ตอนนี้ในทุกๆ วัน ปฎิเสธไม่ได้ว่าฝนได้เริ่มตกทุกวี่ทุกวันแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราได้เข้าสู่หน้าฝนแล้ว ซึ่งการที่ฝนตกนั้นอาจทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์เกิดความไม่สะดวกในขณะเดินทาง บางคนก็จอดหยุดพักรอฝนซา แล้วค่อยออกเดินทาง แต่บางคนกลับเลือกดั้นด้นขับเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย การทำแบบนั้นถือว่าอันตรายมากๆ และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบนท้องถนนได้

ข้อไม่ควรทำระหว่างขับรถขณะฝนตก

สำหรับช่วงนี้ที่มีฝนตกหนัก และมาพร้อมกับลมแรง Masii เลยรวบรวม ข้อไม่ควรทำขณะขับขี่รถยนต์ ในช่วงนี้มาฝากเพื่อนๆ ชาว CARRO กัน จะได้เตรียมตัว และป้องกันอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนได้

Dont-Do-While-Driving-At-Raining

เปิดไฟสูง

เพื่อนๆ หลายคนมักคิดว่า ขณะที่ฝนตกอยู่นั้นต้องใช้ไฟสูง แต่จริงๆ แล้วลำแสงของไฟสูงจะไปชนกับดวงตาของรถคันที่สวนกับเรา จนสามารถเกิดตาพร่ามัวได้ เพราะฉะนั้นการเปิดไฟต่ำ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

อย่าเหยียบเบรกแรง

หากสภาพพื้นถนนเปียก และมีความลื่นอยู่นั้น หลายคนมักจะเลือกเหยียบเบรกแบบชอบเหยียบกดแรงๆ ในยามที่กระชั้นชิด ซึ่งแน่นอนว่าจะได้ผลกับพื้นถนนที่แห้งสนิท แต่สำหรับช่วงที่ฝนตกนั้น น้ำฝนจะส่งผลให้การสัมผัสของหน้ายางกับถนนน้อยลงไป จนทำให้รถของเราเสียหลักได้ ดังนั้นควรเลือกผ่อนเบรกเบาๆ เรื่อยๆ จะดีกว่า

Dont-Do-While-Driving-At-Raining

อย่าลุยน้ำลึก

ในขณะที่ฝนกำลังตกหนักจนน้ำท่วมพื้นนั้น เพื่อนๆ มักจะเลือกขับลุยฝ่าระดับน้ำที่ท่วมได้ แต่การขับรถลุยน้ำแบบนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะรถบางรุ่นเท่านั้น แต่สำหรับบางรถรุ่นที่ไม่สามารถทำได้ การดั้นด้นขับฝ่าลุยน้ำไป จะทำให้ห้องเครื่องดับทันที วิธีที่ดีที่สุดคือควรประเมินดูว่าหากจะขับลุยน้ำ อย่าให้น้ำสูงเกินกว่าขอบประตูด้านล่าง

ไฟฉุกเฉิน

การเปิดไฟฉุกเฉิน และไฟกะพริบอยู่ตลอดเวลาขณะที่ฝนตกอยู่นั้น อย่าได้ทำโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผู้ขับขี่รถคันอื่นอาจเกิดอาการตาลาย และรวมไปถึงยากที่จะแยกแยะว่ารถของเรานั้น กำลังจะจอด หรือกำลังขับเคลื่อนอยู่

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ อันตราย และอุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลย ดังนั้นการเลือกทำประกันรถยนต์ติดตัวไว้จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจขณะขับขี่ตลอดเส้นทางเดินทางได้แน่นอน คลิกที่นี่ เพื่อเช็กเบี้ยประกันได้ทันที หากมีข้อมูลสงสัยอยากสอบถามโทร 02 710 3100 เรามีทีมงานคอยให้คำปรึกษา

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก www.masii.com

Claim-Car-Insurance-About-Flood

ช่วงนี้ หลายต่อหลายพื้นที่ของประเทศไทย ก็อยู่ในช่วงฤดูมรสุม โดนพายุฝนกระหน่ำกันไปถ้วนหน้า ถ้าท่านใดสามารถขนข้าวของ ขนรถหนีน้ำได้ทัน ก็ถือว่าโชคดีไป แต่บางหลายอาจจะขนข้าวขนของ ขนรถหนีไม่ทัน (เช่น รถจอดอยู่ชั้นใต้ดินของคอนโดมิเนียม) โดนน้ำท่วมไปต่อหน้าต่อตาเลยทีเดียว นับเป็นความสูญเสียที่มหาศาล ทั้งทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย

สำหรับประกันภัยรถยนต์บางชนิด เช่น ประกันภัยชั้น 1 ที่มีครอบคลุมไปถึงภัยธรรมชาติ หรือประกันภัยแบบพิเศษ อาทิเช่น ประกันภัยชั้น 2+ และ 3+ เป็นต้น หากรถใครที่มีประกันภัยชนิดดังกล่าว ก็จะช่วยลดความกังวลในการจ่ายค่าซ่อมไปได้บ้าง

Claim-Car-Insurance-About-Flood

หากรถโดนน้ำท่วมแล้ว (แล้วรถมีประภันภัย เช่น ชั้น 1) จะมีวิธีเคลมประกันได้อย่างไร กรณีน้ำท่วมรถ

1. แจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัย ให้มาตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือถ้าไม่สะดวกก็ถ่ายรูปรถยนต์รอบๆ รถเอาไว้ ตอนที่เกิดน้ำท่วมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

2. บริษัทประกันภัยก็จะติดต่อนัดหมายผู้เอาประกันภัย เพื่อเข้าไปตรวจสอบรถยนต์คันที่เสียหาย หรือาจจะขอนัดคุณไปดูว่า รถคันที่เสียหายตอนนี้ จอดอยู่ ณ สถานที่แห่งใด ก่อนจะลากรถไปยังอู่ซ่อมรถ หรือศูนย์บริการ เพื่อทำการตรวจสอบสภาพรถ

3. อู่หรือศูนย์บริการ ก็จะทำการประเมินความเสียหาย ประเมินรายการจัดซ่อม ซึ่งสามารถตัดสินออกได้เป็นอีก 2 แบบ ได้แก่

  • กรณีรถยนต์เสียหายอย่างสิ้นเชิง (หรือ Total Loss) คือ ส่วนใหญ่บริษัทประกันภัย จะประเมินมูลค่าความเสียหายที่ 70% ของมูลค่ารถคันนั้น ซึ่งหากพิจารณาจากความเสียหาย ในกรณีนี้คือ รถจมน้ำท่วมมิดคัน หรือ ท่วมเกินช่วงคอนโซลหน้า ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งห้องโดยสาร
    หากบริษัทประกันภัยพิจารณาแล้วว่า รถยนต์คันดังกล่าว ไม่คุ้มที่จะซ่อมให้กลับมาสภาพเดิมได้ ซึ่งรวมถึงเครื่องยนต์ ก็จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ตามทุนประกันภัยที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยเจ้าของรถหรือผู้รับผลประโยชน์ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ (คืนซากรถ) ให้กับบริษัทประกันภัย และกรมธรรม์ฉบับดังกล่าวก็ถือเป็นอันสิ้นสุดความคุ้มครองไป
  • กรณีรถยนต์เสียหายบางส่วน (หรือ Partial Loss) คือ รถยนต์ไม่เสียหายมากนัก สามารถซ่อมให้กลับมาใช้งานได้ตามเดิม บริษัทประกันภัยก็จะพิจารณาให้เป็นลักษณะความเสียหายบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการประเมินของบริษัทประกันภัยด้วย ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้

 

OIC-Repair-method-of-each-water-level-rank

 

ระดับ A น้ำท่วมถึงพื้นรถยนต์ ประเมินค่าซ่อม 8,000-10,000 บาท มีรายการที่ต้องดำเนินการ 15 รายการ เช่น ตรวจสอบแบ็ตเตอรี่ (ถอดขั้ว/ตรวจสอบน้ำกลั่น/ไฟ-ชาร์ท) ทำความสะอาดตัวรถ ล้าง-อัด-ฉีด ขัดสี ถอดเบาะนั่ง หน้า-หลัง ถอดคอนโซลกลาง (คันเกียร์) ถอดพรมในเก๋ง-ซักล้าง-ตาก-อบแห้ง ถอดคันเร่ง (รถที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าและเซ็นเซอร์)

ถอดลูกยางอุดรูพื้นรถและทำความสะอาด ล้างทำความสะอาดห้องเครื่อง-เป่าแห้ง ตรวจสอบทำความสะอาดระบบเบรก 4 ล้อ/ผ้าเบรก ทำความสะอาดสายไฟ-ปลั๊กไฟด้วยน้ำยาเคมีภัณฑ์ ตรวจสอบชุดท่อพักไอเสีย (แคทธาเรติค)

ระดับ B น้ำท่วมถึงเบาะนั่ง ประเมินค่าซ่อม 15,000 -20,000 บาท มีรายการที่ต้องดำเนินการ 26 รายการ โดยเพิ่มเติมจาก 15 รายการในระดับ A คือ การถ่ายน้ำมันเครื่อง-เกียร์-เฟืองท้าย กรองน้ำมันเครื่อง-กรองอากาศ-กรองเบนซิน-กรองโซล่า ตรวจระบบจุดระเบิด หัวเทียน จานจ่าย หัวฉีด ตรวจสอบชุดเพลาขับ

ถอดทำความสะอาดแผงประตูทั้ง 4 บาน ตรวจชุดสวิทซ์สตาร์ท-กล่องควบคุมไฟ- กล่องฟิวส์ ถอดทำความสะอาดไล่ความชื้นระบบเข็มขัดนิรภัย ถอดทำความสะอาดชุดมอเตอร์ยกกระจกไฟฟ้า ตรวจสอบทำความสะอาดเบาะ ถอดทำความสะอาด (ไดสตาร์ทและไดชาร์จ) เพื่อไล่ความชื้น

Claim-Car-Insurance-About-Flood

ระดับ C น้ำท่วมถึงส่วนล่างของคอนโซลหน้า ประเมินค่าซ่อม 25,000-30,000 บาท มีรายการที่ต้องดำเนินการ 39 รายการ โดยเพิ่มเติมจาก ระดับ A และ B คือ ตรวจสอบชุดอีโมไรท์เซอร์/ระบบ GPS (ที่ติดมากับรุ่นรถ) ตรวจสอบไล่น้ำออกจากเครื่องยนต์ ท่อไอดี ห้องเผาไหม้ ตรวจสอบลูกปืนไดชาร์ท ลูกรอก ตรวจสอบทำความสะอาดระบบไฟส่องสว่าง (ไฟหน้า-ท้าย-เลี้ยว) ตรวจเช็คระบบขับเลี้ยวไฟฟ้า

ถอดตรวจเช็คตู้แอร์ มอเตอร์ โบวเวอร์ เซ็นเซอร์ ถอดหน้าปัดเรือนไมล์ เกจ์ ถอดตรวจเช็คระบบไฟฟ้าและสายไฟขั้วต่างๆ ตรวจเช็คระบบเครื่องเสียง-วิทยุ-แอมป์-ลำโพง ตรวจเช็คระบบเบรก (ABS) ตรวจชุดหม้อลมเบรก/ แม่ปั้มบน-ล่าง ตรวจสอบลูกปืนล้อ-ลูกหมาก-ลูกยางต่างๆ ผ้าหลังคา/แมกกะไลท์

ระดับ D น้ำท่วมถึงส่วนบนของคอนโซลหน้า ประเมินค่าซ่อมเริ่มต้นที่ 30,000 บาท ขึ้นไป มีรายการที่ต้องดำเนินการ 40 รายการ โดยเพิ่มเติมจาก ระดับ A – C มา 1 รายการ คือ ทำสี (กรณีสีรถได้รับความเสียหาย) ซึ่งในกรณีนี้ทางบริษัทผู้รับประกันภัยอาจพิจารณาคืนทุนประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยก็ได้

และระดับ E รถยนต์จมน้ำทั้งคัน ซึ่งในกรณีนี้ บริษัทผู้รับประกันภัยจะคืนทุนประกันภัย ให้กับผู้รับประกันภัยสถานเดียว

Claim-Car-Insurance-About-Flood

โดยที่บริษัทประกันภัย จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าทำความสะอาดภายในรถ ซักเบาะ พรม ขัดสี ทำความสะอาดต่างๆ ซึ่งคุณสามารถนำหลักฐานไปเคลมประกันภัยได้เช่นกัน

และเมื่อรถซ่อมเสร็จนำกลับมาใช้ ถ้าพบปัญหาจากระบบต่างๆ ของตัวรถ ที่เป็นสาเหตุเกิดจากตอนถูกน้ำท่วม ก็สามารถแจ้งบริษัทประกันภัยได้ทันที เพื่อเคลมความเสียหายต่อเนื่องครับ

CARRO-MSIG-Insurance-Promotion-2020

หากรถของคุณที่ใช้งานในช่วงนี้ ต้องเสี่ยงกับการเจอน้ำท่วมบ่อยๆ ไม่ว่าจะขับรถไปเจอ หรือจอดรถไว้อยู่กับที่ ก็ลองทำประกันภัยชั้น 2+ (Safe Guard 2+) หรือ 3+ (Safe Guard 3+) ของทาง MSIG Insurance ดูสิ เพราะว่าประกันภัยดังกล่าวมี Cover เรื่องซ่อมรถกรณีรถถูกน้ำท่วมเพิ่มเติมด้วย คลิกเลยที่ ซื้อประกันภัยรถยนต์ CARRO X MSIG ประกันภัย อีกทั้งช่วงนี้ยังมี ฟรี! บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถที่ถูกน้ำท่วมมา ไม่ว่าจะเป็นรถบ้าน รถมือสอง ก็สามารถปรึกษากับทางเราดูก่อนได้ เพียงแค่คุณขายรถคันเดิมกับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

หากท่านใดอ่านแล้วยังมีข้อสงสัย หรือมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรม ในการเคลมประกันภัยจากบริษัทประกันภัย ก็สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 ครับผม

แหล่งที่มา :

5-Way-For-Driving-Through-Floods

นี่ก็เข้าสู่ช่วงหน้าฝนอย่างเต็มตัวแล้วนะครับ ในแต่ละวัน นอกจากจะต้องมาลุ้นกับปัญหารถติดแล้ว บางวันอาจต้องลุ้นปัญหาฝนตกหนัก แล้วเกิดน้ำท่วม ต้องขับรถลุยน้ำกันอีกด้วย

แต่ถ้าเกิดรถเรามีปัญหา ช่วงตอนลุยน้ำล่ะ จะทำอย่างไร! เรียกให้คนมาช่วยกันเข็น เรียกตำรวจจราจรมาช่วย ถ้าเกิดไม่มีใครมาช่วย ลองเตรียมวิธีแก้ป้องกันปัญหาดีไหมล่ะ เพื่อเป็นการป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ

Mr.Carro ขอนำเคล็ดลับดีๆ อย่าง 5 วิธี เอาตัวรอด หากต้องขับรถลุยน้ำ มาฝากทุกท่านครับ …

5-Way-For-Driving-Through-Floods

พกสเปรย์ไล่ความชื้น

สเปรย์ไล่ความชื้นมีประโยชน์อย่างมากในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ควรหามาพกติดรถเอาไว้ กรณีรถสตาร์ทไม่ติด จะได้ไว้ฉีดตามขั้วแบตเตอรี่ ระบบไฟ จานจ่ายหัวเทียน คอยล์ต่างๆ หรือแผงฟิวส์ เพื่อไล่ความชื้นได้

5-Way-For-Driving-Through-Floods

ปิดแอร์

หากต้องขับรถลุยน้ำท่วม ควรปิดแอร์ เพราะถ้าเปิดแอร์ พัดลมไฟฟ้าของแอร์จะตีน้ำท่วม เข้ามากระจายไปในเครื่องยนต์ แล้วอาจทำให้ใบพัดแตกหัก หรือพัดเอาเศษขยะ เศษใบไม้ พลาสติก เข้ามาได้ ถ้าพัดลมไฟฟ้าเสียจะส่งผลต่อระบบระบายความร้อนของระบบแอร์อีก

ถ้าฝนไม่ตก ก็ใช้วิธีแง้มกระจกรถ เพื่อให้ลมเข้ามาหน่อยก็ได้ จะได้ไม่ร้อน

5-Way-For-Driving-Through-Floods

ใช้เกียร์ต่ำ ความเร็วสม่ำเสมอ

การขับรถลุยน้ำ ควรใช้เกียร์ 1 ก็พอ เพราะทำให้รถมีกำลังพอที่ต้านกระแสน้ำ จากรถคันอื่นที่สร้างคลื่นมาปะทะ รวมทั้งรักษาระดับความเร็วอย่างสม่ำเสมอ ใช้รอบเครื่องประมาณ 1,500-2,000 รอบ/นาที เพราะถ้ารอบเครื่องที่สูง จะทำให้สายพานหมุนแรงขึ้น จะปั่นน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่องยนต์ รวมถึงอาจทำให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน ก็อาจจะตีน้ำเข้าเครื่องยนต์ได้

5-Way-For-Driving-Through-Floods

ขับช้าๆ เว้นระยะห่างจากคันหน้า

การขับรถลุยน้ำ ย่อมจะสร้างคลื่นให้ไปกระทบกับรถคันอื่นด้วย การขับรถช้าๆ นอกจากจะไม่ทำให้รถเราเครื่องดับแล้ว คลื่นจากรถเราจะไม่ไปกระแทกรถคันอื่นด้วย และควรเว้นระยะจากคันหน้า เผื่อคันหน้าเกิดเบรกกะทันหัน ก็จะได้หยุดทันนั่นเอง

5-Way-For-Driving-Through-Floods

ถึงที่หมายแล้ว ไม่ต้องรีบดับเครื่อง

หากคุณขับรถผ่านจุดที่น้ำท่วมมาแล้ว พยายามย้ำเบรกหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ระบบเบรกไล่น้ำออกจากจานเบรกไปให้ได้มากที่สุด และถ้าหากถึงที่หมายแล้ว จอดติดเครื่องทิ้งไว้ก่อนสักประมาณ 5-10 นาที เพื่อไล่น้ำตามเครื่องยนต์ ตามท่อไอเสีย ระเหยออกจากระบบให้หมดนั่นเอง พร้อมกับเหยียบคลัทช์ย้ำๆ หลายๆ ครั้ง (ในรถเกียร์ธรรมดา) เพื่อรีดน้ำออก คลัทช์จะได้ไม่ลื่น

เห็นไหมครับ วิธีขับลยลุยน้ำ ง่ายนิดเดียว แค่ปฏิบัติตาม ก็เดินทางได้อย่างราบรื่นแล้วล่ะครับ

  • ขอขอบคุณภาพจาก ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร – บก.02
5 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม

การขับรถลุยน้ำท่วม ต้องใช้ความระมัดระวัง

น้ำท่วม

          ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ข่าวคราวที่เราได้ยินกันบ่อยที่สุดอีกข่าวหนึ่ง นั่นก็คือข่าว “น้ำท่วม” ที่กำลังประสบอยู่ในหลายๆ จังหวัด และหลายคนก็ยังจำเป็นต้องใช้รถยนต์ ในสถานการณ์ที่กำลังน้ำท่วมในขณะนี้ ทาง Carro Thailand ขอแนะนำวิธีเตรียมตัวและขับรถลุยน้ำท่วม ได้อย่างปลอดภัย ครับ

น้ำท่วม

1. การขับรถเมื่อฝนตกใหม่ๆ ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะน้ำฝนและฝุ่นโคลน จะจับตัวกันกลายเป็นฟิล์มระหว่างยางกับพื้นถนน รถจะเกิดการลื่นเมื่อวิ่งผ่าน ควรขับรถผ่านด้วยความเร็วต่ำ จะทำให้รถเกาะถนนได้ดีขึ้น และควรถอนคันเร่งเมื่อขับรถผ่านแอ่งน้ำ พร้อมทั้งเปิดไฟหน้าไว้ รักษาความเร็วและรอบเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ ลดการใช้เบรก โดยการถอนคันเร่งเพื่อชลอให้รถลดความเร็วลงแทน

น้ำท่วม-6

2. กรณีที่จอดรถไว้ แล้วรถถูกน้ำท่วมในระดับสูงกว่าระดับเครื่องยนต์ สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ คือ ห้ามสตาร์ทรถเด็ดขาด เพราะอาจให้ระบบไฟฟ้า ภายในรถยนต์ช็อต เกิดความเสียหายได้ เบื้องต้นควรถอดขั้วแบตเตอรี่ออก รวมทั้งบริเวณแผงฟิวส์ รีเลย์ กล่อง ECU เพื่อไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆ ของรถ ก่อนจะนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายของเหลวภายในระบบรถยนต์ทั้งหมด พร้อมทั้งตรวจเช็คระบบเบรก ช่วงล่าง และระบบไฟฟ้า

น้ำท่วม

3. หากขับรถลุยน้ำท่วมในระดับที่ไม่สูงนัก สามารถค่อยๆ ไปได้เรื่อยๆ สำหรับเกียร์ธรรมดา ควรใช้เกียร์ต่ำที่เกียร์ 1, 2 หากเกียร์อัตโนมัติที่ L หรือ D2 เป็นต้น จนกระทั่งถ้าระดับที่ผิวน้ำสูงถึงใต้ท้องรถจนได้ยินเสียงน้ำกระแทก ควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างคลื่นน้ำที่จะไปปะทะกับรถยนต์คันอื่น และการตกหลุมบ่อที่พื้นถนน โดยรักษาระดับจากรถคันหน้าไว้

น้ำท่วม

4. ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำ หากฝนหยุดตกก็เปิดกระจกรถขับลุยน้ำท่วมแทน เนื่องจากพัดลมไฟฟ้าของแอร์จะทำงาน อาจจะทำให้เครื่องยนต์ดับและไม่สามารถไปต่อได้ อีกทั้งอาจจะมีเศษขยะที่ลอยติดเข้ามากับน้ำ เข้าไปในระบบเครื่องยนต์ และสร้างความเสียหายกับตัวพัดลมไฟฟ้าได้ ในกรณีที่พัดลมไฟฟ้าดูดเอาสิ่งเศษขยะต่างๆ ที่ลอยมากับน้ำ

น้ำท่วม

5. หลังจากที่คุณขับรถลุยน้ำแล้ว แนะนำให้ล้างรถ ฉีดน้ำล้างช่วงล่างให้ทั่ว ใช้แปรงขนอ่อนๆ ขัดเอาเศษทราย เศษโคลนออก เป่าลมในห้องเครื่อง บริเวณแผงฟิวส์ หรือตามสายไฟจุดต่างๆ ที่คิดว่าน้ำเข้าถึง เพื่อไล่ความชื้นออก ตรวจดูระดับของเหลวต่างๆ ที่อยู่ในห้องเครื่องยนต์ ว่ามีน้ำเข้าไปเจือปนอยู่หรือไม่ เช็คลูกปืนล้อ และลองเหยียบคลัทช์ และย้ำเบรคเบาๆ เพื่อรีดน้ำและไล่ความชื้นออก เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำออกจากจานเบรก และเพื่อให้ไอน้ำจากจานเบรก ทั้งแบบดิสก์เบรก และดรัมเบรก ร้อนจนระเหยกลายเป็นไอ

Police-Flood

          แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถยนต์ส่วนใหญ่ ถูกออกแบบมาให้เพื่อลุยน้ำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยรถยนต์ประเภทรถกระบะยกสูง รถ SUV ทั้งหลาย สามารถลุยน้ำได้สูงหน่อย (แต่ก็ไม่เกิน 80 ซม.) หากถ้าระดับน้ำมีความสูงมากกว่านั้น ก็ไม่ควรเสี่ยงอย่างยิ่งในการไปต่อครับผม

หลังขับรถลุยน้ำท่วมมา หากมีโอกาส ก็ควรนำรถไปให้ศูนย์บริการตรวจเช็ค หากรถมีอาการผิดปกติก็จะได้สามารถแก้ได้ทันการ ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยความปรารถนาดีจาก Carro Thailand ครับ

ขอขอบคุณภาพจาก มหัศจรรย์สกลนคร และ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร – บก.02