต้าทราบ จึงตั้งใจทำให้รถมีอะไรพิเศษ โดยติดชื่อรุ่นและเลขเป็นแบบไทย ไม่เคยทำมาก่อนในรถยนต์รุ่นไหน

ซึ่งเมื่อรถยนต์คันดังกล่าวนั้นแล้วเสร็จ ก็ได้มีการนำไปถวายพระองค์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2540 พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 600,000 บาท ให้กับทางโตโยต้า แต่ทางโตโยต้านั้นไม่ขอไม่รับเงินนั้นไว้

Toyota-Expo-2017-Soluna

Model รถยนต์ Toyota Soluna ที่ทาง Toyota จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริใหม่ว่า ให้นำเงินนั้นไปตั้ง “โรงสีข้าว” เพื่อช่วยเหลือชาวนาละแวกใกล้เคียงโรงงานผลิตรถ เพราะโตโยต้ามีการบริหารจัดการที่ดี จึงควรตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นเอง แล้วขายข้าวที่ได้จากโรงสีในราคาสวัสดิการให้แก่พนักงานหรือชาวบ้าน และขายผลพลอยได้ เช่น แกลบและรำ ให้แก่เกษตรกรชุมชนที่เลี้ยงหมู ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของ “โรงสีข้าวรัชมงคล” ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

Toyota-Soluna-Catalogue-1

Toyota Soluna จากโครงการรถ AFC (Affordable Family Car) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่วิจัยและพัฒนา และเริ่มต้นผลิตในไทยเป็นแห่งแรก คันแรกออกจากสายการผลิตเป็นทางการ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2539 และโตโยต้า ได้แถลงข่าวความคืบหน้าของรถยนต์รุ่นนี้ ที่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2539

คำว่า “Soluna” นั้น มาจากการนำคำว่า “Sol” ซึ่งมาจากคำว่า “Solar” แปลว่า ดวงอาทิตย์ กับคำว่า “Lunar” แปลว่า พระจันทร์ มารวมกัน

Toyota Soluna เปิดตัวสู่สื่อมวลชนในวันที่ 28 มกราคม 2540 และเปิดตัวสู่สาธารณชนในวันที่ 31 มกราคม 2540 มาพร้อม Slogan “Great Journey การเดินทางที่ยิ่งใหญ่” และมี โด๋ว-มรกต โกมลบุตร เป็นพรีเซ็นเตอร์ในช่วงแรก เพียง 3 วันของงานเปิดตัว ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ใบสั่งจองที่มากเป็นประวัติการณ์ถึง 28,765 ใบ (15,335 ใบ ในงานเปิดตัว และ 13,430 ใบ จากดีลเลอร์)

Toyota-Soluna-Thai

มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร รหัส 5A-FE แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว ให้แรงม้าสูงสุด 95 แรงม้า ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 126 นิวตัน-เมตร ที่ 4,800 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด

Toyota-Soluna-Thai

Toyota-Soluna-Thai

ในเดือนพฤษภาคม 2541 Soluna ยังมีรุ่นพิเศษที่สร้างความฮืฮฮาด้วย “Soluna Special Version” (โซลูน่า สเปเชี่ยล เวอร์ชั่น) มีชื่อเป็นภาษาไทยและเลขไทย ติดที่ฝากระโปรงหลัง เป็นรุ่นแรกในโลกของรถโตโยต้า ที่ติดชื่อรุ่นรถและตัวเลขเครื่องยนต์เป็นภาษาท้องถิ่น

ที่มาจากจากการที่รถยนต์โตโยต้า โซลูน่า ได้รับรางวัลรถยอดเยี่ยมแห่งปี 1998 ในประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน 1.5 ลิตร ในการประกวดรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1998 โดยการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์ และสื่อมวลชน

Toyota-Soluna-Thai

โตโยต้าจึงฉลองโอกาสแห่งความภาคภูมิใจนี้ด้วยการออกรุ่น “โซลูน่า สเปเชี่ยล เวอร์ชั่น” ที่ผลิตขึ้นเจำนวนจำกัด 600 คัน โดยเน้นความสปอร์ต และเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ตกแต่งมากกว่ารุ่นพื้นฐาน

Toyota-Soluna-Thai

เริ่มจากชุดอุปกรณ์ตกแต่งสไตล์สปอร์ตตลอดคัน จำนวน 12 รายการ และมีสัญลักษณ์รุ่นเป็นภาษาไทย ที่เปิดประตูด้านข้าง กระจกมองข้างและคิ้วกันกระแทกสีเดียวกับตัวรถ ล้อแม็กพร้อมยางขนาด 175/65 R14 สปอยเลอร์หลังพร้อมไฟเบรก นอกจากนี้ยังเพิ่มคิ้วบังลมด้านหลังเพื่อป้องกันแสงแดดและคิ้วบังลมด้านข้างป้องกันละอองฝน

Toyota-Soluna-Thai

หลังจากปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในปี 2542 ปรับหน้าตาใหม่ กันชนใหม่ ไฟท้ายใหม่ หรือที่บรรดาเต็นท์รถมือสองเรียกกันว่า “ไฟท้ายหยดน้ำ” ก่อนจะเลิกจำหน่ายไปในเดือนพฤศจิกายน 2545

ต่อมา โตโยต้า โซลูน่า ในรุ่นถัดไปจึงพัฒนาเป็น โซลูน่า วีออส (Soluna Vios) และชื่อของ “Soluna” ก็หายไปจากตลาดจริงๆ ในเดือนตุลาคม 2548 โดยเป็น Toyota Vios (โตโยต้า วีออส) จวบจนปัจจุบัน

แหล่งที่มา: